การพัฒนาการจัดการเรียนรู้เชิงรุกร่วมกับช่องทางการเรียนรู้ออนไลน์ ที่ส่งเสริมความสามารถการอ่านภาษาเวียดนามเพื่อความเข้าใจ และการมีส่วนร่วมของนิสิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย 1) เพื่อหาประสิทธิภาพของการจัดการเรียนรู้เชิงรุกร่วมกับช่องทางการเรียนรู้ออนไลน์ที่ส่งเสริมความสามารถการอ่านภาษาเวียดนามเพื่อความเข้าใจและการมีส่วนร่วมของนิสิตมหาวิทยาลัยมหาสารคามตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อศึกษาความสามารถการอ่านภาษาเวียดนามเพื่อความเข้าใจหลังการจัดการเรียนรู้ โดยมีคะแนนผ่านเกณฑ์ร้อยละ70 และมีจํานวนนิสิตผ่านเกณฑ์ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 70 3) เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมของนิสิตระหว่างการจัดการเรียนรู้ และ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ กลุ่มเป้าหมายได้แก่ นิสิตชั้นปีที่ 1 หลักสูตรภาษาและวัฒนธรรมอาเซียน (ภาษาเวียดนาม) มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ภาคเรียนที่ 2/2565 จำนวน 14 คน การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) มีวงจรการปฏิบัติการ 4 วงจร เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองปฏิบัติการ ประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 4 แผน 2) เครื่องมือที่ใช้ในการสะท้อนผล ได้แก่ แบบบันทึกผลหลังการจัดการเรียนรู้ แบบประเมินพฤติกรรมการมีส่วนร่วม แบบสัมภาษณ์นิสิต และแบบทดสอบย่อยท้ายวงจร 3) เครื่องมือที่ใช้ประเมินการจัดการเรียนรู้ ได้แก่ แบบทดสอบวัดความสามารถการอ่านภาษาเวียดนามเพื่อความเข้าใจ และแบบสอบถามความพึงพอใจ
ผลการวิจัยพบว่า
1)ประสิทธิภาพของการจัดการเรียนรู้เชิงรุกร่วมกับช่องทางการเรียนรู้ออนไลน์ที่ส่งเสริมความสามารถการอ่านภาษาเวียดนามเพื่อความเข้าใจและการมีส่วนร่วมของนิสิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม มีค่า E1/E2 เท่ากับ 80.89/82.62 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 80/80 2) นิสิตมีคะแนนความสามารถการอ่านภาษาเวียดนามเพื่อความเข้าใจโดยเฉลี่ย คือ 24.79 จากคะแนนเต็ม 30 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 86.62 และมีนิสิตที่สอบผ่านเกณฑ์ จำนวน 13 คน จากจำนวนทั้งหมด 14 คน คิดเป็นร้อยละ 92.85 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 3) ผลการประเมินพฤติกรรมการมีส่วนร่วมระหว่างการจัดการเรียนรู้ของนิสิต ภาพรวมอยู่ในระดับมาก 4) นิสิตมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กมล โพธิเย็น. (2564). Active Learning: การจัดการเรียนรู้ที่ตอบโจทย์การจัดการศึกษาในศตวรรษ ที่ 21. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 19(1), 11-28.
กษมา สุรเดชา. (2562). ผลการใช้ชุดกิจกรรม Active Learning เพื่อเสริมสร้างทักษะการอ่านจับ ใจความและเจตคติต่อการอ่านของนักศึกษาโปรแกรมวิชาภาษาไทยชั้นปีที่ 2 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. รายงานสืบเนื่องการประชุมวิชาการระดับชาติ ครุศาสตร์ศึกษาครั้งที่ 2 (Proceedings) ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม จังหวัดพิษณุโลก ระหว่างวันที่ 21-22 มีนาคม 2562, 18-26.
ชานนท์ ภาคกินนร และคนอื่นๆ. (2563). ผลการพัฒนาพฤติกรรมการมีส่วนร่วมในกิจกรรมการ เรียนรู้วิชาภาษาอังกฤษโดยใช้เกมคำศัพท์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนฤ ทธิยะวรรณาลัย. ศึกษาศาสตร์สาร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 4(2), 45-55.
ณัฐวดี ธาตุดี. (2561). การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning). วิทยานิพนธ์ กศ.ม., มหาวิทยาลัยศิลปากร, กรุงเทพฯ.
ทัศนีย์ เสถียรภัทรนันท์. (2561). การพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ และผลสัมฤทธิ์ทางการ เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสาน โดยใช้แอพพลิเคชั่นเกมตอบคําถามออนไลน์ (Kahoot) กลุ่มสาระ การเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์ กศ.ม., มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.
พงษ์สิทธิ์ พลีกร. (2562). ผลของการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดห้องเรียนกลับทางร่วมกับรูปแบบเกม โชว์โทรทัศน์ที่มีผลต่อการคิดวิเคราะห์วิชาภาษาไทยเพื่อการศึกษาต่อเรื่องการสร้างคำของ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ กศ.ม., มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพฯ.
ภัทราดา เอี่ยมบุญญฤทธิ์ และคนอื่นๆ. (2563). การสอนอ่านเชิงวิเคราะห์ผ่านกระบวนการเรียนรู้ แบบ Active Learning เพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ของเด็กไทยยุค Gen Z. วารสาร ศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 31(3), 1-11.
ยุพกา ฟูกุชิม่า. (2564). การทดลองจัดการเรียนการสอนเชิงรุกในรายวิชาการอ่านภาษาญี่ปุ่นขั้นสูง. วารสารมนุษยศาสตร์วิชาการ, 28(2), 311-357.
วรพงษ์ แสงประเสริฐ. (2564). ผลการสอนการอ่านโดยใช้เกมมิฟิเคชั่นที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ในการอ่าน ภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจและเจตคติที่มีต่อการสอนอ่านของนักเรียนมัธยมศึกษาตอน ปลาย. การประชุมเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชครั้งที่ 10 ณ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช จังหวัดนนทบุรี วันที่ 27 พฤศจิกายน 2563, 85-94.
สุริสา ไวแสน และ สุวัฒน์ จุลสุวรรณ์. (2565). การพัฒนาแนวทางเสริมสร้างทักษะการจัดการเรียนรู้ ในศตวรรษที่ 21 ของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 24. วารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการ, 10(1), 59-66.
Supaporn Manowong. (2017). Incorporating Online Tools to Promote English Reading for EFL Learners: an Action Research Study. Pasaa Paritat Journal, 32, 98-124.
Wibisono, D. (2019). The effects of Kahoot in teaching reading to tenth grade students of senior high school. Thesis, Widya Mandala Catholic University, Surabaya.
Wijayanti, E. (2022). Teaching English by using Canva: students’ and lecturers’ voice. Academic Journal of English Language and Education, 6(2), 411-428.