การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านและการเขียนคำศัพท์ภาษาอังกฤษพื้นฐานโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนสร้างสรรค์ของเคเอสสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

Main Article Content

ดวงใจ พั้วทา
คงศักดิ์ สังฆมานนท์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความสามารถด้านการอ่านและการเขียนคำศัพท์ภาษาอังกฤษพื้นฐาน ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน รวมถึงเปรียบเทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 75 และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนสร้างสรรค์ของเคเอส รูปแบบการวิจัยที่ใช้คือการวิจัยเชิงทดลองแบบศึกษากลุ่มเดียว ทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนกลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/2 จำนวน 28 คน ปีการศึกษา 2563 ของโรงเรียนสิรินคริสเตียน อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนสร้างสรรค์ของเคเอส และแบบทดสอบวัดความสามารถด้านการอ่านและการเขียนคำศัพท์ภาษาอังกฤษพื้นฐาน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ เปอร์เซนต์ค่าเฉลี่ยร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าทดสอบที ผลการศึกษา พบได้ว่า 1) คุณภาพของแผนการจัดการเรียนรู้มีผลการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.42 2) ความสามารถด้านการอ่านและการเขียนคำศัพท์ภาษาอังกฤษพื้นฐาน หลังได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนสร้างสรรค์ของเคเอส สูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้อย่างมีนัยสำ คัญทางสถิติที่ระดับ .01 3) ความสามารถด้านการอ่านและการเขียนคำศัพท์ภาษาอังกฤษพื้นฐานโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนสร้างสรรค์ของเคเอสสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 พบว่าคะแนนเฉลี่ย สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 75

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
พั้วทา ด., & สังฆมานนท์ ค. (2024). การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านและการเขียนคำศัพท์ภาษาอังกฤษพื้นฐานโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนสร้างสรรค์ของเคเอสสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 16(1), 62–73. สืบค้น จาก https://so09.tci-thaijo.org/index.php/JOEMSU/article/view/1897
บท
บทความวิจัย

References

กฤติกา จันทรเกษม. (2553) การใช้ผังความสัมพันธ์ทางความหมายในการเรียนแบบกลุ่มสัมพันธ์ เพื่อเพิ่มพูนความสามารถในการอ่าน การเขียนสรุปความภาษาอังกฤษและการเห็นคุณค่าในตนเอง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

กัญญารัตน์ หรดี. (2557). การใช้การเรียนตามแนวคิดสร้างสรรค์ความรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการอ่านและการเขียนภาษาอังกฤษเชิงสร้างสรรค์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (การสอนภาษาอังกฤษ)-มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

คงศักดิ์ สังฆมานนท์. (2548). การพัฒนารูปแบบการสอนพูดภาษาอังกฤษสำหรับนักศึกษาในสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วิทยานิพนธ์ ปริญญาศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

คงศักดิ์ สังฆมานนท์. (2561). “รูปแบบการเรียนการสอนสร้างสรรค์ของเคเอส” ใน เอกสารคำสอนรายวิชา MED61207 การจัดการเรียนรู้และการจัดการชั้นเรียน. นครราชสีมา: วิทยาลัยนครราชสีมา.

ดวงเดือน จังพานิช. (2542). การศึกษาเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์และความคงทนในการจำคำศัพท์ภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนโดยวิธีสอนแบบสัมพันธ์ขอบข่ายความหมายและวิธีสอนแบบปกติ. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ธนภรณ์ แซ่ลิ่ม, คงศักดิ์ สังฆมานนท์. (2564). ผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอนสร้างสรรค์ของเคเอสในการจัดการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. นครราชสีมา: วิทยาลัยนครราชสีมา.

บํารุง โตรัตน์. (2534). การสอนเขียนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร. สารพัฒนาหลักสูตร.

มงคล เรียงณรงค์, ลัดดา ศิลาน้อย. (2557). “การพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้รูปแบบการสอนแบบสร้างสรรค์เป็นฐาน (CBL) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 รายวิชา ส 21103 สังคมศึกษา 2”. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. สืบค้นเมื่อ 1 ตุลาคม 2563.

วัฒนากาญจน์ แก้วมณี. (2562). การพัฒนาความสามารถการเขียนภาษาอังกฤษเชิงสร้างสรรค์ โดยใช้ผังมโนทัศน์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

วิไล ร่วมชาติ. (2554). การพัฒนาทักษะการอ่านค่าศัพท์ภาษาอังกฤษ พบว่า นักเรียนที่เป็นกลุ่มตัวอย่างนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/2 โรงเรียนบ้านปงสนุก. การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 6 มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

อัจฉรา ชีวพันธ์ และคนอื่นๆ. (2542). การใช้ภาษาไทย เล่ม 1 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. กรุงเทพฯ: บรรณกิจ.