การบริหารงานการเรียนการสอนในระดับอนุบาลและประถมศึกษา ของโรงเรียนเอกชนในสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่า (โควิด–19) ในจังหวัดหนองบัวลำาภู

Main Article Content

สมาน ประวันโต

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง การบริหารงานการเรียนการสอนในระดับอนุบาลและประถมศึกษาของโรงเรียน เอกชน ในช่วงการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่า (โควิด–19) ในจังหวัดหนองบัวลำภู ในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1). เพื่อศึกษาแนวทางการบริหารงานการเรียนการสอนในระดับอนุบาลและประถมศึกษา 2). เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างแนวทางบริหารการเรียนการสอนกับความสำเร็จในการปฏิบัติงานของการ เรียนการสอนในระดับอนุบาลและประถมศึกษา 3). เพื่อศึกษากระทบระหว่างแนวทางบริหารการเรียน การสอนกับความสำเร็จในการปฏิบัติงานของการเรียนการสอนในระดับอนุบาลและประถมศึกษาของ โรงเรียนเอกชน และ 4). เพื่อศึกษาผลสำาเร็จของการบริหารงานการเรียนการสอนในระดับอนุบาลและ ประถมศึกษาของโรงเรียน ผลการศึกษาพบว่า 1). แนวทางโรงเรียนเอกชนในระดับอนุบาลและประถม ศึกษามีแนวทางการบริหารการศึกษาที่ดี มีการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับบริบทการเข้าถึงการเรียนรู้ ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโคโรน่า (โควิด–19) 2). ด้านความสัมพันธ์ระหว่างแนวทางบริหารการ เรียนการสอนกับความสำาเร็จในการปฏิบัติงานของการเรียนการสอนอยู่ในระดับที่ ดีมาก 3). มีการจัดการ ด้านผลกระทบระหว่างแนวทางบริหารการเรียนการสอนกับความสำาเร็จในการปฏิบัติงานในระดับที่ดีมาก และ 4). ผลสำเร็จของของการบริหารงานการเรียนการสอนในระดับอนุบาลและประถมศึกษาของโรงเรียน โดยมีการจัดเตรียมแผนรองรับการจัดการเรียนการสอนสำาหรับนักเรียนป่วย กักตัว หรือกรณีปิดโรงเรียน มีสัดส่วนการบริหารงานการเรียนการสอนแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำาคัญทางสถิติอยู่ในระดับปานกลาง

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
ประวันโต ส. (2022). การบริหารงานการเรียนการสอนในระดับอนุบาลและประถมศึกษา ของโรงเรียนเอกชนในสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่า (โควิด–19) ในจังหวัดหนองบัวลำาภู. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 16(3), 240–249. สืบค้น จาก https://so09.tci-thaijo.org/index.php/JOEMSU/article/view/291
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ (2563). การเตรียมความพร้อมของกระทรวงศึกษาธิการก่อนเปิดภาค เรียน. ค้นเมื่อ 12 สิงหาคม 2564, จาก https://moe360.blog/2020/05/08กระทรวงสาธารณสุข, กรมอนามัย.(2563). คู่มือการปฏิบัติสำาหรับสถานศึกษาในการป้องกันการแพร่

ระบาดของโรคโควิด 19. ค้นเมื่อ 12 สิงหาคม 2564, จาก https://multimedia.anamai.moph.go.th/associates/educational-manual- covid19/

กระทรวงสาธารณสุข, กรมอนามัย.(2563). แนวปฏิบัติสำาหรับสถานศึกษาในการป้องกันการการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19. ค้นเมื่อ 12 สิงหาคม 2564, จาก http://oic.go.th/FILEWEB/CABINFOCENTER17/DRAWER002/GENERAL/DATA002

จิรกิติ์ ทองปรีชา. (2562). การบริหารจัดการเรียนการสอน ภายใต้สถานการณ์ COVID-19 ระดับมัธยมศึกษา พื้นที่โรงเรียนวชิรธรรมสาธิต. เขตพระโขนง กรุงเทพมหานคร

ธงชัช สันติวงษ์. (2542). การบริหารงานบุคคล. กรุงเทพฯ: รัตนพาณิช.

บุญลือ สุทธิศักดิ์. (2544). การศึกษาปัญหาการบริหารงานบุคคลของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานประถมศึกษาจังหวัดพังงา. ปริญญานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยทักษิณ

พนัส หันนาคินทร์. (2546). การบริหารบุคลากรในโรงเรียน. กรุงเทพฯ:พิฆเณศ.

สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา. (2545). การกำากับ ติดตาม นิเทศและประเมินผลการบริหารโรงเรียน.

กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

วิภาดา สรัมย์. (2562). การบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ปทุมธานี. ปริญญานิพนธ์ครุศาสตรอุตสาหกรรม สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

พิมพ์พัฑรา สินธุรัตน์. (2556). การบริหารงานด้านทรั้พยากรบุคคลกรณีศึกษา: วิทยาลัยเทคโนโลยีตะวันออก (อี.เทค). ปริญญาศึกษาศาตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษาและผู้นำทางการศึกษาบัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยสยาม.

พรรณราย อินทุรัตน์. (2563). ความพึงพอใจต่อการปรับตัวศูนย์อาหารในมุมมองผู้บริโภคช่วงสถานการณ์โควิด-19 ศึกษาเฉพาะกรณีธุรกิจการค้าในจังหวัดพิษณุโลก. ปริญญานิพนธ์บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยนเรศวร.