การพัฒนาคลังข้อสอบกระบวนการทางคณิตศาสตร์ โดยประยุกต์ใช้โมเดลการตอบสนองข้อสอบแบบพหุมิติ
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อ 1) สร้างและหาคุณภาพของข้อสอบกระบวนการทางคณิตศาสตร์ และ 2) พัฒนาคลังข้อสอบและสร้างคู่มือการใช้ฐานข้อมูลของคลังข้อสอบมิติกระบวนการทางคณิตศาสตร์ที่ประยุกต์ใช้โมเดลการตอบสนองข้อสอบแบบพหุมิติ กลุ่มตัวอย่าง เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 25 จังหวัดขอนแก่น จำนวน 630 คน ที่ได้จากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi–Stage Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นข้อสอบกระบวนการทางคณิตศาสตร์ โดยประยุกต์ใช้โมเดลการตอบสนองข้อสอบแบบพหุมิติ แบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 80 ข้อ โดยหาคุณภาพของข้อสอบตามทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบแบบพหุมิติ ได้แก่ ค่าความยากของข้อสอบแบบพหุมิติ (MDIFFi) ค่าอำนาจจำแนกแบบพหุมิติแบบพหุมิติ (MDISCi) ค่าอำนาจจำแนกบนมิติที่ m (aim) และค่าโอกาสการเดา (ci) ผลการวิจัยพบว่า 1.ข้อสอบกระบวนการทางคณิตศาสตร์มีค่าโอกาสในการเดา (ci) คัดเลือกข้อสอบ ในระหว่างช่วง 0.000 – 0.300 ได้จำนวน 58 ข้อ ค่าอำนาจจำแนกแบบพหุมิติ (MDISCi) มีค่าระหว่าง 0.558 – 6.871 และคัดเลือกข้อสอบที่ค่าอำนาจจำแนกบนมิติที่ m ( ) ไม่ติดลบ ได้จำนวน 25 ข้อ ค่าความยากของข้อสอบแบบพหุมิติ (MDIFFi) มีค่าระหว่าง -0.286 – 2.097 โดยคัดเลือกข้อสอบทั้งหมดได้จำนวน 60 ข้อ คัดเลือกข้อสอบกระบวนการทางคณิตศาสตร์ที่ผ่านเกณฑ์ตามทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบแบบพหุมิติ ได้จำนวน 24 ข้อ และ 2. คลังข้อสอบ ประกอบด้วยข้อสอบกระบวนการทางคณิตศาสตร์ที่มีคุณภาพตามทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบแบบพหุมิติ จำนวน 24 ข้อ จัดเก็บในฐานข้อมูลออนไลน์โดยใช้โปรแกรมการจัดฐานข้อมูล MySQL และ PhpMyAdmin ในรูปของตาราง ใช้งานโปรแกรมบน Web Browser เชื่อมต่อผ่าน URL และสร้างคู่มือการใช้ฐานข้อมูลการใช้คลังข้อสอบมิติกระบวนการทางคณิตศาสตร์ที่ประยุกต์ใช้โมเดลการตอบสนองข้อสอบแบบพหุมิติ ที่มีองค์ประกอบ ได้แก่ 1) ความมุ่งหมายของคลังข้อสอบ 2) ลักษณะของคลังข้อสอบ 3) การพัฒนาคลังข้อสอบ 4) คุณภาพของคลังข้อสอบ 5) การใช้คลังข้อสอบและการดำเนินการสอบ และ 6) การวัดผล
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กระทรวงศึกษาธิการ (2560). มาตรฐานการเรียนรู้ตัวชี้วัด กลุ่มสาระเรียนรู้คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม (ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช 2560) ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : กระทรวงศึกษาธิการ.
คมสัน เอี่ยมจำรัส. (2547). การสร้างและพัฒนาโปรแกรมระบบการทดสอบ. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จีรนันท์ รัตนวิเศษ. (2559). การพัฒนาแบบทดสอบ วิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน รหัสวิชา ค31101 เรื่อง จำนวนจริง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยประยุกต์ใช้โมเดลการตอบสนองข้อสอบแบบพหุมิติ. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิจัยและประเมินผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ชัยวิชิต เชียรชนะ. (2552). การวิเคราะห์พหุมิติ (Multidimensional Analysis). วารสารศึกษาศาสตร์, 32(4), มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 13 – 22.
ณพงษ์ ร่มแก้ว. (2563). การประยุกต์ใช้ทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบในการพัฒนาคลังข้อสอบความรู้พื้นฐานทางพลศึกษา. วารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 27(2): 82 –98
บุญเชิด ภิญโญอนันตพงษ์. (2527). การทดสอบอิงณ์เกณฑ์: แนวคิดและวิธีการ. กรุงเทพฯ : โอเดียน สโตร์.
พัชราภรณ์ ไวกุณฐ์วิวรรธน์. (2561). การประยุกต์ใช้โมเดลการตอบสนองแบบพหุมิติในการพัฒนาคลังข้อสอบ Pre O-net กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิจัย วัดผลและสถิติการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา.
เยาวดี รางชัยกุล วิบูลย์ศรี. (2554). การวัดผลและแบบสอบสัมฤทธิ์ผล. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุภาพร ละอองวิจิตร. (2543). การพัฒนาแบบทดสอบวินิจฉัยทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์เรื่องฟังก์ชัน โดยใช้ทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการวัดผลและวิจัยการศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
ศิริชัย กาญจนวาสี. (2555). ทฤษฎีการทดสอบแนวใหม่. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
_______. (2552). ทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิม. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2552). ตัวอย่างการประเมินผลนานาชาติ PISA คณิตศาสตร์. กรุงเทพฯ: สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.).
สมชาย วรกิจเกษมสกุล. (2559). การสร้างแบบทดสอบวิชาคณิตศาสตร์. อุดรธานี : คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.
สัตยา นาอุดม. (2559). การพัฒนาแบบทดสอบการรู้เรื่องคณิตศาสตร์ โดยประยุกต์ใช้โมเดลการตอบสนองข้อสอบแบบพหุมิติ. การประชุมวิชาการ “มหาวิทยาลัยมหาสารคามวิจัย ครั้งที่ 12” (12) : 198 – 205.
Drasgow, F. (1989). An evaluation of marginal maximum likelihood estimation for the two parameter logistic model. Applied Psychological Measurement, 5(13), 77-90.
Harwell, M. R., & Janosky, J. E. (1991). An empirical study of the effects of small datasets and varying prior variances on item parameter estimation in BILOG. Applied Psychological Measurement, 7(15), 279-291.
Mcdonald, M. E. (2002). Systematic Assessment of Learning Outcomes: Developing Multiple-Choice Exams. Published by Jones and Bartlett Publishers.
Senarat, S., Tayraukham, S. (2013). Development of a computerized adaptive testing for diagnosing the cognitive process of grade 7 students in learning algebra, using multidimensional item response theory. Global Educational Journal of Science and Technology. 1(1), 68 – 80.
Stone, H. (1992). Quantitative descxriptive analysis (QDA). Philadelphia: ASTM Manual Series: MNL, 13.