การพัฒนาหลักสูตรการเล่นเปียโนด้วยเทคนิคเกมมิฟิเคชั่น เพื่อส่งเสริมทักษะการเล่นเปียโนสำหรับผู้เริ่มต้น
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ออกแบบและพัฒนาหลักสูตรการเรียนเปียโนด้วยเทคนิคเกมมิฟิเคชั่น ที่ส่งเสริมทักษะการเล่นเปียโนสำหรับผู้เริ่มต้น 2) เปรียบเทียบผลการเรียนรู้ภาคทฤษฎีก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยหลักสูตรการเล่นเปียโนด้วยเทคนิคเกมมิฟิเคชั่นในระดับที่ 1 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ เครื่องมือที่ใช้ในการจัดการเรียนรู้ และแบบวัดทักษะการเล่นเปียโน กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยคือ ผู้เรียนคอร์สเรียน TERO Music Course จำนวน 30 คน ใช้วิธีการคัดเลือกแบบเจาะจง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบ t-test แบบ dependent ผลการศึกษาวิจัยพบว่า การออกแบบหลักสูตรมีกระบวนการจัดการเรียนรู้ด้วยแผนการเรียน 4 แผนการเรียน โดยใช้รูปแบบการสอนทักษะปฏิบัติตามแนวคิดของแฮร์โรว์ 5 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ขั้นการเลียนแบบ 2) ขั้นการลงมือกระทำตามคำสั่ง 3) ขั้นการกระทำอย่างถูกต้องสมบูรณ์ 4) ขั้นการแสดงออก 5) ขั้นการกระทำอย่างเป็นธรรมชาติร่วมกับการทำกิจกรรมในชั้นเรียนด้วยรูปแบบเกมมิฟิเคชั่น ผลการเปรียบเทียบการเรียนรู้พบว่า คะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมีผลการวัดทักษะการเล่นเปียโนอยู่ในเกณฑ์คุณภาพระดับดีมาก
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กีรติกร ขัติวงศ์. (2557). การใช้รูปแบบการสอนทักษะปฏิบัติของแฮร์โรว์ เรื่องขนมไทย สำหรับ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนนันทชาติ เกรด สคูล จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
เกษมสันต์ ตราชู. (2564). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ทักษะทางดนตรีตามแนวคิดของดาลโครซ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
จริยา อันเบ้า พิทยวัฒน์ พันธะศรี และสมาน เอกพิมพ์. (2563). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ทักษะปฏิบัติฟ้อนออนซอนสาดบ้านแพง สำหรับ นักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3 ตามแนวคิดของ Harrow. วารสารสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 7(2) : กรกฎาคม-ธันวาคม ,101-116.
จักรพงศ์ รินทะวงศ์. (2562). การยอมรับการใช้เกมมิฟิเคชั่นในบทเรียนอีเลิร์นนิ่งของการเรียนระดับอาชีวศึกษาของไทย. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ชยธร สระน้อย. (2564). การพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านโน้ตฉับพลันด้วยรูปแบบจังหวะสำหรับนักเรียนเปียโนระดับกลาง. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ณรุทธ์ สุทธจิตต์. (2561). ดนตรีศึกษาหลักการและสาระสำคัญ (พิมพ์ครั้งที่10). โรงพิมพ์แห่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ธนะรัชต์ ไชยรัชต์. (2563). การใช้เกมมิฟิเคชั่นในการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์เพื่อส่งเสริมการ รับรู้ความสามารถการมีเป้าหมายในการเรียนรู้ และผลการเรียนรู้:กรณีศึกษานักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
พรรณิสรา จั่นแย้ม. (2558). การพัฒนาชุดกิจกรรมด้วยกลยุทธ์เกมมิฟิเคชั่นและผังความคิดกราฟิกแบบร่วมมือออนไลน์ในการเรียนโดยใช้โครงงานเป็นฐานเพื่อเสริมสร้าง ความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์เชิงธุรกิจและจริยธรรมของนักศึกษาปริญญาตรี สาขาบริหารธุรกิจ. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศุภ์กฤดญา อัศววีระเดช. (2562). การพัฒนาการได้ยินภายในสำหรับการอ่านโน้ตตามแนวคิดโคดายสำหรับนักเรียนเปียโนระดับชั้นต้น. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต.
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สกุณา ประมายะยัง. (2556). การนำเสนอแนวทางการจัดการเรียนการสอนดนตรีเพื่อพัฒนาเทคนิคการปฏิบัติโน้ตประดับ สำหรับนักเรียนเปียโนระดับชั้นกลาง
[วิทยานิพนธ์ปริญญาโท]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อรุณี โคตรสมบัติ. (2559). เอกสารประกอบการเรียนรายวิชาทักษะทางดนตรีพื้นฐานสำหรับครู. ม.ป.ท.
อวัศยา แสงทอง. (2564). การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาของโรงเรียนวัดจันทราวาส (ศุขประสารราษฎร์). วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
อรศุภางค์ คงพิทักษ์. (2564). การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือบูรณาการการอ่านและการเขียน (CIRC) ร่วมกับเทคนิคเกมมิฟิเคชันเพื่อพัฒนาความสามารถการเขียนสะกดคำของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 [วิทยานิพนธ์ปริญญาโท]. มหาวิทยาลัยศรีปทุม
Harrow, A. (1972). A Taxonomy of The Psychomotor Domain: A Guide for Developing Behavioral Objectives. New York: Longman Inc.