การพัฒนาสมรรถนะการทำวิจัยเพื่อการเรียนรู้ด้วยกระบวนการโค้ชและการวิจัยเป็นฐานของนักศึกษาครู มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

Main Article Content

จงกล บัวแก้ว

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการจำาเป็นสมรรถนะการทำวิจัยเพื่อพัฒนาการ เรียนรู้ของนักศึกษาครู และเพื่อพัฒนาสมรรถนะการทำวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ด้วยกระบวนการโค้ช และการวิจัยเป็นฐานของนักศึกษาครู โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นนักศึกษาครู จำนวน 131 คน เครื่องมือ ที่ใช้การวิจัยคือ แบบสอบถามความต้องการสมรรถนะการทำวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ แบบสอบความ รู้ความเข้าใจในการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน และแบบประเมินคุณภาพ งานวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบน มาตรฐาน ค่า PNImodified และสถิติ t-test
ผลการวิจัยพบว่า 1) นักศึกษาครูมีความต้องการจำาเป็นลำดับแรก คือ ด้านความรู้ความเข้าใจ ในการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน รองลงมาคือ ด้านทักษะการวิจัยปฏิบัติ การในชั้นเรียนเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน และด้านเจตคติที่ดีต่อการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน ตามลำาดับ และ2) ผลการพัฒนาสมรรถนะการทำวิจัยเพื่อพัฒนาการ เรียนรู้ของผู้เรียนด้านความรู้ความเข้าใจการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน ของนักศึกษาหลังการใช้กระบวนการโค้ชและการวิจัยเป็นฐานสูงกว่าก่อนการใช้อย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติที่ระดับ .05 และทักษะการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนหลังการใช้ กระบวนการโค้ชและการวิจัยเป็นฐานสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 75 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
บัวแก้ว จ. (2022). การพัฒนาสมรรถนะการทำวิจัยเพื่อการเรียนรู้ด้วยกระบวนการโค้ชและการวิจัยเป็นฐานของนักศึกษาครู มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 16(2), 67–76. สืบค้น จาก https://so09.tci-thaijo.org/index.php/JOEMSU/article/view/249
บท
บทความวิจัย

References

ข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพ 2556. (2556, 4 ตุลามคม). ราชกิจานุเบกษา. เล่ม 130.

จุฑา ธรรมชาติ. (2555). การวิจัยและพัฒนาการรเรียนรู้แบบใช้วิจัยเป็นฐานในรายวิชาการวิจัยทางการศึกษา. สงขลานครินทร์ ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 18(1): 183-214.

ณัฐรดา เจริญสุข, สุรินทร์ ชุมแก้ว และเกษราภรณ์ สุตตาพงค์. (2558). กลยุทธ์การสอนงาน (coaching) ที่สร้างสมรรถนะที่เป็นเลิศในการปฏิบัติงาน. WMS Journal of Management Walailak University, 4(2): 60-66.

ดวงหทัย โฮมไชยะวงศ์. (2557). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นการโค้ชและการดูแลให้คำปรึกษาแนะนำเพื่อส่งเสริมสมรรถนะครูประถมศึกษาของนักศึกษาวิชาชีพครู. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

พวงผกา ปวีณบำเพ็ญ. (2560). การจัดการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐาน. ศึกษาศาสตร์สารมหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 1(2): 62-71.

พิมพ์ปวีณ์ สุวรรณโณ และศุภลักษณ์ สินธนา. (2561). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการวิจัยของนักศึกษาชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาที่เรียนด้วยการจัดการเรียนการสอนโดยใช้วิจัยเป็นฐาน. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา, 13(1): 161-170.

ภณิดา ชูช่วยสุวรรณ. (2562). แนวทางการพัฒนาสมรรถนะการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูผู้สอนระดับประถมศึกษา: การประเมินความต้องการจำเป็นสมบูรณ์. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วรรณี แกมเกตุ. (2555). วิธีวิทยาการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วัชรา เล่าเรียนดี. (2556). ศาสตร์การนิเทศการสอนและการโค้ช การพัฒนาวิชาชีพ: ทฤษฎี กลยุทธ์สู่การปฏิบัติ (พิมพ์ครั้งที่ 12). นครปฐม: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วิมลรัตน์ สุนทรโรจน์. (2559). การพัฒนาความสามารถด้านการทำวิจัยในชั้นเรียนของนิสิตสาขาวิชาภาษาไทยชั้นปีที่ 3 โดยชั้นกระบวนการ Coaching และ Mentoring. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 10(4): 165-176.

วิโรชน์ หมื่นเทพ. (2561). การพัฒนาสมรรถนะการวิจัยของครูโรงเรียนเอกชนเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนโดยกระบวนการวิจัยก่อรูป. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต คณะศึก ษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

ศึกษา เรืองดำ. (2561). ผลการจัดการเรียนรู้โดยการบูรณาการแนวคิดจิตตปัญญาศึกษา การโค้ชและระบบพี่เลี้ยง และการวิจัยเป็นฐานที่มีต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการสอนและการพัฒนาสมรรถนะการสอนของนักศึกษาครูสาขาวิชาภาษาไทย. วารสารนาคบุตรปริทรรศน์, 10(s): 15-25.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2562). แนวทางการพัฒนาสมรรถนะผู้เรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพมหานคร: บริษัท 21 เซ็นจูรี่ จำากัด.

สุวิมล ว่องวาณิช. (2558). การวิจัยประเมินความต้องการจำาเป็น (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร:โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุวิมล ว่องวาณิช. (2560). การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน (พิมพ์ครั้งที่ 19). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

โสภณ เพ็ชรพวง. (2561). ทำาการศึกษารูปแบบการพัฒนาสมรรถนะการวิจัยทางการบริหารการศึกษา ของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี. วารสารราชภัฏสุราษฎร์ธานี, 5(2): 169-195.