สมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาในความปกติใหม่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยองเขต 1
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อ (1) เพื่อศึกษาสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคความปกติใหม่ (2) เพื่อศึกษาระดับสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคความปกติใหม่ที่สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยองเขต 1 (3) เพื่อเสนอแนวทางในการพัฒนาสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษายุคความปกติใหม่สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยองเขต 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการตอบแบบสอบถาม คือผู้บริหารและครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยองเขต 1 จำนวน 327 คน วิธีการสุ่มตัวอย่างใช้ตารางสำเร็จรูปของเครซี่และมอร์แกน,กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการสัมภาษณ์ คือผู้บริหารสถานศึกษาดีเด่นในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยองเขต 1 จำนวน 7 ท่าน วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง สถิติที่ใช้ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัย พบว่า
(1) สมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษา แบ่งเป็น 4 ด้าน ประกอบด้วย การบริหารคน ความรอบรู้ในการบริหาร การบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ และการบริหารอย่างมืออาชีพ
(2) ระดับสมรรถนะทั้ง 4 ด้าน ภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อวิเคราะห์รายข้อมีจำนวน 3 ข้ออยู่ในระดับปานกลาง
(3) แนวทางในการพัฒนาสมรรถนะที่อยู่ในระดับปานกลางจำนวน 3 ข้อ คือ 1. การริเริ่มเป็นผู้นำท่ามกลางบริบทสังคมที่ในการเปลี่ยนแปลง ผู้บริหารควรตระหนักถึงความสำคัญของการเปลี่ยนแปลงศึกษาพัฒนาตนเอง เพิ่มทักษะในด้านต่างๆ เข้าใจความคิดเห็นที่แตกต่างกัน มีความรู้และรอบคอบในการบริหาร 2. จัดหาบุคลากรให้เหมาะสมกับหน้าที่ที่รับผิดชอบ ผู้บริหารต้องจัดสรรบุคลากรและให้ตรงสาขาวิชาเอก หากไม่ตรงวิชาเอกควรหาแนวทางการช่วยเหลือ มอบหมายงานตามความรู้ความสามารถส่งเสริมให้ครูมีการพัฒนาตนเองจัดศึกษาดูงานอบรม 3. การส่งเสริมพัฒนาบุลลากรด้านการวิจัย ต้องจัดสรรงบประมาณเพื่อเป็นทุนในการจัดทำวิจัย จัดให้มีการเผยแพร่ผลงานวิจัยเองครู ทุกปีการศึกษาจัดหาวิทยากรมาให้ความรู้และมีการนิเทศตามตามผลงานอย่างกัลยาณมิตร
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
จิรประภา อัครบวร. (2549). สร้างคนสร้างผลงาน. กรุงเทพฯ: ก.พลพิมพ์.
ชูชัย สมิทธิไกล. (2550). การสรรหา การคัดเลือก และการประเมินผลการปฏิบัติงานของบุคลากร. พิมพ์ครั้งที่ 2 กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ณิชา พิทยาพงศกร (2563). New Normal ของการศึกษาไทยคืออะไรเมื่อการเรียนทางไกลไม่ใช่คำตอบค้นเมื่อ 25 มิถุนายน 2563, nn https://tdri.or.th/2020/05/desirable-new-normal-forthailand-education/Marketingoops !. (2563). ‘COVID-19’ ปฏิรูปการศึกษาทั่วโลกใช้เทคโนโลยีเรียนรูปแบบใหม่มหาวิทยาลัยไทย.
ธีระ รุญเจริญ. (2553). ความเป็นมืออาชีพในการจัดและบริหารการศึกษายุคปฏิรูปการศึกษา (ฉบับปรับปรงุ) เพื่อปฏิรูปรอบสองและประเมินภายนอกรอบสาม. กรุงเทพฯ: ข้าวฟ่าง.
เบญจพร วาทีกานนท์. (2559). แนวทางการพัฒนาสมรรถนะหลักของผู้บริหารโรงเรียนเอกชนสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลาเขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเขตระยอง 1. (2563). ข้อมูลทางการศึกษาของสถานศึกษาในสังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยองเขต 1 ข้อมูล ณ 30 เดือนมิถุนายน ํ2563. ระยอง: สํานักงานฯ.
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2548). สมรรถนะและมาตรฐานวิชาชีพการบริหารทรัพยากรบุคคล. กรุงเทพฯ: พี. เอ. ลีฟวิ่ง.
อรทัย ธรรมโม. (2555). สมรรถนะหลักของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนประถมศึกษา อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.