การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดการออกแบบเชิงวิศวกรรม ร่วมกับแบบจำลองเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความฉลาดรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เรื่อง โลกและธรณีพิบัติภัย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดการออกแบบ เชิงวิศวกรรมร่วมกับแบบจำลองเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความฉลาดรู้ด้านวิทยาศาสตร์ 2) เปรียบเทียบความฉลาดรู้ด้านวิทยาศาสตร์ทั้ง 3 ครั้ง 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวิจิตราพิทยา ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 37 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดการออกแบบเชิงวิศวกรรมร่วมกับแบบจำลองเป็นฐาน เรื่อง โลกและธรณีพิบัติภัย จำนวน
3 หน่วย ค่า IOC อยู่ระหว่าง 0.83 - 1.00, แบบวัดความฉลาดรู้ด้านวิทยาศาสตร์ แบบอัตนัย จำนวน 15 ข้อ IOC อยู่ระหว่าง 0.73 - 1.00 และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบปรนัย จำนวน 30 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกเท่ากับ 0.22 - 0.87 ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.96 มีค่า IOC อยู่ระหว่าง 0.93 - 1.00 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวแบบวัดซ้ำ
ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดการออกแบบเชิงวิศวกรรมร่วมกับแบบจำลองเป็นฐานมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.64, S.D.=0.18) 2) ความฉลาดรู้ด้านวิทยาศาสตร์ครั้งที่ 1 ครั้งที่ 2 และครั้งที่ 3 แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ผลสัมฤทธิ์การเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หลังได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดการออกแบบเชิงวิศวกรรมร่วมกับแบบจำลองเป็นฐาน เรื่อง โลกและธรณีพิบัติภัย พบว่าคะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
จารุนันท์ พาภักดี. (2563). การพัฒนาสมรรถนะการแปลความหมายข้อมูลและประจักษ์พยานในเชิงวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะที่ขับเคลื่อนด้วยกลวิธีการโต้แย้ง. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิตมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสารคาม.
ชาตรี ฝ่ายคำตา. (2563). กลยุทธ์การจัดการเรียนรู้เคมี. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นลพรรณ ไชยชนะ. (2564). ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้บริบทเป็นฐานร่วมกับเทคนิคการใช้คำถามที่ส่งผลต่อความสามารถในการอธิบายปรากฏการณ์ในเชิงวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. Journal of Graduate Research, 12(2), 31-44.
พิมพลอย ตามตระกูล. (2564). การพัฒนาความฉลาดรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เรื่อง กรด -เบส ด้วยการจัดการเรียนรู้ แบบใช้บริบทเป็นฐานร่วมกับการใช้เทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. การค้นคว้าอิสระ การศึกษามหาบัณฑิตมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยนเรศวร.
ณภัทร วอนศิริ. (2565). การพัฒนาสมรรถนะการแก้ปัญหาที่ซับซ้อนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ผ่านการจัดการเรียนรู้การออกแบบเชิงวิศวกรรมโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน. Journal of Education Naresuan University, 24(3), 147-157.
ณภัทร สุขนฤเศรษฐกุล. (2564). การพัฒนาการด้านสมรรถนะในการนำเสนอตัวแทนความคิดของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในหัวข้อเซลล์เคมีไฟฟ้า ผ่านการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐาน. Journal of Education Khon Kaen University, 44(4), 84-89.
ณัฐพล กวดไทย. (2563). การพัฒนาความสามารถในการสร้างแบบจำลองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 รายวิชาชีววิทยา ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐาน. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสารคาม.
ภพ เลาหไพบูลย์. (2552). แนวการสอนวิทยาศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.
ลฎาภา ลดาชาติ. (2561). แบบจำลองกับการศึกษาวิทยาศาสตร์. Silpakorn University Journal, 38(4), 133-159.
ลือชา ลดาชาติ. (2561). การเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ที่เป็นวิทยาศาสตร์ ประวัติศาสตร์ ปรัชญา และการศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ลือชา ลดาชาติ และลฎาภา ลดาชาติ. (2561). จากการรู้วิทยาศาสตร์และการสืบเสาะสู่สะเต็มศึกษาและการออกแบบ. Journal of Education Naresuan University, 20(1), 246-260.
ศรายุทธ รูปโฉม. (2564). การวิจัยปฏิบัติการเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ เรื่อง กรด-เบส โดยใช้การจัดการเรียนรู้ผ่านกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม ตามแนวทางสะเต็มศึกษาที่ส่งเสริมทักษะการสร้างสรรค์และนวัตกรรมของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. Journal of Education Naresuan University, 23(1), 308-320.
ศศิมน ศรีกุลวงค์. (2564). การใช้แบบจำลองและการสร้างคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. CMU Journal of Education, 5(1), 12-27.
ศิรินนาถ ทับทิมใส. (2563). ผลการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง พลังงานความร้อน ด้วยกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรมที่มีต่อความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560). กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2560). คู่มือการใช้หลักสูตรรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2564). ผลการประเมิน PISA 2018 การอ่านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
สุคนธ์ สินธพานนท์. (2553). นวัตกรรมการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาคุณภาพของเยาวชน (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2). พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: 9119 เทคนิคพริ้นติ้ง.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์พริกหวานกราฟฟิค.
อพันตรี พูลพุทธา. (2565). การวิจัยทางการศึกษา. ตักสิลาการพิมพ์.
อภิสิทธิ์ ธงไชย. (2559). ความสำคัญของวิศวกรรมในการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ในศตวรรษที่ 21. Journal of Kasetsart Educational Review, 31(3), 48-53.
โรงเรียนวิจิตราพิทยา. (2564). รายงานผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐานระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวิจิตราพิทยา ปีการศึกษา 2562-2564. อุบลราชธานี: โรงเรียน วิจิตราพิทยา.
Gobert, J. D. and B. C. Buckley. (2000). Introduction to model-based teaching and learning in science education. International Journal of Science Education, 22(9), 891-894.
Gilbert et al. Positioning Models in Science Education and in Design and Technology Education. In Developing Models in Science Education. Natherland: Kruwer academic publishers.
Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology. (2015). Basic Knowledge about STEM Education. (online) 2015 (cited 20 August 2022). from http://www.stemedthailand.org/wp-content/uploads/2015/03/newIntro-to-STEM.pdf.
Johnson, C. C., Walton, J. B., and Peters–Burton, E. (2018). STEM Road Map for High School. Virginia: National Science Teacher Association.
Kelly, T. R., & Knowles, J. G. (2016). A Conceptual Framework for Integrated STEM Education. International Journal of STEM Education, 3(11), 1-11.
OECD. (2022). PISA 2018 Assessment and Analytical Framework. Paris: OECD Publishing, (online) 2019 (cited 20 August 2022). from https://doi.org/10.1787/ b25efab8-en.
Partnership for 21st Century Learning. (2019). FRAMEWORK FOR 21st CENTURY LEARNING DEFINITIONS. Battelle for kids.
Rea-Ramirez, M. A., Clement, J. and Nunez-Oviedo, M. C. (2008). An instructional model derived from model construction and criticism theory, In J. J. Clement & M. A. Rea-Ramirez (Eds.). Model Based Learning and Instruction in Science, Netherlands: Springer.
Wendell, K. B. and Rogers, C. (2013). Engineering Design-Based Science, Science Content Performance, and Science Attitudes in Elementary School. Journal of Engineering Education, 102(4), 513-540.