การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนแบบวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ โดยใช้ รูปแบบการเรียนการสอนวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน 2) เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนวัฏจักรการสืบ เสาะหาความรู้ 7 ขั้น ให้ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 75 กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นประถมปีที่ 5 โรงเรียนชุมชนบ้านทรายขาว อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย จำนวน 26 คน ซึ่งได้มาด้วยวิธีสุ่มตัวอย่างแบบ แบ่งกลุ่ม ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 รูปแบบการวิจัยเป็นแบบ One-Group Pretest-Posttest Design เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องการเปลี่ยนแปลง ของสารในชีวิตประจำาวัน จำนวน 5 แผน ซึ่งใช้เวลาในการสอน จำนวน 15 ชั่วโมง 2) แบบทดสอบวัดผล สัมฤทธิ์ทางการเรียนจำนวน 30 ข้อ และ 3) แบบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ จำนวน 30 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่า t-test
ผลการวิจัยพบว่า
1. นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนเฉลี่ยสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05
2. นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 75 อย่างมี นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กมลวรรณ ทับโต. (2561). การจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรสืบเสาะหาความรู้ 7E เพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ในวิชาวิทยาศาสตร์สำาหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์ ศษ.ม ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
นัยนา สงึมรัมย์. (2556-2557). ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และจิตวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จากการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้เสริมด้วยการแสดงกลวิทยาศาสตร์. วารสารสารสีมา, 2(1-2), 16-20.
พรพิมล คำาแสน. (2556). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะกระบวนการทาง วิทยาศาสตร์โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้นเรื่องแรงและการเคลื่อนที่ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. (การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์). มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. (2538). เทคนิคการวิจัยทางการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
วิลาวัณย์ อุทามนตรี. (2553). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์แบบสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น เรื่องไฟฟ้าน่ารู้ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. การศึกษาค้นคว้าอิสระ กศ.ม. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ศิริรัช จำปาเพ็ง. (2554). การสอนตามแบบวัฎจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น (7E). ค้นเมื่อ 25 ธันวาคม 2564, จาก http://siriratpick.blogspot.com/2011/06/7-7e.html.
สุกัญญา นนทมาตย์. (2557). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เรื่องสิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น. (การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์).มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
สุกัญญา คำวัน. (2558). วิทยาศาสตร์กับชีวิตประจำาวัน. ค้นเมื่อ 23 ธันวาคม 2564, จาก https://sites.google.com/site/withyasastrkabchiwitpracawan/withyasastr-kab-chiwit-praca-wan.
สุนิสา ช้างพาลี. (2560). การสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น โดยใช้ชุดปฏิบัติการเคมีแบบย่อส่วนเพื่อเสริมสร้างผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ วท.ม. นครสวรรค์: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์,
สุพัตรา มณีวรรณ. (2556). การพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องไฟฟ้า ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น. การศึกษาค้นคว้าอิสระ กศ.ม., มหาวิทยาลัยมหาสารคาม: มหาสารคาม.
สำานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
สมบัติ ท้ายเรือคำ. (2552). ระเบียบวิธีวิจัยสำาหรับมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 3. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
Ebrahim, Ali. (2004). The effects of traditional learning and a learning cycle inquiry learning strategy on students’ science achievement and attitudes toward Elementary
Science. Dissertation Abstracts International, 64(04), 1232-A.
Eisenkraft, Arthur. (2003). Expanding the 5-E model A proposed 7-E model emphasizes transfer of learning and the importance of eliciting prior understanding. The Science Theacher, 70(6), 56–59.
Muzaffar, Khan and Muhammad Zafar Iqbal. (2011). Effect of inquiry lab teaching method on the development of scientific skills through the teaching of Biology in Pakistan. Language in India Strength for Today and Bright Hope for Tomorrow, 11(1), 169-178. Retrieved from ww.languageinindia.com/.../inquirymethodpakistan.pdf.