การศึกษากระบวนการถ่ายทอดการบรรเลงปี่ใต้ของควน ทวนยก (ศิลปินแห่งชาติ)

Main Article Content

ไกรวิทย์ สุขวิน
สิชฌน์เศก ย่านเดิม

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประวัติและผลงานของควน ทวนยก (ศิลปินแห่งชาติ) และศึกษากระบวนการถ่ายทอดการบรรเลงปี่ใต้ของควน ทวนยก (ศิลปินแห่งชาติ) เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์และการสังเกตแบบมีส่วนร่วม ผู้ให้ข้อมูล คือ ครูควน ทวนยก กลุ่มลูกศิษย์ และกลุ่มศิลปินดนตรีพื้นบ้านภาคใต้ ผลการศึกษา พบว่า ครูควน ทวนยก เกิดในครอบครัวนักดนตรีปี่พาทย์ จังหวัดสงขลา เริ่มฝึกการบรรเลงระนาดทุ้มจากปู่ตุด ทวนยก แล้วจึงฝึกเครื่องดนตรีอื่น โดยมีความชื่นชอบปี่ใต้มากที่สุด จุดเริ่มต้นของความเป็นครู คือ การทำงานคนสวนพร้อมกับเป็นมือปี่ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา กระทั่งปีพุทธศักราช 2553 ท่านได้รับการยกย่องเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีพื้นบ้าน) ในส่วนของการถ่ายทอด ท่านสอนทั้งผู้เรียนที่มีและไม่มีพื้นฐาน เป็นการสอนแบบกลุ่มและแยกสอนหากผู้เรียนไม่สามารถปฏิบัติได้ โดยใช้การสอนแบบภาษาปี่ ทั้งนี้ จำแนกได้ 3 ระยะ ได้แก่ 1) ก่อนการเรียนรู้ เพื่อประเมินความรู้และครอบมือ 2) การเรียนรู้ 8 ขั้น คือ ฝึกจับปี่ ฝึกเป่าเสียงหลัก ฝึกเป่าเพลงทดลองเสียง ฝึกเป่าโน้ตเสียงอื่น ฝึกเป่าเพลงสั้น ฝึกเป่าเพลงใหญ่ ฝึกเป่ารวมวง และฝึกเป่าด้วยตนเอง และ 3) หลังการเรียนรู้ เป็นการประเมินและให้ผู้เรียนหาประสบการณ์หลังการเรียนรู้ ดังนั้น ครูควน ทวนยก จึงเป็นผู้ที่มีทักษะในการถ่ายทอดการบรรเลงปี่ใต้ ยอมรับในความแตกต่างของผู้เรียน ทั้งยังปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมและปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างให้กับผู้เรียน

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กิตติชัย รัตนพันธ์. (2564). ดนตรีพื้นบ้านภาคใต้ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: บริษัท โอ. เอส. พริ้นติ้ง เฮ้าส์ จำกัด.

ไกรวิทย์ สุขวิน. (2564). การเปลี่ยนแปลงของเครื่องดนตรีประกอบการแสดงโนรา. วารสารวิพิธพัฒนศิลป์, 1(3), 31 – 46.

ไกรวิทย์ สุขวิน และสิชฌน์เศก ย่านเดิม. (2566). แนวคิดการสอนแบบ 8Ps ที่เน้นการปฏิบัติเพื่อการสอนการบรรเลงดนตรี. วารสารอินทนิลทักษิณสาร, 18(2), 9 – 31.

ไกรสิทธิ์ อัจฉริยะประสิทธิ์ และณรุทธ์ สุทธจิตต์. (2561). การศึกษากระบวนการถ่ายทอดการบรรเลงจะเข้ของครูระตี วิเศษสุรการ. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา, 13(2), 68 – 79.

จินต์ประวีร์ เจริญฉิม และสิริชัย ดีเลิศ. (2563). กระบวนการถ่ายทอดภูมิปัญญาของผู้สูงอายุสู่ชุมชนและสังคมที่ยั่งยืน. วารสารปาริชาต, 33(2), 152 – 167.

ชาติชาย ม่วงปฐม. (2557). ทฤษฎีการเรียนการสอน. อุดรธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.

ณรุทธ์ สุทธจิตต์. (2561). ดนตรีศึกษา: หลักการและสาระสำคัญ (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ณรุทธ์ สุทธจิตต์. (2562). ประวัติดนตรีไทยศึกษา: มุมมองทางทฤษฎีการศึกษา. วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 20(2), 35 – 51.

ติณณภพ ถนอมธรรม และภัทระ คมขำ. (2566). เพลงมอญบ้านจรรย์นาฏย์. วารสารดนตรีและการแสดง, 9(1), 58 – 74.

ทรงพล เลิศกอบกุล. (2563). วัฒนธรรมดนตรีถิ่นใต้. เชียงใหม่: ศูนย์ความเป็นเลิศด้านดนตรีและนาฏศิลป์ล้านนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

ทิศนา แขมมณี. (2560). รูปแบบการเรียนการสอน: ทางเลือกที่หลากหลาย (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธันยาภรณ์ โพธิกาวิน. (2560). การสืบทอดและการดำรงอยู่ของวงดนตรีแก้วบูชา ในอำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ Veridian มหาวิทยาลัยศิลปากร (มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ), 10(3), 530 – 547.

นริศรา ใจคง และสิริกานต์ แก้วคงทอง. (2564). นิเวศการเรียนรู้: เรื่องเก่าบนวิถีใหม่. วารสารการศึกษาไทย, 18(3), 64 – 69.

พระมหาภูมิพัฒน์ ญาณวุฑฺโฒ (คำมี). (2566). แนวคิดและหลักคำสอนที่ส่งเสริมความเป็นครูดีและศิษย์ดีในพระพุทธศาสนา. วารสารพุทธนวัตกรรมปริทรรศน์, 4(1), 81 – 93.

ภมรศักดิ์ เกื้อหนองขุ่น และยุทธนา ฉัพพรรณรัตน์. (2558). การศึกษากระบวนการถ่ายทอดการบรรเลงซออู้ของครูฉลวย จิยะจันทน์. วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 7(2), 41 – 62.

ศุภชัย สุขสำราญ และจรรย์สมร ผลบุญ. (2564). การสร้างสรรค์การแสดงชุด มัจฉาลีลา. วารสารศิลปวัฒนธรรมสวนสุนันทา สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 1(1), 23 – 38.

สุวิชชา สิงโตทอง. (2562). กระบวนการถ่ายทอดเครื่องดนตรีพื้นบ้านซึง 6 สาย ของครูศรชัยเต็งรัตน์ล้อม. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง, 8(2), 128 – 137.

Steiner, E. (1988). Methodology of Theory Building. Sydney : Educology Research Associates.

UNESCO. (2021). Nora, dance drama in southern Thailand. Retrieved 27 September 2023, from https://ich.unesco.org/en/RL/nora-dance-drama-in-southern-thailand-01587.