การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงบูรณาการ โดยใช้สถานการณ์เป็นฐานกับการเรียนร่วมกัน เพื่อมุ่งพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและส่งเสริมสมรรถนะการเรียนรู้รายวิชาเคมี เรื่อง พันธะเคมี ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4

Main Article Content

สุนทร พลเรือง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงบูรณาการ โดยใช้ สถานการณ์เป็นฐานกับการเรียนร่วมกัน และ 2) เพื่อศึกษาผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ ดังนี้ 2.1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาเคมีก่อนเรียนและหลังเรียน 2.2) ศึกษาผลการ ส่งเสริมสมรรถนะหลัก หลังการเรียนรู้รายวิชาเคมี และ 2.3) เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจที่มีต่อ รูปแบบการจัดการเรียนรู้ ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ครูผู้สอนรายวิชาเคมี จำนวน 9 คน และ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 647 คน กลุ่มทดลองที่ ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จนวน 1 ห้อง 30 คน มีวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster random sampling) เครื่องมือการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ 2) แบบทดสอบ วัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน 3) แบบประเมินการส่งเสริมสมรรถนะหลักก่อนเรียน และหลังเรียน และ 4) แบบสอบถามระดับความพึงพอใจที่ต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้ สถิติที่ใช้ในการ วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมติฐานใช้ t-test (Dependent Samples)
ผลการวิจัย พบว่า 1) รูปแบบการจัดการเรียนรู้ มีองค์ประกอบของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ ทั้งหมด 7 องค์ประกอบ ได้แก่ (1) หลักการของรูปแบบ (2) วัตถุประสงค์ของรูปแบบ (3) แนวคิดและ ทฤษฎีในการพัฒนารูปแบบ (4) กระบวนการจัดการเรียนรู้ ประกอบด้วย 6 ขั้น คือ ขั้นที่ 1 นำเสนอ สถานการณ์ปัญหา ขั้นที่ 2 วางแผน ขั้นที่ 3 แก้ปัญหา ขั้นที่ 4 สะท้อนผล ขั้นที่ 5 ความคิดรวบยอด และ ขั้นที่ 6 ประเมินผล (5) การวัดผลและประเมินผล (6) บทบาทครูและบทบาทนักเรียน และ (7) ระบบสนับสนุน 2) ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ พบว่า (1) นักเรียนกลุ่มทดลอง มีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (2) นักเรียนกลุ่มทดลองมีคะแนนพัฒนาการสมรรถนะหลัก 2 สมรรถนะเพิ่มขึ้นร้อยละ 45.53 และ (3) ระดับความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.31 คือ นักเรียน กลุ่มทดลองมีระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม (ฉบับปรับปรุง 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

ขวัญชัย ขัวนาและคณะ. (2561). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 37(2). 77-96

เขมณัฏฐ์ มิ่งศิริธรรม. (2559). การออกแบบสื่อการศึกษาสร้างสรรค์ = (Creative educational media desing). กรุงเทพมหานคร: สำานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ทรงศักดิ์ ภูสีอ่อน. (2563). การวิจัยและพัฒนาทางการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 2). มหาสารคาม: ตักสิลา การพิมพ์.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพมหานคร:สุวีริยาสาส์น.

ประสาท เนืองเฉลิม. (2560). วิจัยการเรียนการสอน (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี. (29 กรกฎาคม 2559). ข้อปัญหาของการจัดการศึกษาในระบบไทย. สืบค้นเมื่อ 12 ธันวาคม 2563, จาก https://legal.sru.ac.th/5-issues-of-educationmanagement-in-the-thai-system/

เวทิสา ตุ้ยเขียว. (2563). แนวทางการจัดการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐานที่ส่งเสริมสมรรถนะการแก้ปัญหา แบบร่วมมืออย่างสร้างสรรค์ของนักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เรื่องปฏิกิริยาเคมี. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 22(1), 237-248.

สุมิตรา อังวัฒนกุล. (2540). วิธีสอนภาษาอังกฤษ (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุวัจนา ศรีวิเนตร. (2562). การพัฒนารูปแบบการสอนวิชาเคมีที่เน้นกระบวนการเรียนรู้แบบนำตนเอง เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วรสารมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด,13(2), 41-52.

Davis, N. (1995). Cooperatives and Collaborative Learning: An integrative perspective. In J.S. Thousand, R.A. Villa and A.I. Nevin (Eds.), Creativity and collaborative learning: A practical guide to empowering students and teachers (pp. 13-30). Baltimore: Paul H Brookes Publishing.

John Myers. (1991). The difference between team and group dynamics. (online). Available from: http://www.teamtechnology.co.uk/team/dynamics/vs-group-dynamics/. (2016, 6 July).

Johnson, D.W. and Johnson, R.T. (1994). Creativity and collaborative learning. Baltimore Maryland: Paul H. Brookes Publishing.

McMillan, J.H. (1991). Educational Research: Fundamentals for the consumer (2nded.). New York: Harper Collins.

Young University. (2004). Collaborative Learning. (online). Accessed 9 March 9 2004. Available from http://www.yorku.ca/academicitegrity/Collaborative 1.html.