การพัฒนาหลักสูตรเสริมสร้างสมรรถนะการเป็นพลเมืองที่เข้มแข็งตามแนวคิดการศึกษาเชิงวิพากษ์สำหรับนิสิตวิชาชีพครู

Main Article Content

วสันต์ สรรพสุข

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาหลักสูตรเสริมสร้างสมรรถนะการเป็นพลเมืองที่เข้มแข็ง ตามแนวคิดการศึกษาเชิงวิพากษ์สำาหรับนิสิตวิชาชีพครู และ 2) ศึกษาประสิทธิผลของหลักสูตรเสริมสร้าง สมรรถนะการเป็นพลเมืองที่เข้มแข็งตามแนวคิดการศึกษาเชิงวิพากษ์สำาหรับนิสิตวิชาชีพครู โดยใช้ รูปแบบการวิจัยและพัฒนา แบ่งเป็น 2 ระยะ ได้แก่ การพัฒนาหลักสูตร และการประเมินผลการใช้ หลักสูตร กลุ่มเป้าหมายในการวิจัยเป็นนิสิตวิชาชีพครูชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาการศึกษา แขนงวิชาสังคมศึกษา วิทยาลัยการศึกษา มหาวิทยาลัยพะเยา จำานวน 16 คน ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูล เชิงคุณภาพโดยมีเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบคำถามการสนทนากลุ่มนิสิต แบบคำถาม การสนทนากลุ่มผู้เชี่ยวชาญ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง และแบบบันทึกข้อมูลชนิดไม่มีโครงสร้าง
ผลการวิจัยพบว่า 1) หลักสูตรมีองค์ประกอบ ได้แก่ สภาพปัญหาและความจำาเป็นของหลักสูตร หลักการของหลักสูตร จุดมุ่งหมายของหลักสูตร สมรรถนะสำคัญของหลักสูตร โครงสร้างเนื้อหาหลักสูตร แนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และแนวทางการวัดและประเมินผล โดยหลักสูตรกำาหนดสมรรถนะ ย่อยของความเป็นพลเมืองที่เข้มแข็ง ได้แก่ (1) เคารพสิทธิเสรีภาพและความแตกต่าง (2) ความรับผิดชอบ ต่อสังคม (3) การมีส่วนร่วมอย่างเสมอภาคเท่าเทียม และ (4) มุ่งสร้างความเป็นธรรมในสังคม และ 2) ผลการใช้หลักสูตรได้ช่วยเสริมสร้างนิสิตให้มีสมรรถนะความเป็นพลเมืองที่เข้มแข็งด้านเคารพใน สิทธิเสรีภาพและความแตกต่าง และการมีส่วนร่วมอย่างเสมอภาคเท่าเทียมเพิ่มสูงขึ้น แต่ขณะเดียวกัน ก็ต้องเร่งพัฒนาสมรรถนะด้านความรับผิดชอบต่อสังคม และมุ่งสร้างความเป็นธรรมในสังคมให้แก่นิสิต วิชาชีพครู

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2564). Competency-based Education หลักสูตรฐานสมรรถนะ. สืบค้น 10 ธันวาคม 2564, จาก https://cbethailand.com/หลักสูตร-2/กรอบหลักสูตร/สมรรถนะหลัก-6-ประการ/สมรรถนะการเป็นพลเมือง/.

ชนิตา รักษ์พลเมือง. (2554). กระบวนทัศน์พัฒนศึกษา. กรุงเทพฯ: วิญญูชน.

ชาย โพธิสิตา. (2559). ศาสตร์และศิลป์แห่งการวิจัยเชิงคุณภาพ. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด.

ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง มาตรฐานการอุดมศึกษา พ.ศ. 2561. (2561, 17 สิงหาคม). ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 135 ตอนพิเศษ 199. 19-21.

เปาโล เฟรรี. (2560). การศึกษาของผู้ถูกกดขี่ ฉบับครบรอบ 50 ปี. กรุงเทพฯ: สวนเงินมีมา.

รุ่งทิวา จันทน์วัฒนวงษ์. (2564). การเสริมสร้างความเป็นพลเมืองใส่ใจสังคมด้วยหลักการทรงงานบูรณาการกับกระบวนการคิดเชิงออกแบบที่เน้นชุมชนเป็นฐาน สำาหรับเยาวชนในศตวรรษที่ 21. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 15(4), 262-280.

วสันต์ สรรพสุข นงเยาว์ เนาวรัตน์ และวิภาวี ศิริลักษณ์. (2564). หลักสูตรท้องถิ่น “คนเชียงของ” กับการขยายพรมแดนความเป็นพลเมืองในพื้นที่ชายแดน. วารสารสังคมศาสตร์วิชาการ, 14(1), 49-69.

Apple, M. (2004). Ideology and curriculum. New York: Routledge.

Dirkx, J.M. & Prenger, S.M. (1997). A guide for planning and implementing instruction for adults. A theme-based approach. Jossey-Bass Higher and Adult Education Series. San Francisco: Jossey-Bass Inc.

Freire, P. (1970). Pedagogy of the oppressed. New York: Continuum.

Hunkins, F.P. & Ornstein, A.C. (2016). Curriculum: Foundations, principles, and issues. Essex: Pearson Education.

McLaren, P. (1998). Life in schools: introduction to critical pedagogy in the foundations of education (3th ed.). New York: Longman.

McLaren, P. & Farahmandpur, R. (1999). Critical multiculturalism and the globalization of capital: Some implications for a politics of resistance. Journal of Curriculum Thorizing, 15(4), 27-46.

National Union of Students (NUS) and GuildHE. (2017). Active citizenship: The role of higher education. Retrieved December 16, 2021, from https://guildhe.ac.uk/wp-content/uploads/2016/11/ 6710-Guild-HE-Active-Citizenship-Report-44pp.pdf.

Soares, F. & Lopes, A. (2020). Active citizenship skills and active digital citizenship skills in teaching and learning in the digital age. Retrieved December 16, 2021, from https://repositorio-aberto.up.pt/bitstream/10216/133948/2/468661.pdf.

Taylor, P. (2003). How to design a training course. A&C Black.

Westheimer, J. & Kahne, J. (2004). What kind of citizen? The politics of educating for democracy. American Educational Research Journal, 41(2), 237-269.

Yarwood, R. (2014). Citizenship. London: Routledge.