ผลของโปรแกรมสุขศึกษาโดยประยุกต์ตามแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพร่วมกับทฤษฎีการรับรู้สมรรถนะแห่งตนที่มีต่อการรับรู้การป้องกันการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของวัยรุ่น
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมสุขศึกษาโดยประยุกต์ตามแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพร่วมกับทฤษฎีการรับรู้สมรรถนะแห่งตนที่มีต่อการรับรู้การป้องกันการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของวัยรุ่น ตัวอย่างเป็นนักศึกษาระดับอุดมศึกษา ชั้นปีที่ 1 จำนวน 50 คน จากมหาวิทยาลัยที่ผู้วิจัยสอนแล้วทำการคัดเลือกแบบอาสาสมัคร แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 25 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) โปรแกรมสุขศึกษาโดยประยุกต์ตามแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพร่วมกับทฤษฎีการรับรู้สมรรถนะแห่งตน ประกอบด้วย 8 กิจกรรม ระยะเวลาจัดดำเนินการโปรแกรม 4 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 2 ครั้ง ครั้งละ 1 ชั่วโมง มีค่าความตรง เท่ากับ 0.96 2) แบบวัดการรับรู้การป้องกันการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของวัยรุ่นที่พัฒนาขึ้น เป็นแบบวัดมาตรประมาณค่า มีข้อคำถาม 40 ข้อ มีค่าความตรง เท่ากับ 0.97 ค่าอำนาจจำแนก 0.22 – 0.68 ค่าความเชื่อมั่น 0.95 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติทดสอบค่าที
ผลการวิจัยพบว่า 1) หลังการทดลอง คะแนนการรับรู้การป้องกันการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของกลุ่มทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนคะแนนการรับรู้การป้องกันการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของกลุ่มควบคุมต่ำกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 2) ค่าเฉลี่ยคะแนนการรับรู้การป้องกันการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของกลุ่มทดลองหลังการทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กัลยา โสนทอง และคณะ. (2561). ผลของโปรแกรมการลดพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในวัยผู้ใหญ่. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี, 29(1), 78-91.
จุฬารัตน์ รวมจิต. (2565). ผลการใช้โปรแกรมการสอนทางกายภาพบำบัดตามรูปแบบความเชื่อด้านสุขภาพร่วมกับทฤษฎีความสามารถตนเองต่อระดับความเจ็บปวดและความสามารถทางกายของผู้ป่วยปวดหลังส่วนล่างเรื้อรังในคลินิกฝังเข็ม. วิทยานิพนธ์หลักสูตรสุขศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิถต์.
ทิตาวดี สิงห์โค. (2563). ผลของโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้ความเชื่อด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองและการรับรู้ประโยชน์ของการคงไว้ซึ่งพฤติกรรมในผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยง. วิทยานิพนธ์หลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยคริสเตียน.
นุสรา ศรีกิจวิไลศักดิ์ และ สิริมา มงคลสัมฤทธิ์. (2559). ประสิทธิผลของโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่ม แอลกอฮอล์ในกลุ่มที่มีรูปแบบการดื่มแบบเสี่ยงต่ำหรือเสี่ยงสูง. วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา, 11(1), 40-51.
ประไพรัตน์ คาวินวิทย. (2554). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับปริมาณการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของนิสิตปริญญาตรีมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. วิทยานิพนธ์ปริญญาเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์การจัดการ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ปัณณวิชญ์ ปิยะอร่ามวงศ์ รุ่งระวี สมะวรรธนะ และ เอมอัชฌา วัฒนบุรานนท์. (2560). การจัดโปรแกรมการป้องกันการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ในนักเรียนหญิงมัธยมศึกษาตอนต้น กรุงเทพมหานคร. วารสารการแพทย์และวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 24(1), 54-66.
พิชชานันท์ สงวนสุข. (2564). ประสิทธิผลของโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะแห่งตนต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในผู้สูงอายุโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง อำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร. วิทยานิพนธ์หลักสูตรสุขศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยนเรศวร.
ศรัณยา บุนนาค และ อำนวย อินทสโร. (2552). รายงานการวิจัยเรื่องปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นนักดื่มสุราของนักศึกษาชายของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา http://kb.psu.ac.th/psukb/bitstream/2010/7323/6/323889.pdf
ศรีเรือน แก้วกังวาล. (2549). จิตวิทยาพัฒนาการชีวิตทุกช่วงวัย: วัยรุ่น-วัยสูงอายุ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ศูนย์วิจัยปัญหาสุรา. (2550). ประชุมวิชาการสุราระดับชาติ ครั้งที่ 3 สุราไม่ใช่สินค้าธรรมดา. กรุงเทพฯ: ศูนย์วิจัยปัญหาสุรา.
ศูนย์วิจัยปัญหาสุรา. (2556). สถานการณ์การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และผลกระทบในประเทศไทย ปี 2556. นนทบุรี: เดอะกราฟฟิกซิกเต็มส์.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2561). จำนวนนักเรียน นิสิต นักศึกษา. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา http://statbbi.nso.go.th/staticreport/page/sector/th/03.aspx
สุชา จันทร์เอม. (2540). วัยรุ่น. กรุงเทพฯ: อักษรบัณฑิต.
สุปราณี น้อยตั้ง, ปัญญรัตน์ ลาภวงศ์วัฒนา และ ณัฐกมล ชาญสาธิตพร. (2561). ผลของโปรแกรมแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมการป้องกันมะเร็งเต้านมของนักเรียนหญิงมัธยมปลายในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารพยาบาลสภากาชาดไทย, 11(2), 78-99.
อรพินทร์ ชูชม. (2552). การวิจัยกึ่งทดลอง. วารสารพฤติกรรมศาสตร์, 15(1), 1-15.
อโนทัย ฟุ้งขจร และ ยุวดี รอดจากภัย. (2559). ผลของโปรแกรมสร้างเสริมสมรรถนะแห่งตนต่อการรับรู้ความสามารถตนเอง ความคาดหวังในผลลัพธ์ และพฤติกรรมหลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย อำเภอบ่อทอง จังหวัดชลบุรี. วารสารพยาบาลสาธารณสุข, 30(3), 41-55
เอื้อมเดือน ชาญชัยศรี. (2558). ผลของโปรแกรมการส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนต่อพฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวาน. วารสารราชนครินทร์. มกราคม-มิถุนายน, 161-176.
Bandura, A. (1986). Fearful expectations and avoidant actions as coeffects ofperceived self inefficacy. American Psychologist, 41, 1389-1391.
Becker, M. H., & Maiman, L. A. (1975). Sociobehavioral determinants of compliance with health and medical care recommendations. Med Care, 13(1):10-24.
Çiftci, N., & Kadıoğlu, H. (2022). The effect of the health belief model-based educational program on physical activity beliefs and behaviors of university students. Journal of Public Health. [online]. https://doi.org/10.1007/s10389-022-01776-2.
Clark, C. K. (Ed.) (2005). Percentile (Vol. 3). West Sussex: John Wiley. Engels, R. C., et al. (2005). "Drinking motives, Alcohol expectancies, self-efficacy,and drinking patterns". Journal of drug education, 35(2), 147-166.
Kim, H., Shin, S., & Lee, E. (2022). Effects of Health Belief, Knowledge, and Attitude toward COVID-19 on Prevention Behavior in Health College Students. Int. J. Environ. Res. Public Health. 19(3), 1-11.
Medinnus, G.R. (1969). Child & adolescent psychology: behavior and development. New York: John Wiley & Sons,
Nolen-Hoeksema, S. (2004). Gender differences in risk factors and consequences for alcohol use and problems. Clinical psychology review, 24(8), 981-1010.
Rovinelli, R. J., & Hambleton, R. K. (1977). On the use of content specialists in the assessment of criterion-referenced test item validity. Dutch Journal of Educational Research, 2, 49-60.