การบริหารสถานศึกษาภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส โคโรนา 2019 (COVID-19) โรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น

Main Article Content

ธีรนันท์ วันโยศิริทรัพย์
วิษณุ สุมิตสวรรค์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการบริหารสถานศึกษาภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) โรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น 2) วิเคราะห์ผลกระทบการบริหารสถานศึกษาภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) โรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น และ 3) เสนอแนวทางการพัฒนาการบริหารสถานศึกษาภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) โรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น โดยกลุ่มผู้ให้ข้อมูลเป็น ผู้บริหารสถานศึกษาทั้ง 5 แห่ง ได้มาโดยเลือกแบบเจาะจง ผู้วิจัยใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก โดยไม่มีการกำหนดกฎเกณฑ์เกี่ยวกับคำถามและลำดับขั้นตอน เป็นการพูดคุยสนทนาปลายเปิด โดยมีประเด็นการสัมภาษณ์หลัก 3 ด้าน คือ 1.ด้านการบริหารงาน 2.ด้านการบริหารงบประมาณ 3.ด้านการบริหารงานบุคลากร รวมทั้งหมด 11 ข้อ  
ผลวิจัยพบว่า 1) การบริหารงานทั่วไปและงานอื่น ๆ ยังไม่สามารถดำเนินตามแผนการจัดการเรียนการสอนได้ตามปกติเนื่องจากมีการสั่งปิดโรงเรียนตามประกาศจังหวัดเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสตามมาตราการป้องกันการแพร่ระบาด 2) ผลกระทบจากการบริหารสถานศึกษาภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดพบว่าการจัดการศึกษาการบริหารงานของโรงเรียนในด้านงบประมาณและด้านบุคคล ด้านการจัดการศึกษา การนิเทศติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษา 3) แนวทางการจัดการศึกษาต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบจากการเรียนในห้องเรียนมาเป็นรูปแบบการเรียนการสอนแบบออนไลน์ เพื่อไม่ให้การศึกษาของเด็กต้องหยุด องค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่นต้องจัดสรรงบประมาณในการจัดหาอุปกรณ์ที่อำนวยความสะดวกทั้งต่อเด็ก และครูผู้สอน ได้ดำเนินการสอนเพื่อให้เกิดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. (2565ก). แนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และส่งเสริมพัฒนาการของเด็กปฐมวัย ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019 (COVID – 19) ของสถานศึกษาระดับปฐมวัยสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. สืบค้นเมื่อ 25 มีนาคม 2565

______. (2565ข). ระบบข้อมูลสารสนเทศทางการศึกษาท้องถิ่น (Local Education Center Information System : LEC.). สืบค้นเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2565, จาก https://lec.dla.go.th

กระทรวงศึกษาธิการ. (2563). การเตรียมความพร้อมของกระทรวงศึกษาธิการก่อนเปิดภาคเรียน 1กรกฎาคม 2563. ค้นเมื่อ 6 มิถุนายน 2565, จาก https://moe360.blog/2020/05/08/การเตรียมความพร้อมของกระทรวงศึกษาธิการก่อนเปิดภาคเรียน 1 กรกฎาคม 2563.

จิรากานต์ อ่อนซาผิว และ สุชาดา นันนทะไชย. (2564). ปัญหาและความต้องการของการจัดการเรียนรู้ในช่วงสถานการณ์โควิด 19 โรงเรียน วัดด่านสำโรง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา สมุทรปราการเขต 1. Journal of Modern Learning Development, 6(4), 49-66.

ชลิดา ศรมณี. (2562). โครงการรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. เอกสารประกอบการบรรยายกระบวนวิชา ขอบข่ายและแนวคิดเชิงทฤษฎีรัฐประศาสนศาสตร์. กรุงเทพฯ, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ดลพร รุจิรวงศ์. (2563). COVID-19: พลิกมุมคิด วิกฤต หรือโอกาส. ค้นเมื่อ 18 มีนาคม 2565, จาก https://www.creativethailand.org/article/thinktank/32388/th#Covid-19-cover-story

สยมพร ศิรินาวิน. (2563). “โควิด-19” ความรู้ สู่ปัญญา พัฒนาการปฏิบัติ. กรุงเทพมหานคร: บริษัท โอ.เอส.พริ้นดิ้ง เฮ้าส์ จำกัด.

ปิยะวรรณ ปานโต. (2563). การจัดการเรียนการสอนของไทยภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID–19). สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร สถานีวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์รัฐสภาสำหรับประชาชน. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด

รัตนา กาญจนพันธุ์. (2563). การบริหารสถานศึกษาในสถานการณ์วิกฤตไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19). วารสารดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์, ปีที่ 10 ฉบับที่ 3 (กันยายน-ธันวาคม 2563), 545-556.

วิธิดา พรหมวงศ์, ทัศนา ประสานตรี และสุมาลี ศรีพุทธรินทร์. (2564). สภาพปัจจุบัน ปัญหา และแนวทางแก้ปัญหาการจัดการเรียนรู้ ในช่วงการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ของโรงเรียน ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 1. วารสารรัชต์ภาคย์, ปีที่ 15 ฉบับที่ 40 (พฤษภาคม-มิถุนายน 2564 – TCI กลุ่มที่ 2 มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ปี 2563-2566), 200-213 .

วิภาดา สารัมย์. (2562). การบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

สำนักการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม. (2563). แผนพัฒนาการศึกษา (พ.ศ.2561-2565). ขอนแก่น: องค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น.

สุวิมล มธุสร. (2564). การจัดการศึกษาในระบบออนไลน์ในยุค NEW NORMAL COVID-19. วารสารรัชต์ภาคย์, ปีที่ 15 ฉบับที่ 40 พฤษภาคม – มิถุนายน 2564 – TCI กลุ่มที่ 2 มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ปี 2563-2567, (33-42)

Zumitzavan, V. & Udchachone, S. (2014). The impact of different styles of leadership and levels of organisational innovation on organisational performance: A case of hospitality industry in Thailand. WSEAS Transactions on Business and Economics, 11(1), 272-282.

Zumitzavan, V. (2011). The impact of managers’ learning styles and leadership styles and the effectiveness of their organisations: a case study from small retail tyre companies in Thailand. Doctoral dissertation, Birmingham Business School, University of Birmingham.

Zumitzavan, V., & Kantavong, P. (2018). Increasing Organizational Success Through Management Styles of Manaders in Housing Development Industry. Panyapiwat Journal, 10, 110-123.