การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ตามแนวคิดกาเย่ ในรายวิชานาฏศิลป์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

Main Article Content

ปภัสรา วรรณวงษ์
สุรีรัตน์ จีนพงษ์
นพดล อินทร์จันทร์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน วิชานาฏศิลป์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนวิชานาฏศิลป์โดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนวิชานาฏศิลป์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนไทยคริสเตียนสะพานเหลือง ปีการศึกษา 2566 จำนวน 12 คน ด้วยวิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนวิชานาฏศิลป์โดยใช้แนวคิดกาเย่ 2) แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชานาฏศิลป์ 3) แบบสอบความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนวิชานาฏศิลป์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) ทดสอบประสิทธิภาพของบทเรียนโดยใช้สูตร E1/E2 และการทดสอบสมมติฐาน The Wilcoxon Matched Pairs Signed Ranks Test ผลการวิจัยพบว่า 1) ประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนโดยใช้แนวคิดกาเย่ สำหรับเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 81/80 เป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้ 2)ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชานาฏศิลป์โดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 สอดคล้องกับสมมติฐานการวิจัยที่กำหนดไว้ 3) ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนวิชานาฏศิลป์ โดยใช้แนวคิดกาเย่ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 พบว่าโดยรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด  (gif.latex?\bar{X} =4.51, S.D.=0.50)

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

แก้วตา ชมพูอาจ. (2558). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่อง นาฏลีลาและนาฏยศัพท์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเลิศพัฒนาศึกษา. (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต). สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. มหาวิทยาลัยราชภัฎธนบุรี.

จรรยา โพธิกุดไสย. (2565). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนโดยใช้แนวคิดของกาเย่ เรื่อง การอ่านจับใจความจากข้อมูลทางวัฒนธรรมสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต). ภาควิชาหลักสูตรและวิธีสอน. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ฐิติพร บุญธรรม. (2562). การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนร่วมกับการใช้แผนผังมโนทัศน์ เรื่อง การรักษาดุลยภาพในร่างกาย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต). สาขาวิชาชีววิทยาศึกษา. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ณิรดา เวชญาลักษณ์. (2564). การบริหารจัดการเรียนรู้. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: วนิดาการพิมพ์.

นิติญาภรณ์ ศรีไพร. (2563). การพัฒนาทักษะการปฏิบัติ โดยใช้วิธีการสอนแบบห้องเรียนกลับด้าน ร่วมกับสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) รายวิชานาฏศิลป์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนภูเวียงวิทยาคม. สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 25 จังหวัดขอนแก่น.

นิภา ศรีไพโรจน์. (2533). สถิตินอนพาราเมตริก. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

บุญเลี้ยง ทุมทอง. (2559). ทฤษฎีและการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: บริษัททริปเพิ้ลกรุ๊ปจำกัด.

ประวิทย์ ฤทธิบูลย์, (2558). นาฏศิลป์ไทย สื่อทางวัฒนธรรมที่มากกว่าความบันเทิง. วารสารศาสตร์วิชาการวิจัย และงานสร้างสรรค์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัย เทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. 106-137.

ปรีดา ขำจิตต์. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อเจตคติต่อการเรียนวิชานาฏศิลป์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 1. สิกขา วารสารศึกษาศาสตร์คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล. 6(2), 56-67.

เลอสันต์ ฤทธิขันธ์. (2564). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแบบมีปฏิสัมพันธ์ เรื่อง เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปี 2 ที่โรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์. วารสารเทคโนโลยีและการสื่อสารการศึกษา. คณะ ศึกษาศาสตร์. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 4(10), 137-146.

ล้วน สายยศ และ อังคณา สายยศ. (2538). เทคนิคการวิจัยทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 5. (ปรับปรุง) กรุงเทพมหานคร : สุวีริยาสาส์น.

สุไม บิลไบ. (2557). การออกแบบและพัฒนาบทเรียนมัลติมีเดียโดยใช้ ADDIE Model. เอกสารประกอบการสอน นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา. สืบค้นเมื่อ 13 พฤศจิกายน 2566 จากhttps://drsumaibinbai.files.wordpress.com/2014/12/addie_design_sumai.pdf.

เสาวนีย์ สิกขาบัณฑิต. (2548). เทคโนโลยีการศึกษา. กรุงเทพฯ: สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

Nazimuddin, S.K. (2014). Computer Assisted Instruction (CAI): A New Approach in the Field of Education. International Journal of Scientific Engineering and Research (IJSER), 3(July), 185-188.