ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานโรงเรียน โครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ กลุ่มนครชัยบุรินทร์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานโรงเรียนโครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ กลุ่มนครชัยบุรินทร์ 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยกับประสิทธิผลการบริหารงานโรงเรียนโครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ กลุ่มนครชัยบุรินทร์ 3) สร้างสมการพยากรณ์ประสิทธิผลการบริหารงานโรงเรียนโครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ กลุ่มนครชัยบุรินทร์ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้บริหารและครูกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ปีการศึกษา 2565 จำนวน 226 คน โดยใช้ตารางสำเร็จรูป Krejcie & Morgan และการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ ใช้จังหวัดเป็นชั้นในการแบ่ง เครื่องมือ ได้แก่ แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ตรวจสอบความเที่ยงตรงตามเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญ 5 คน มีค่าดัชนีความสอดคล้อง .60-1.00 และค่าความเชื่อมั่น .98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบมีขั้นตอน
ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานโรงเรียนโครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ กลุ่มนครชัยบุรินทร์ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุดทุกปัจจัย 2) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยกับประสิทธิผลการบริหารงานโรงเรียนโครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ กลุ่มนครชัยบุรินทร์ มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับสูงมาก (r=0.868) 3) ปัจจัยที่สามารถพยากรณ์ประสิทธิผลการบริหารงานโรงเรียนโครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ กลุ่มนครชัยบุรินทร์ อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 ได้แก่ ปัจจัยด้านครู (X2) ปัจจัยด้านหลักสูตร (X1) ปัจจัยด้านการสรรหาและคัดเลือกนักเรียน คุณลักษณะของนักเรียน(X5) และปัจจัยด้านการจัดการเรียนรู้ (X4) ร่วมกันพยากรณ์ได้ ร้อยละ 81.6 (R2=.816) มีสมการคะแนนดิบและคะแนนมาตรฐานดังนี้
Y = -.431 + .569 (X2) + .234 (X1) + .212 (X5) + .085(X3)
Z = .512(ZX2) + .207 (ZX1) + .187(ZX5) + .082 (ZX3)
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2559). แนวทางการเปิดห้องเรียนพิเศษในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2559. สำนักนโยบายและแผนการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
กัลยา วานิชย์บัญชา. (2564). การใช้ SPSS for Windows ในการวิเคราะห์ข้อมูล. พิมพ์ครั้งที่ 34.กรุงเทพฯ: ศูนย์หนังสือแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
กิตติพงษ์ อินสุขิน. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลในการบริหารงานของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยพะเยา.
เกวลิน ไชยสวัสดิ์ . (2557). การวิเคราะห์องค์ประกอบและตัวบ่งชี้คุณภาพการจัดการศึกษา ห้องเรียนพิเศษ โครงการพัฒนาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ (SME) ของโรงเรียนมัธยมศึกษา. วารสารหาดใหญ่วิชาการ, 12(2), 135-146.
จินตนา ถาคำ. (2561). ปัจจัยพหุระดับที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการเปิดสอนห้องเรียนพิเศษ
วิทยาศาสตร์ -คณิตศาสตร์ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารวิจัยและพัฒนาหลักสูตร มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 8(1), 137-158.
ชัยยศ จระเทศ. (2558). การส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหา ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน ห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์สำหรับนักเรียนขั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5โรงเรียนวาบีปทุม.วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
ณฐกรณ์ ดำชะอม. (2562). การบริหารจัดการห้องเรียน พิเศษวิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ของโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานที่เปิดห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม จำนวน 220 โรงเรียน. วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร, 10(2), 872-886.
ทิพวรรณ พวงมาลัย. (2560). การพัฒนาตัวบ่งชี้คุณภาพบริหารโครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ของโรงเรียนมัธยมศึกษาในกรุงเทพมหานคร. วารสารบริหารการศึกษา มศว, 14(27),57-65.
ธงชัย ชิวปรีชา. (2555). แนวทางการบริหารจัดการโครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์. เอกสารประกอบการประชุมผู้แทนเครือข่ายโครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ ที่สำนักวิชาการ และมาตรฐานการศึกษา, 8-10.
บุญชม ศรีสะอาด. (2554). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.
พรชัย อินฉาย. (2549). รูปแบบการบริหารงานการพัฒนาและส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโยีของสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีใน อนาคต. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต, สาขาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยบูรพา.
ฤณชา ศิลาจันทร์. (2560). รูปแบบการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนในโครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์. JOURNAL OF NAKHONRATCHASIMA COLLEGE, 11(2), 11-22.
วิรัตน์ พงษ์มิตร. (2557). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, (พิเศษ), 359-371.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
สุวัฒน์ วิวัฒนานนท์. (2559). ประสิทธิผลของโรงเรียนมัธยมศึกษาที่จัดการเรียนการสอนห้องเรียนพิเศษ วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2. JOURNAL OF NAKHONRATCHASIMA COLLEGE, 10(2), 297-310.
อาทิตย์ อาจหาญ. (2558). การส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหา ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน ห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนขั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวาบีปทุม.วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาวิจัยและประเมินผลการศึกษา, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
Likert, R. (1967). The human organization: Its management and value. New York:
McGraw-Hill.