การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบปรากฏการณ์เป็นฐานบูรณาการอภิปัญญาและความรู้ในเนื้อหาผนวกวิธีสอนและเทคโนโลยี เพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 วิชาคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6

Main Article Content

ยุพิน พลเรือง

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบปรากฏการณ์เป็นฐาน บูรณาการอภิปัญญาและความรู้ในเนื้อหาผนวกวิธีสอนและเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 วิชาคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 2) ศึกษาผลการทดลองใช้รูปแบบการ จัดการเรียนรู้ กลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสารคามพิทยาคม จังหวัดมหาสารคาม ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 1 ห้องเรียน 29 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เรื่อง การวิเคราะห์ และนำาเสนอข้อมูลเชิงปริมาณ 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3) แบบทดสอบวัดทักษะการแก้ปัญหา 4) แบบทดสอบวัดทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ 5) แบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที
ผลการวิจัย พบว่า 1) รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบปรากฏการณ์เป็นฐานบูรณาการอภิปัญญา และความรู้ในเนื้อหาผนวกวิธีสอนและเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 วิชา คณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีองค์ประกอบของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ทั้งหมด 7 องค์ประกอบ ได้แก่ (1) หลักการของรูปแบบ (2) วัตถุประสงค์ของรูปแบบ (3) แนวคิดและทฤษฎีในการ พัฒนารูปแบบ (4) กระบวนการจัดการเรียนรู้ ประกอบด้วย 6 ขั้น คือ ขั้นที่ 1 นำเสนอปรากฏการณ์ทรงคุณค่า ขั้นที่ 2 ตระหนักถึงความรู้เดิม ขั้นที่ 3 เลือกและวางแผนการทำความเข้าใจเนื้อหาจาก ปรากฏการณ์ ขั้นที่ 4 สร้างองค์ความรู้จากปรากฏการณ์และกำกับควบคุม ขั้นที่ 5 ตรวจสอบและสรุป องค์ความรู้จากปรากฏการณ์ ขั้นที่ 6 ประเมินผล (5) การวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้ (6) บทบาท ของครูและบทบาทของนักเรียน (7) ระบบสนับสนุนรูปแบบ 2) ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ พบว่า (1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (2) ทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติที่ระดับ .05 (3) ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมี นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (4) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้ระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 4.22 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.75)

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
พลเรือง ย. (2022). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบปรากฏการณ์เป็นฐานบูรณาการอภิปัญญาและความรู้ในเนื้อหาผนวกวิธีสอนและเทคโนโลยี เพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 วิชาคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 16(2), 137–149. สืบค้น จาก https://so09.tci-thaijo.org/index.php/JOEMSU/article/view/255
บท
บทความวิจัย

References

ขวัญชัย ขัวนา และคณะ. (2561). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 37(2). 77-96

ชัชวาลย์ งานดี. (2562). การศึกษาผลการจัดการเรียนรู้ปรากฏการณ์ทางสังคมเป็นฐาน (Phenomenon Based Learning) ในเรื่อง ไฟป่าในออสเตรเลีย สาระการเรียนรู้ภูมิศาสตร์ เพื่อพัฒนาทักษะการคิดเชิงบูรณาการของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1. โรงเรียนนิคมวิทยา อำเภอนิคมพัฒนา จังหวัดระยอง.

พงศธร มหาวิจิตร. (2562). การประยุกต์ใช้แนวคิดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐานร่วมกับการเรียนแบบเชิงรุก ในรายวิชาการประถมศึกษา เพื่อเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 42(2). 75-92.

ยุพิน พลเรือง. (2563). รายงานการศึกษาสภาพปัญหาการจัดการเรียนการสอน วิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน ค33101 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนสารคามพิทยาคม.

วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2564). ผลการประเมิน PISA 2018 การอ่านคณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์. กรุงเทพฯ: สสวท.

สำนักงานเลขานุการคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ สำานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจแห่งชาติ. (2561). ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561-2580 (ฉบับย่อ). สืบค้นเมื่อวันที่ 3 มกราคม 2563 จาก http://plan.bru.ac.th

อรพรรณ บุตรกตัญญู. การเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐานเพื่อการสร้างมุมมองแบบองค์รวมและการเข้าถึงโลกแห่งความจริงของผู้เรียน. วารสารครุ-ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 46(2). 348-365.

Alfieri, L., Brooks, P.J., Aldrich, N.J., & Tenenbaum, H.R. (2011). Does discovery-based instruction enhance learning?. Journal of educational psychology, 103(1), 1.

Eggen, P., & Kauchak, D. (1999). Education psychology: Windows on classrooms (3rd ed.). New York: Prentice-Hall.

Flavell, J.H. (1979). Metacognitive and Cognitive Monitoring: A new area of psychologicalinquiry. New York: D. Van Nostrand Company, Inc.

Funkhouser, B.J., & Mouza, C. (2013). Drawing on technology: An investigation of preservice teacher beliefs in the context of an introductory educational technology course. Computers & Education, 62, 271-285.

Silander. (2015b). Phenomenon Based Learning. สืบค้นเมื่อ 23 มิถุนายน 2563 จาก http://www.phenomenaleducation.info/phenomenon-based-learning.html

Shulman, L.S. (1986). Those who understand: Knowledge growth. teaching Education researcher, 15(2), 4-14.