การพัฒนาชุดกิจกรรมเสริมหลักสูตรเพื่อเสริมสร้างจิตสาธารณะของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายในโรงเรียนสังกัดสำานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) สร้างและหาประสิทธิภาพชุดกิจกรรมเสริมหลักสูตรเพื่อ เสริมสร้างจิตสาธารณะของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายสังกัดสำานักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยม ศึกษาสกลนคร (2) เปรียบเทียบจิตสาธารณะของนักเรียนระหว่างก่อนและหลังการใช้ชุดกิจกรรม เสริมหลักสูตรเพื่อเสริมสร้างจิตสาธารณะ (3) เปรียบเทียบจิตสาธารณะของนักเรียนหลังใช้ชุดกิจกรรม เสริมหลักสูตรเพื่อเสริมสร้างจิตสาธารณะสิ้นสุดลงและหลังใช้ชุดกิจกรรมเสริมหลักสูตรเพื่อเสริม สร้างจิตสาธารณะเป็นระยะเวลา 1 เดือน กลุ่มตัวอย่าง คือ เป็นนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสกลราชวิทยานุกูล ปีการศึกษา 2563 จำานวน 40 คน ได้มาโดยความสมัครใจเข้าร่วมกิจกรรม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบวัดจิตสาธารณะ แบบสังเกตพฤติกรรมจิตสาธารณะ แบบประเมิน การทำากิจกรรมสำาหรับครู และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Dependent t-test
ผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้
ชุดกิจกรรมเสริมหลักสูตรเพื่อเสริมสร้างจิตสาธารณะที่สร้างขึ้นมีความเหมาะสม โดยการ ประเมินของผู้เชี่ยวชาญ ทั้งชุดมีค่าเฉลี่ย 2.83 มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก และคู่มือการจัด กิจกรรมการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างจิตสาธารณะ มีค่าเฉลี่ย 2.96 มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากความ สอดคล้องขององค์ประกอบของชุดกิจกรรมเสริมหลักสูตรเพื่อเสริมสร้างจิตสาธารณะตามความเห็น ของผู้เชี่ยวชาญจำานวน 5 คน ได้ค่าดัชนีความสอดคล้อง เท่ากับ 1.00 และความสอดคล้องของคู่มือการใช้ ชุดกิจกรรมเสริมหลักสูตรเพื่อเสริมสร้างจิตสาธารณะของนักเรียน ตามความเห็นของผู้เชี่ยวชาญจำานวน 5 คน ได้ค่าดัชนีความสอดคล้อง เท่ากับ 1.00 ชุดกิจกรรมเสริมหลักสูตรเพื่อเสริมสร้างจิตสาธารณะ ของนักเรียนมีประสิทธิภาพที่ 83.15/86.73 สูงกว่าเกณฑ์ 80/80
จิตสาธารณะและความพึงพอใจของนักเรียนระหว่างก่อนและหลังการใช้ชุดกิจกรรมเสริม หลักสูตรเพื่อเสริมสร้างจิตสาธารณะ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำาคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
เสริมสร้างจิตสาธารณะ ชุดกิจกรรมเสริมหลักสูตร
Enhancing of public minds, extra-curricular activities package
เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2556.) แนวทางการสรางจิตสาธารณะในสังคมไทย. กรุงเทพฯ: ม.ป.พ.. กรมวิชาการ. (2547). เอกสารชุดเทคนิคการจัดกระบวนการเรียนรูที่ผูเรียนสำคัญที่สุดแบบโครงงาน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์การศาสนา.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
กฤษณ์ พวงพันธ์. (2552). การพัฒนาจิตสาธารณะของนักเรียนโรงเรียนบานตาอุด อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. (การบริหารการศึกษา). มหาสารคาม: บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
เจษฎา หนูรุ่น. (2551). ปัจจัยจิตลักษณะที่ส่งผลต่อจิตสาธารณะของนักเรียนช่วงชั้นที่ 3 โรงเรียนสาธิต ในสังกัดมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต ภาควิชาการวิจัยและสถิติทางการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ฉวีวรรณ คำประไพ. (2554). การศึกษาเปรียบเทียบจิตสาธารณะของนักเรียนช่วงชั้นที่ 3 ในโรงเรียนสังกัดกรุงธนใต ที่มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ต่างกัน. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม., มหาวิทยาลัย
ศรีนครินทรวิโรฒ.
ชัยวัฒน์ ถุงเสน. (2547). การพัฒนาสื่อวีดีทัศน์การสอนสำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการไดยิน เรื่อง การอนุรักษ์พลังงานไฟฟ้า. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. (การมัธยมศึกษา). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. (ถ่ายเอกสาร).
ธัญญาภัทร์ เลิศจันทรางกูรและจิราภรณ์ พงษ์ศรีทัศน์. (2556). การพัฒนาจิตสาธารณะของนักศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ.
ประณต เค้าฉิม. (2549). จิตวิทยาวัยรุ่น. กรุงเทพฯ: ภาควิชาจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ปภาพินท์ รุณธาตุ. (2558). การพัฒนาจิตสาธารณะดวยกระบวนการเรียนรูจากประสบการณ์ของผู้นำนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนตน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนครเขต 3. วิทยานิพนธ์: ปร.ด. สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
ผ่องพรรณ ตรัยมงคลกูล และสุภาพ ฉัตรภรณ์. (2545). การออกแบบการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
พรรณีช.เจนจิต. (2528.) จิตวิทยาการเรียนการสอน. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
พิริยา นิลมาตร. (2550). ปัจจัยที่ส่งผลต่อจิตสาธารณะของนักเรียนช่วงชั้นที่ 4 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาร้อยเอ็ด. วิทยานิพนธ์ กศ.ม., มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ภัคนุช หมากผิน. (2556). การวิเคราะห์องค์ประกอบจิตสาธารณะของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยนเรศวร.
ลัดดาวัลย์ เกษมเนตร และคณะ. (2546). ผลการใชรูปแบบการพัฒนาจิตสาธารณะที่มีต่อจิตสาธารณะของนักเรียนระดับประถมศึกษาโดยใชตัวแบบที่แสดงพฤติกรรมจิตสาธารณะผ่านนิทาน. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทร วิโรฒ.
วรินทร บุญยิ่ง. (2553). การสังเคราะห์รูปแบบ กระบวนการ และเทคนิควิธีการในการจัดกิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณะประโยชน์ของประเทศเกาหลีใต. กรุงเทพฯ: สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา.
วาโร เพ็งสวัสดิ์. (2553). สถิติประยุกต์สำหรับการวิจัยทางสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
วิทวัฒน์ ขัตติยะมาน. (2549). การจัดการเรียนการสอนตามสภาพจริง. สำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยทักษิณ, 5(1), 59-60.
วิไล หนูนาค. (2547). การพัฒนาการจัดการเรียนรูแบบบูรณาการโดยผูสอนคนเดียว วิชาวิทยาศาสตร์ เรื่องพื้นที่ผิวและปริมาตร สำหรับันกเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนวิเชียรมาตุ 3 จังหวัดตรัง. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. (หลักสูตรและการสอน). ภูเก็ต: มหาวิทยาลัยราชภัฎภูเก็ต. ถ่ายเอกสาร.
วิโฬมฐ วัฒนานิมิตกูล. (2553.) จิตสานึกสาธารณะ: วิถีที่เป็นจุดเน้นของการปฏิรูปการศึกษา ในทศวรรษที่ 2. วารสารทีทัศน์วัฒนธรรม, 9(1), 25-34.
สมโภชน์ เอี่ยมสุภาษิต. (2556). ทฤษฎีและเทคนิคการปรับพฤติกรรม. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2563). นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ในโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร. online: เข้าถึงวันที่ 27 สิงหาคม 2563.
สำานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี. (2558). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแหงชาติ ฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560-2564. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
สุภาภรณ์ ทองใส. (2548). การพัฒนาผลการเรียนรู เรื่อง โจทย์ปัญหาเศษส่วนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยวิธีจัดการเรียนรูดวยเทคนิค เค ดับเบิ้ลยู ดี แอล (KWDL) ร่วมกับแนวคิดของ วรรณี. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. (หลักสูตรและวิธีสอน). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร. ถ่ายเอกสาร.
สุวิทย์ มูลคำา. (2549). กลยุทธ์การสอนคิดสังเคราะห์. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ.
อนุชาติ พวงสำาลี และวีรบูรณ์ วิสารทสกุล. (2540). ประชาสังคม: คำความคิดและความหมาย. กรุงเทพฯ: สถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา.
อริยา นิลคูหา และสุวิมล นราองอาจ. (2554). จิตสาธารณะและรูปแบบการดำเนินชีวิตของนักศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขตปตตานี. วารสารมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี, 3(2), 81-93.
Corey, G. (2004). Theory and practice of group counseling. 6th ed. California: Thomson Brooks/Cole Inc.
Joyce, B., Weil, M., & Calhoun, E. (2004). Models of teaching. 7th ed. London: Pearson.