การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาตนเองของเด็กและเยาวชนของศาลเยาวชนและครอบครัวในสังกัดสำนักศาลยุติธรรม ประจำภาค 4
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาตนเอง 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อการพัฒนาตนเอง และ 3) ศึกษาตัวแปรพยากรณ์ ของการพัฒนาตนเอง ตัวอย่างที่ใช้ คือ เด็กและเยาวชนผู้กระทำความผิดของศาลเยาวชนและครอบครัวในสังกัดสำนักศาลยุติธรรมประจำภาค 4 ที่ได้รับมาตรการพิเศษแทนการพิพากษาคดี ตามมาตรา 132 วรรค 1 จำนวน 420 คน โดยการสุ่มแบบชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ คือ 1) แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป 2) แบบวัดการพัฒนาตนเอง จำนวน 16 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.33 - 0.62 และมีค่าความเชื่อมั่น = 0.86 3) แบบวัดการรับรู้ความสามารถของตนเอง จำนวน 8 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.32 - 0.57 และมีค่าความเชื่อมั่น = 0.75 4) แบบวัดแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ จำนวน 10 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.44 - 0.57 และมีค่าความเชื่อมั่น = 0.81 5) แบบวัดความเชื่อมั่นในตนเอง จำนวน 10 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.33 - 0.68 และมีค่าความเชื่อมั่น = 0.78 6) แบบวัดการควบคุมตนเอง จำนวน 8 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.37 - 0.64 และมีค่าความเชื่อมั่น = 0.81 และ 7) แบบวัดการมองโลกในแง่ดี จำนวน 9 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.36 - 0.72 และมีค่าความเชื่อมั่น = 0.82 สถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์สหสัมพันธ์ Pearson และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ
ผลการวิจัย พบว่า 1) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาตนเองอยู่ในระดับมากทั้งหมด 2) ปัจจัยต่าง ๆ ส่งผลต่อการพัฒนาตนเอง โดยมีความสัมพันธ์ทางบวกกับการพัฒนาตนเองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 3) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาตนเองเรียงตามลำดับ ได้แก่ แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ การควบคุมตนเอง ความเชื่อมั่นในตนเอง และการมองโลกในแง่ดี มีขนาดอิทธิพลในรูปคะแนนมาตรฐาน เท่ากับ 0.28 0.21 0.19 และ 0.18 โดยปัจจัยดังกล่าวสามารถร่วมกันพยากรณ์การพัฒนาตนเองได้ร้อยละ 54 และมีสมการพยากรณ์ ดังนี้ = .28(ZX2) +.19(ZX3)+.21(ZX4) +.18(ZX5)
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
จำนงค์ แจ่มจันทรวงศ์ และคณะ. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อสมรรถนะครูผู้สอนของนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาวิชาชีพครู วิทยาลัยเชียงราย. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร, 10(1). 269-280. https://he02.tci-thaijo.org/index.php/Veridian-E-Journal/article/view/85541/68048.
ธนัญญา คนอยู่. (2547). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่นในตนเองของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 3. วารสารการวัดผลการศึกษา. 38(103). 158-170. https://so06.tci-thaijo.org/index.php/JEMEPTB/article/view/249825/169076.
นิตยา กัณณิกาภรณ์. (2553). การศึกษาปัจจัยบางประการที่ส่งผลต่อการพัฒนาตนเองตามจรรยาบรรณวิชาชีพครูของข้าราชการครู สังกัดกรุงเทพมหานคร.
[ปริญญานิพนธ์ กศ.ม., มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ]. http://thesis.swu.ac.th/swuthesis/Ed_Re_Sta/Nittaya_K.pdf.
เนาวรัตน์ ไตรยงค์. (2552). ปัจจัยทางจิตสังคมที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการพัฒนาตนเองให้รอบรู้ของนักเรียนช่วงชั้นที่ 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาศรีสะเกษ เขต 3. [ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิยาลัยบูรพา.
เบญจพร ปัญญายง. (2555). กระบวนการนิติจิตเวชสำหรับเด็กและเยาวชน (พิมพ์ครั้งที่ 1). นนทบุรี: กรมสุขภาพจิต.
ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2535). จิตวิทยาการบริหารงานบุคคล. กรุงเทพฯ: ศูนย์ส่งเสริมกรุงเทพ.
พัชรินทร์ ซำศิริพงษ์. (2561). การกระทำผิดซํ้าของเด็กและเยาวชนในคดียาเสพติด. วารสารวิจัยราชภัฏกรุงเก่า. 5(3), 23-30. https://so01.tci-thaijo.org/index.php/rdi-aru/article/view/212899/148208.
เมธาวดี สังขะมาน. (2548). ตัวแปรคัดสรรที่สัมพันธ์กับความสามารถในการเผชิญปัญหาและฝ่าฟันอุปสรรคของนักเรียนช่วงชั้นที่ 4 จังหวัดหนองคาย ปีการศึกษา 2547. วารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 22(1). 287-297. https://journal.oas.psu.ac.th/index.php/asj/article/viewFile/804/830.
เรียม ศรีทอง. (2542). พฤติกรรมมนุษย์กับพัฒนาการ: ศาสตร์แห่งการพัฒนาชีวิตและสังคม. กรุงเทพฯ: บริษัท เธิร์ดเวฟเอ็ดดูเคชั่น จำกัด.
วาสนา จันทร์จ่าย. (2553). การศึกษาปัจจัยบางประการที่ส่งผลต่อการพัฒนาตนเองของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต. [ปริญญานิพนธ์ กศ.ม., มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ]. https://so03.tcithaijo.org/index.php/jopag/article/view/248842/167521.
ศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง. (2559). คู่มือมาตรฐานงานนักจิตวิทยาศาลเยาวชนและครอบครัว. กรุงเทพฯ: สำนักงานศาลยุติธรรม.
สงวน สุทธิเลิศอรุณ. (2545). พฤติกรรมมนุษยกับการพัฒนาตน. กรุงเทพฯ : อักษราพิพัฒน์.
สุพล มูลศรี. (2556). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาตนเองของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 6 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 19. [ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. การวิจัยการศึกษา, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม]. https://www.slideshare.net/peerawit2/titlepage-37049953.
สุรินทร์ บู่สาลี. (2545). การพัฒนาตนเองตามเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพครูของข้าราขการครูโรงเรียนวัดพรหมสุวรรณสามัคคี. [วิทยานิพนธ์ กศ.ม ไม่ได้ตีพิมพ์]. สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.
สำนักงานศาลยุติธรรม. (2563). รายงานสถิติคดีของศาลยุติธรรมประจำปี 2563. สำนักแผนงานและงบประมาณ สำนักงานศาลยุติธรรม. สืบค้นออนไลน์ https://oppb.coj.go.th/th/content/category/detail/id/8/cid/2085/iid/196196.
_______. (2562). รายงานสถิติคดีของศาลยุติธรรมประจำปี 2562. สำนักแผนงานและงบประมาณ สำนักงานศาลยุติธรรม. สืบค้นออนไลน์ https://oppb.coj.go.th/th/content/category/detail/id/8/cid/2085/iid/196196.
อรพลอย เกษมสันต์ ณ อยุธยา. (2546). การศึกษาเปรียบเทียบการควบคุมตนเอง และมโนภาพแห่งตนของนักศึกษาวัยรุ่นที่อาศัยอยู่ในหอพักกับนักศึกษาวัยรุ่นที่อาศัยอยู่ตามบ้าน. [ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ.
อรพินทร์ ชูชม. (2544). จากทฤษฎีสู่แนวปฏิบัติในการมองโลกในแง่ดี. วารสารพฤติกรรมศาสตร์. 7(1).
อรรณพ จีนะวัฒน์. (2559). การพัฒนาตนของผู้ประกอบวิชาชีพครู. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยศิลปากร. 9(2).
อรัญญ์ชยาต์ บุญชูกิตติยศ และคณะ. (2562). ปัจจัยคัดสรรที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมที่เป็นปัญหาในวัยรุ่น : การวิเคราะห์จำแนกกลุ่มระหว่างกลุ่มวัยรุ่นที่กระทำความผิดกับกลุ่มนักเรียนวัยรุ่นตอนปลาย. วารสารกระบวนการยุติธรรม. 12(1), 63-85.
อัจศรา ประเสริฐสิน. (2556). การพัฒนาตนเองสำคัญอย่างไรในชีวิตและการทำงาน. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 5(10), 73-84.
Caldwell and Hayes. (2016). Self-efficacy and self-awareness: moral insights to increased leader effectiveness. Journal of Management Development. 35(9).