การพัฒนาการจัดการเรียนรู้โดยใช้ B-SLIM model ร่วมกับสื่อประสม เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการฟังและการพูดภาษาจีน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4

Main Article Content

ธนาภา สิงหลสาย
ธนารัตน์ เหล่าอรรคะ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ B-SLIM model ร่วมกับสื่อประสมให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 70/70 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถด้านการฟังภาษาจีน ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้ B-SLIM model ร่วมกับสื่อประสม 3) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถด้านการพูดภาษาจีน ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้ B-SLIM model ร่วมกับสื่อประสมกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ห้อง 2 ที่เลือกเรียนวิชาภาษาจีน (เพิ่มเติม) โรงเรียนสุวรรณภูมิพิทยไพศาล ตำ บลสระคู อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 6 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบ B-SLIM model ร่วมกับสื่อประสมรายวิชาภาษาจีน (เพิ่มเติม) กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 5 แผน แผนละ 2 ชั่วโมง รวมทั้งสิ้น 10 ชั่วโมง 2) แบบทดสอบความสามารถด้านการฟังและแบบทดสอบความสามารถด้านการพูดภาษาจีน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 แบ่งเป็น 2 ตอน คือ ตอนที่ 1 แบบทดสอบความสามารถด้านการฟัง เป็นปรนัย แบบเลือกตอบ จำนวน 20 ข้อ ตอนที่ 2 แบบทดสอบความสามารถด้านการพูด เป็นอัตนัย แบบปฏิบัติ จำนวน 1 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


ผลการวิจัยพบว่า 1) แผนการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาจีน (เพิ่มเติม) โดยใช้ B-SLIM model ร่วมกับสื่อประสม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 78.33/77.60 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำ หนดไว้ 70/70 2) ความสามารถด้านการฟัง โดยใช้ B-SLIM model ร่วมกับสื่อประสม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ก่อนเรียนมีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 8.33 คิดเป็นร้อยละ 41.67 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.52 และหลังเรียนมีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 16.17 คิดเป็นร้อยละ 80.83 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.98 และมีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน 3) ความสามารถด้านการพูด โดยใช้ B-SLIM model ร่วมกับสื่อประสม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ก่อนเรียนมีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 3.83 คิดเป็นร้อยละ 31.94 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.98 และหลังเรียน
มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 8.67 คิดเป็นร้อยละ 72.22 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.52 และมีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตร แห่งประเทศไทย จำกัด.

กิดานันท์ มลิทอง. (2548). เทคโนโลยีและการสื่อสารเพื่อการศึกษา. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัด อรุณการพิมพ์.

ธัญญารัตน์ มะลาศรี และ Wei Jingru. (2560). การจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาทักษะการฟังและการพูดภาษาจีนสำ หรับผู้เรียนชาวไทย. วารสารวิจัยราชภัฏกรุงเก่า, 4 (3), 81-90.

ธูปทอง กว้างสวาสดิ์. (2544). คู่มือการสอนภาษาอังกฤษ. มหาสารคาม: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ธูปทอง กว้างสวาสดิ์. (2549). คู่มือการสอนภาษาอังกฤษ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เดือนตุลา.

ปารณัท ศุภพิมล และจารุณี มณีกุล. (2561). การใช้การสอนแบบบีสลิมเพื่อส่งเสริมทักษะทางภาษาอังกฤษ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 20(3), 130-140.

ปิ่นมณี พันหนองแสน และ Xinyu, Z. (2562, 24 พฤษภาคม). ครูผู้สอนรายวิชาภาษาจีน/Interviewer: ธนาภา สิงหลสาย. โรงเรียนสุวรรณภูมิพิทยไพศาล.

ไพริน มูหลาน สกุลเล็ก. (2556). ความรู้พื้นฐานเรื่องการสื่อสาร. Retrieved from https://www.gotoknow.org/posts/521170.

วิภาวี ไชยทองศรี. (2563). การพัฒนาความสามารถด้านการฟัง-พูดภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารโดยการใช้สถานการณ์จำ ลองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, 8 (1), 120-136.

ศิริดา ทาทิพย์ และปริณ ทนันชัยบุตร. (2559). การพัฒนาความสามารถด้านการฟังและการพูดภาษาเกาหลี ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยการจัดการเรียนรู้แบบ B-SLIM ร่วมกับกิจกรรมบทบาทสมมติ. วารสารศึกษาศาสตร์ ฉบับวิจัยบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ฉบับพิเศษ, 135-140.

สุภาภรณ์ ถิรศิลาเวทย์. (2562). การพัฒนาความสามารถด้านการฟังและการพูดภาษาจีนเพื่อการสื่อสาร ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ด้วยกิจกรรมตามรูปแบบ B-SLIM ประกอบสื่อมัลติมีเดีย. มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม, มหาสารคาม.