การส่งเสริมสุขภาพด้วยหลักสุขบัญญัติสำหรับเด็กออทิสติก
Main Article Content
บทคัดย่อ
สุขบัญญัติแห่งชาติเป็นการป้องกันและส่งเสริมสุขภาพที่จะนำไปสู่การมีสุขภาพดีอย่างถาวรในทุกกลุ่มประชากรเป้าหมายโดยเฉพาะกลุ่มเด็กนักเรียนนับว่าสุขบัญญัติเป็นกระบวนการปลูกฝังและสร้างเสริมพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ซึ่งจะเห็นได้ว่าแนวทางการปฏิบัติตามสุขบัญญัตินั้นเป็นพฤติกรรมพื้นฐานในการส่งเสริมสุขภาพเพื่อการป้องกันโรคที่จะนำไปสู่การมีสุขภาพดี และยังป้องกันปัญหาสุขภาพ เด็กออทิสติกเป็นกลุ่มเด็กเยาวชนที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษที่ควรได้รับความรู้เรื่องของการมีสุขภาพที่ดี แต่ด้วยสภาวะความบกพร่องต่าง ๆ ทำให้ครู หมอ พ่อแม่ ต้องช่วยกันหาวิธีการสอนและส่งเสริมให้เด็กออทิสติก ได้มีความรู้และเรียนรู้พร้อมปฏิบัติให้ตนเองได้มีสุขภาพที่ดี สุขบัญญัติแห่งชาติ 10 ประการคือ 1) ดูแลรักษาร่างกายและของใช้ให้สะอาด 2) รักษาฟันให้แข็งแรง และแปรงฟันทุกวันอย่างถูกวิธี 3) ล้างมือให้สะอาดก่อนรับประทานอาหารและหลังการขับถ่าย 4) กินอาหารสุก สะอาด ปราศจากสารอันตราย และหลีกเลี่ยงอาหารรสจัด สีฉูดฉาด 5) งดสูบบุหรี่ สุรา สารเสพติด การพนัน และการสำส่อนทางเพศ 6) สร้างความสัมพันธ์ในครอบครัวให้อบอุ่น 7) ป้องกันอุบัติภัยด้วยการไม่ประมาท 8) ออกกำลังกายสม่ำเสมอ และตรวจสุขภาพประจำปี 9) ทำจิตใจให้ร่าเริงแจ่มใสอยู่เสมอ 10) มีสำนึกต่อส่วนรวมร่วมสร้างสรรค์สังคม เหล่านี้ล้วนถือเป็นพื้นฐานที่จะเป็นข้อมูลให้เด็กออทิสติกได้เรียนรู้และปฏิบัติให้เกิดเป็นคุณลักษณะสุขภาพที่ดีต่อไป
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กระทรวงสาธารณสุข. (2559). สุขบัญญัติฉบับปรับปรุงใหม่ล่าสุด. กรุงเทพฯ : ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. (2552). แนวทางการสร้างเสริมพฤติกรรมสุขภาพตามสุขบัญญัติแห่งชาติในสถานศึกษา. กรุงเทพฯ โอวิทย์ (ประเทศไทย).
กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. (2555). สุขบัญญัติแห่งชาติ. นนทบุรี: โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งชาติประเทศไทย จำกัด.
เจริญขวัญ ศรีพันธ์ชาติและคณะ. (2564). หลักสูตรการพัฒนาทักษะการช่วยเหลือตนเองในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันสำหรับนักเรียนที่มีภาวะออทิซึมสเปกตรัมในระดับอนุบาลศึกษา: สถาบันวิจัยและบริการออทิซึม. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ดารณี อุทัยรัตนกิจ. (2547). การจัดการศึกษาสำหรับเด็กออทิสติก. (เอกสารประกอบคำสอน). กรุงเทพฯ: โครงการอบรมครูและบุคลากรทางการศึกษาพิเศษโดยศูนย์วิจัยการศึกษาเพื่อเด็กที่มีความต้องการความช่วยเหลือศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ร่วมกับกรุมสุขภาพจิต.
ณภัทร พาณิชยการ. (2557). รูปแบบการบริหารเพื่อการดูแลสุขภาพตนเองของผู้บริหารโรงเรียน มัธยมศึกษา.ปริญญานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตสาขาการบริหารการศึกษามหาวิทยาลัยศิลปากร.
ธาราพรศ์ ศรีบุญญารักษ์. (2562). ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองตามหลักสุขบัญญัติแห่งชาติของนักเรียนโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษาเขต 10 อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร ; ปริญญานิพนธ์การศึกษา ตามหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนศึกษามหาวิทยาลัยศิลปากร.
โรงพยาบาลท่าตูม. (2555). สุขบัญญัติ 10 ประการ เอกสารความรู้และสื่อสุขภาพเพื่อพัฒนาความรอบรู้และพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ (งานสุขศึกษาและประชาสัมพันธ์ รพ.ท่าตูม).
สุนิสา พรมป่าชัด. (2556). พฤติกรรมสุขภาพตามสุขบัญญัติแห่งชาติในนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 โรงเรียนบ้านร้านตัดผม ตำบลสองพี่น้อง อำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร ; ปริญญานิพนธ์การศึกษาตามหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนศึกษามหาวิทยาลัยศิลปากร.
สุนทรี สุริยะรังษี. (2559). หลักสุขบัญญัติไทยสมัยใหม่กับหลักการพัฒนาตามแนวคิดไตรสิกขาวารสารธรรมทรรศน์, 16(1), 265 - 280.
สำนักสุขาภิบาลอาหารและน้ำและศูนย์อนามัยที่ 1-13. (2562). การล้างมือเพื่อสุขภาพที่ดีในวันนี้และอนาคตของชาติ วารสารสุขาภิบาลอาหารและน้ำ, 10(1), 2-4.
Pender, N.J. (2006). Health Promotion in Nursing Practice. 2nd (ed). Connecticut : Appleton & Lange.