การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ด้วยห้องเรียนเสมือนจริง เพื่อส่งเสริมทักษะความคิดสร้างสรรค์ของนักศึกษาคณะดิจิทัลมีเดีย ชั้นปีที่ 1 ในรายวิชาประวัติศาสตร์การออกแบบ

Main Article Content

อภินันท์ เกตุกูล
ผุสดี กลิ่นเกษร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ออกแบบและพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ด้วยห้องเรียนเสมือนจริงที่ส่งเสริมทักษะความคิดสร้างสรรค์ ในรายวิชาประวัติศาสตร์การออกแบบ สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1 และ 2) วัดทักษะความคิดสร้างสรรค์ ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1 ในรายวิชาประวัติศาสตร์การออกแบบ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 1 คณะดิจิทัลมีเดีย จำนวน 110 คน จากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ด้วยห้องเรียนเสมือนจริงเพื่อส่งเสริมทักษะความคิดสร้างสรรค์ จำนวน 5 แผน ซึ่งมีค่าความเหมาะสมเท่ากับ 4.66 และ 2) แบบประเมินทักษะความคิดสร้างสรรค์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้คะแนนค่าเฉลี่ย เทียบกับเกณฑ์ตามที่กำหนด ซึ่งมีค่าดัชนีความสอดคล้องอยู่ระหว่าง 0.67-1.00 ผลการวิจัย พบว่า 1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ด้วยห้องเรียนเสมือนจริงเพื่อส่งเสริมทักษะความสร้างสรรค์ ภายใต้วงจรการจัดการเรียนรู้ของ เดวิด โคล์บ (David Kolb) โดยทำการปรับและออกแบบลักษณะการเรียนรู้ออกมาเป็น 3 ลักษณะ มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด 2) ทักษะความคิดสร้างสรรค์ อยู่ในเกณฑ์ระดับ ดีมาก 

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กวินนาถ พลอยกระจ่าง. (2564). การพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เรื่องเซลล์และการทำงานของเซลล์ โดยการจัดการเรียนรู้ตามแนวสเต็มศึกษา. เอกสารการประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 58 สาขาศึกษาศาสตร์

ณรงค์ศักดิ์ พรมวัง, ประยูร บุญใช้, ภูมิพงศ์ จอมหงษ์พิพัฒน์. (2557). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ผ่านห้องเรียนเสมือนจริง โดยใช้สื่อสังคมออนไลน์ ตามแนวทฤษฎีอภิปัญญาและทฤษฎีสรรคนิยม สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น. ศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 37(1), 41-52.

นวรัตน์ แซ่โค้ว. (2557). การพัฒนาแบบจำลองโลกเสมือนจริง สำหรับบทเรียนมัลติมีเดียปฏิสัมพันธ์ เรื่องการท่องโลกอุปกรณ์คอมพิวเตอร์. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

เนาวนิตย์ สงคราม. (2556). การสร้างนวัตกรรม เปลี่ยนผู้เรียนให้เป็นผู้สร้างนวัตกรรม. กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บุญเลี้ยง ทุมทอง. (2556). ทฤษฎีและการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ (Theories and development instructional model). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เอสพริ้นติ้ง ไทย แฟคตอรี่.

สุวิทย์ มูลคำ. (2557). กลยุทธ์ การสอนคิดสร้างสรรค์. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.

สำนักงานทะเบียนมหาวิทยาลัยศรีปทุม. (2566). รายงานผลการลงทะเบียนเรียนภาคการศึกษาที่ 1 ประจำปีการศึกษา 2566. มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

Guilford, J. P. (1971). The Nature of Human Intelligence. New York: McGraw Hill.

Kolb, D. A. (1984). Experiential Learning Experience as the Source of Learning and Development. Englewood Cliffs, NJ Prentice Hall.

Marzano. (1988). Dimensions of Thinking. Association for Supervision and Curriculum Development Alexandria.

Rogers, C.R. (1970). The Gietedition. Developing Total Talent. Springfield, Illinois: Charles & C. Thomas Publishers.