ปัจจัยพยากรณ์ความสม่ำาเสมอในการออกกำาลังกายโดยใช้กีฬามวยไทย

Main Article Content

วริทธิ์ธร ทองสุข
ภาณุ กุศลวงศ์
อนันต์ มาลารัตน์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย 1) เพื่อทดสอบความสัมพันธ์ของประโยชน์ของการออกกำาลัง กายโดยใช้กีฬามวยไทย อุปสรรคในการออกกำลังกายโดยใช้กีฬามวยไทย ความสามารถหรือทักษะ ในการออกกำลังกายโดยใช้กีฬามวยไทย ความรู้สึกในการออกกำลังกายโดยใช้กีฬามวยไทย อิทธพล ระหว่างบุคคลและอิทธิพลด้านสถาการณ์ ที่มีต่อความสม่ำเสมอในการออกกำลังกายโดยใช้กีฬามวยไทย 2) เพื่อสร้างสมการพยากรณ์ความสม่ำเสมอในการออกกำาลังกายโดยใช้กีฬามวยไทย กลุ่มตัวอย่างในการ วิจัยมีทั้งหมด 407 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multistage Random Sampling) เครื่องมอืที่ใช้เป็นแบบสอบถามปัจจัยพยากรณ์ความสม่ำาเสมอในการออกกำลังกายโดยใช้กีฬามวยไทย ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น วิเคราะห์ข้อมูลโดย การหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การหาค่าสัมประสิทธ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ
ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยพยากรณ์ความสม่ำาเสมอในการออกกำาลังกายโดยใช้กีฬามวยไทย ด้านการรับรู้ประโยชน์ของการออกกำาลังกายโดยใช้กีฬามวยไทย อยู่ในระดับมาก ด้านการรับรู้อุปสรรค ในการออกกำลังกายโดยใช้กีฬามวยไทย อยู่ในระดับปานกลาง ด้านความสามารถหรือทักษะในการออก กำลังกายโดยใช้กีฬามวยไทย อยู่ในระดับมาก ด้านความรู้สึกในการออกกำาลังกายโดยใช้กีฬามวยไทย อยู่ในระดับมาก ด้านการอิทธิพลระหว่างบุคคลที่ส่งผลต่อการออกกำาลังกายโดยใช้กีฬามวยไทยมี อยู่ในระดับปานกลาง และด้านอิทธิพลด้านสถานการณ์ที่ส่งผลต่อการออกำาลังกายโดยใช้กีฬามวยไทย อยู่ในระดับมาก 2) ตัวแปรที่สามารถร่วมทำานายพยากรณ์ความสม่ำาเสมอในการออกกำลังกายโดยใช้กีฬา มวยไทยของกลุ่มตัวอย่างมี 1 ตัวแปร คือ ด้านความสามารถหรือทักษะในการออกกำลังกายโดยใช้กีฬามวยไทย และปัจจัยแทรกแซงในการออกกำาลังกาย โดยสามารถร่วมกันอธิบายการผันแปรพฤติกรรมการ ออกำลังกายของกลุ่มตัวอย่างมีความสม่ำเสมอในการออกกำาลังกายโดยใช้กีฬามวยไทย ได้ร้อยละ 78.10 ตัวแปรมีผลเชิงบวกอย่างมีนัยสำาคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
ทองสุข ว., กุศลวงศ์ ภ., & มาลารัตน์ อ. (2022). ปัจจัยพยากรณ์ความสม่ำาเสมอในการออกกำาลังกายโดยใช้กีฬามวยไทย. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 16(3), 154–166. สืบค้น จาก https://so09.tci-thaijo.org/index.php/JOEMSU/article/view/275
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2560). แผนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ ฉบับที่ 6 (พ.ศ.2560-2564). กรุงเทพฯ: กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.

กระทรวงสาธารณสุข. (2540). กระทรวงสาธารณสุขเพื่อสุขภาพที่ดีของประชาชน. นนทบุรี: กระทรวง.

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2558). สถิติสำหรับงานวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ: ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

จรวย แก่นวงษ์คำา. (2530). มวยไทยมวยสากล. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

จารุณี ศรีทองทุม. (2550). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการออกกำาลังกายของประชาชนที่มาออกกำลังกายที่สวนลุมพินี กรุงเทพมหานคร. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม (สาขาสุขศึกษา). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

เฉก ธนะสิริ. (2547). ทางเลือกสำาหรับผู้บริโภคทางสาธารณสุข. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

บุญชม ศรีสะอาด. (2535). หลักการวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาสน.

เบญจมาศ ขาวสบาย. (2546). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการส่งเสริมการออกกำาลังกายเพื่อสุขภาพของบุคลากรทางการพยาบาล ในโรงพยาบาลพระมงกุฏเกล้า. วิทยานิพนธ์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ประศักดิ์ สันติภาพ. (2547). พฤติกรรมการออกกำลังกายและปัจจัยที่เกี่ยวข้องในกลุ่มนักศึกษาปริญญาตรีภาคปกติ สถาบันราชภัฎจันทรเกษม. ปริญญานิพนธ์ วท.ม. (สาขาเวชศาสตร์ป้องกันชุมชน). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปุณรัตน์ พิพิธกุล. (2549). ความต้องการออกกำลังกายของบุคลากรส่วนกลาง กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

โพธิ์สวัสดิ์ แสงสว่าง. (2540). ศิลปะมวยไทย. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ.

ภิรมย์ ทับทิมเทศ. (2546). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการออกกำาลังกายของผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุ โรงพยาบาลศรีธัญญา. ปริญญานิพนธ์ วท.ม. (สาขาสุขศึกษา). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ล้วน สายยศ. (2538). เทคนิคการวิจัยทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

อรรคพล เพ็ญสุภา. (2548). การออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ. เชียงราย: สถาบันราชภัฎเชียงราย.