การประเมินโครงการโรงเรียนวิถีพุทธระดับมัธยมศึกษา จังหวัดชลบุรี

Main Article Content

ศรายุทธ ประโหมด
ปริาภรณ์ ตั้งคุณานันต์
บุญจันทร์ สีสันต์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินโครงการโรงเรียนวิถีพุทธระดับมัธยมศึกษา จังหวัดชลบุรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการโรงเรียนวิถีพุทธระดับมัธยมศึกษา จังหวัดชลบุรี จำนวน 6 โรงเรียน ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 15 คน ครู จำนวน 45 คน นักเรียน จำนวน 213 คน และผู้ปกครอง จำนวน 213 คน รวมทั้งหมด 486 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง โดยการประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมินแบบ CIPP model ประกอบด้วย 4 ด้าน คือ ด้านบริบท (Context) ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) ด้านกระบวนการ (Process) และด้านผลผลิต (Product) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ โดยมีค่า IOC อยู่ระหว่าง 0.60-1.00 จำนวน 3 ฉบับ ฉบับผู้บริหารและครู จำนวน 43 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.98 ฉบับนักเรียน จำนวน 16 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.87 และฉบับผู้ปกครอง จำนวน 16 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.93 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


ผลการวิจัยพบว่า การประเมินโครงการโรงเรียนวิถีพุทธระดับมัธยมศึกษา จังหวัดชลบุรี ตามความคิดเห็นของผู้บริหาร ครู นักเรียน และผู้ปกครอง ในภาพรวมมีความเหมาะสมในระดับมาก (gif.latex?\bar{X}=4.05, S.D.= 0.52) เมื่อพิจารณารายด้านในภาพรวม โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย พบว่า อันดับหนึ่ง คือ ด้านบริบท (gif.latex?\bar{X}=4.26, S.D. = 0.52) อันดับสอง คือ ด้านปัจจัยนำเข้า (gif.latex?\bar{X}=4.08, S.D. = 0.57) ด้านผลผลิต (gif.latex?\bar{X}=4.08, S.D. = 0.60) และอันดับสุดท้าย คือ ด้านกระบวนการ (gif.latex?\bar{X}=4.04, S.D. = 0.60) โดยทุกด้าน
มีความเหมาะสมในระดับมาก

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). แนวทางการดำเนินงานโรงเรียนวิถีพุทธ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.).

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 ที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่2) พ.ศ.2545 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2553. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.).

ธีรยุทธ แก้วประสพ. (2557). การบริหารโรงเรียนวิถีพุทธตามทฤษฎีระบบ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี เขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา, ยะลา

บุญจันทร์ สีสันต์. (2563). วิธีวิจัยทางการบริหารการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : หจก.มีนเซอร์วิสซัพพลาย.

พิยะภา ใจซื่อสมบูรณ์. (2563). การประเมินโครงการโรงเรียนวิถีพุทธของโรงเรียนวัดใหญ่บ้านบ่อ(บ้านบ่อราษฎรบำรุง). การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร, นครปฐม.

พร้อมพิไล บัวสุวรรณ. (2554). ครอบครัวและโรงเรียน หุ้นส่วนเพื่อคุณภาพของผู้เรียน. กรุงเทพฯ: แสงดาว.

ภารดี อนันต์นาวี. (2560). นโยบายและการวางแผน : การนำสู่การปฏิบัติ. ชลบุรี: มนตรี.

เมวิกา สุขะวิทะ. (2560). การประเมินโครงการโรงเรียนวิถีพุทธ/โรงเรียนวัดเนินพระ (ทรงบัณฑิตราษฎร์รังสรรค์)/สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.

รัชนี ศรีทับทิม. (2562). การบริหารจัดการโรงเรียนวิถีพุทธของโรงเรียนวัดเฉลิมพระเกียรติ (พิบูลบำรุง). การค้นคว้าอิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร, นครปฐม.

วิทวัฒน์ บูระพันธ์. (2562). การประเมินโครงการห้องเรียนพิเศษ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นโรงเรียนราชวินิตมัธยม โดยใช้การประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model). วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, มหาสารคาม.

สุจิตร เข็มมี. (2560). การประเมินผลการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีพลังงานหมุนเวียนในโครงการพัฒนาดอยตุง(พื้นที่ทรงงาน) อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดเชียงราย. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพฯ.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชลบุรี ระยอง. (2564). สรุปข้อมูลทางการศึกษา ปีการศึกษา 2564. ชลบุรี: มปพ.

Basaran, M., Dursun, B., Gur Dortok, H. D., & Yilmaz, G. (2021). Evaluation of Preschool Education Program According to CIPP Model. Pedagogical Research, 6(2), em0091. https://doi.org/10.29333/pr/9701

Stufflebeam, D. L., & Webster, W. J. (1980). An Analysis of Alternative Approaches to Evaluation. Educational Evaluation and Policy Analysis, 2(3), 5-20. https://doi.org/10.3102/01623737002003005