การเรียนการสอนสาขาวิชาดนตรีพื้นบ้าน (หมอลำ) กรณีศึกษาวิทยาลัย ดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

Main Article Content

เชิง เหวย
คมกริช การินทร์

บทคัดย่อ

บทความเรื่อง “การเรียนการสอนสาขาวิชาดนตรีพื้นบ้าน (หมอลำ ) กรณีศึกษาวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหลักสูตรและรูปแบบการสอนปฏิบัติวิชาเอกหมอลำของวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ใช้ระเบียบวิธีการศึกษาเชิงคุณภาพ
โดยศึกษาเอกสาร สังเกตุ และสัมภาษณ์ ผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วย กลุ่มอาจารย์ผู้สอน จำนวน 3 คนได้แก่ 1) ผู้เชี่ยวชาญด้านดนตรีพื้นบ้าน 2) รองคณบดีฝ่ายวิชาการ และ 3) หัวหน้าหลักสูตร อย่างละ 1 คน และนิสิตสาขาหมอลำ จำนวน 4 คน ผลการศึกษา พบดังนี้


การเรียนการสอนสาขาวิชาเอกดนตรีพื้นบ้าน (หมอลำ) ของวิทยาลัยดุริยางคศิลป์มหาวิทยาลัยมหาสารคามนับว่าเป็นสถาบันการศึกษาที่แรกที่เปิดการเรียนการสอนในสาขาวิชาเอกดนตรีพื้นบ้าน (หมอลำ) ในระดับปริญญาตรี ซึ่งการจัดโครงสร้างหลักสูตรนั้น เป็นไปตามโครงสร้างของมหาวิทยาลัย และสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ซึ่งมีการจัดรายวิชาปฏิบัติทุกภาคเรียนการศึกษา และมีรายวิชาที่ช่วยเสริมทักษะความรู้ในเรื่องของดนตรีอีสาน ดนตรีตะวันตก ดนตรีไทย ทั้งที่เป็นรายวิชาทฤษฎี และปฏิบัติ


รูปแบบการเรียนการสอนใช้ 2 รูปแบบหลักคือ 1) การสอนแบบรวมกลุ่ม โดยแบ่งตามชั้นปี สอนตามเนื้อหาที่ได้กำหนดไว้ในบทเรียน ครูทุกคนจะแจกกลอนลำ ให้นิสิตไปท่องก่อนที่จะเข้าเรียนล่วงหน้าในการสอนครูจะลำ ให้ฟังก่อน 1 รอบ จากนั้นครูจะต่อให้นักเรียนทีละประโยค โดยครูลำ ก่อนแล้วนิสิตลำตาม มีการทบทวนเป็นระยะ ให้นิสิตฝึกฝนและทบทวนกันเอง ก่อนจะหมดเวลา ครูและนิสิตจะร้องทบทวนกันอีกครั้ง ซึ่งจะมีการบันทึกเสียงไว้ เพื่อนิสิตสามารถนำ กลับไปฟังเพื่อฝึกลำ และทบทวนได้ด้วยตัวเอง และ 2) การสอนแบบตัวต่อตัว เป็นการนัดเวลาให้นิสิต มาเรียนกับครูเป็นรายบุคคล เพื่อทำการปรับเทคนิควิธีการร้อง แก้ไขข้อบกพร่อง และเสนอแนะวิธีการ หรือเทคนิคที่เหมาะสมให้กับผู้เรียน โดยในห้องเรียนครูใช้การสังเกต พฤติกรรมการเรียนและพัฒนาการของผู้เรียน ในการให้คะแนน


นอกจากนี้ยังมีการวัดผลกลางภาคและปลายภาคโดยใช้รูปแบบในการนำ เสนอการแสดงต่อหน้ากรรมการ และหน้าสาธารณชน มีการเชิญผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกมาร่วมประเมินด้วย ซึ่งผลวิจัยพบว่าทำให้นิสิตได้นำคำชี้แนะจากกรรมการไปปรับใช้ทำ ให้เกิดพัฒนาการสำหรับการแสดงที่ดี

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

คุณากร พันเทศ. (2563). นิสิตสาขาหมอลำวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. สัมภาษณ์

เจริญชัย ชนไพโรจน์. (2563). ผู้เชี่ยวชาญประจำวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. สัมภาษณ์

ชุมเดช เดชพิมล. (2563). อาจารย์ประจำวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. สัมภาษณ์

ณรุทธ์ สุทธจิตต์. (2021). ว่าด้วยดนตรีศึกษาและระบบการศึกษาไทย. สืบค้นวันที่ 18 พฤษภาคม 2564 จากเวปไซต์ http://kotavaree.com/?p=215

พิภัช สอนใย. (2563). หัวหน้าหลักสูตรปริญญาตรี วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. สัมภาษณ์

ภัทรกร กาเผือก. (2563). นิสิตสาขาหมอลำวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. สัมภาษณ์

มัลลิกา ชายทวีป. (2563). นิสิตสาขาหมอลำวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. สัมภาษณ์

รัตนา สารศรี. (2563). อาจารย์ประจำวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. สัมภาษณ์

ราตรี ศรีวิไล. (2563). ศิลปินหมอลำผู้เชี่ยวชาญด้านหมอลำ. สัมภาษณ์

สยาม จวงประโคน. (2563). รองคณบดีฝ่ายวิชาการ วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. สัมภาษณ์

สุวนันท์ สร้อยเปราะ. (2563). นิสิตสาขาหมอลำวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. สัมภาษณ์

อาทิตย์ คำหงศ์ษา. (2563). อาจารย์ประจำวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. สัมภาษณ์

Chonpairot, J. (1990). Lam Khon Sawan: A vocal genre of southern Laos. Doctor’s Thesis. Kent, Ohio, State University.

Chonpairot, J. (1987). Isaan folk song. Mahasarakham University.

Chantaranuson, K. (2003). Alternative: The change of worldviews in the contemporary.

klonlamruang (1994-2000). Thesis. Khonkhen University.

Jinhua, S. (2017). The role of college music education in the transmission of national music culture. “Grand View”. Daguan Magazine.

Miller, T.E. (1976). Khaen playing and Mawlum singing in northeast Thailand. Ph.D. dissertation. Bloomington, Indiana: Indiana University.

Smith & Ragan. (1999). การกำหนดขั้นการเรียนการสอน. สืบค้นเมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2564 จากเวปไซต์ https://sites.google.com/site/hnwykarreiynru123/khan-txn-kar-reiyn-kar-sxn.

Xiaoqin, L. (2016). Viewing the relationship between Zhuang and Thai ethnic groups from the Folk Singing Tradition taking the comparison between the Chinese “Molun”and the Laos Thai “Molam”.