ปัจจัยการบริหารการเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 2) ศึกษาระดับการบริหารการเปลี่ยนแปลงของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 และ 3) ศึกษาปัจจัยการบริหารการเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 กลุ่มตัวอย่าง ในการวิจัยได้แก่ ครูในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 372 คน ได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multistage Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ โดยมีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามกับนิยามศัพท์ (IOC) อยู่ระหว่าง 0.80 – 1.00 มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .982 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบมีขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression)
ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับประสิทธิผลของสถานศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมาก 2) ระดับการบริหารการเปลี่ยนแปลงของสถานศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมาก และ 3) ปัจจัยการบริหารการเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 ได้แก่ ด้านการสนับสนุนทีมผู้นำและทรัพยากรสำหรับการเปลี่ยนแปลง (X4) ด้านการติดตาม ประเมินผล และปรับปรุง (X5) ด้านการรักษาการเปลี่ยนแปลงให้คงอยู่ (X6) และด้านการวางแผน (X1) สามารถร่วมกันพยากรณ์ได้ร้อยละ 77.20 โดยมีสมการคะแนนดิบและคะแนนมาตรฐาน ดังนี้
= 0.730 +0.295(X4) +0.262(X5) +0.194(X6) +0.075(X1)
y = 0.330(X4) +0.297(X5) +0.226(X6) +0.081(X1)
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กัลยารัตน์ ธีระธนชัยกุล. (2562). การจัดการเปลี่ยนแปลง. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
จิระประภา โมจิดะ และทวีวัฒน์ ปิตยานนท์. (2556). รูปแบบการเปลี่ยนแปลงที่มีประสิทธิผลในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเอกชน. วารสารวิชาการมหาลัยอีสเทิร์นเอเชีย. 3(2). 40-46.
ชรินทิพย์ อิศรางกูร ณ อยุธยา. (2562). การบริหารการเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลต่อการบริหารงานบุคคลในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต การบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย. กรุงเทพฯ.
นครินทร์ ธิยะภูมิ. (2563). การบริหารการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากระบี่. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต การบริหาร การศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช. นครศรีธรรมราช.
ปัญญา น้ำใจสุข. (2556). การบริหารการเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต การบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม. นครปฐม.
ปัทมา โสภิตชาติ. (2558). ทักษะผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต การบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยศิลปากร. นครปฐม.
ปิยรัฐ จันซางเพ็ญ. (2562). การจัดการเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษามัธยมศึกษา ในจังหวัดนครปฐม. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต การบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยศิลปากร. นครปฐม.
เมตตา สารีวงศ์. (2559). การบริหารการเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลต่อการบริทารงานบุคคลใน สถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต การบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม. นครปฐม.
ยุกตนันท์ หวานฉ่ำ. (2555). การบริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลของสถานศึกษาในอำเภอคลองหลวง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต การบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. กรุงเทพฯ.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2550). คู่มือการบริหารการเปลี่ยนแปลงเพื่อเสริมสร้างความเป็นเลิศในการปฏิบัติราชการของหน่วยงานภาครัฐ. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.).
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2544). คู่มือการประเมินผลภายในของสถานศึกษาตามมาตรฐานการศึกษา การออกแบบระบบการประเมินผลภายใน. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.
สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา. (2563). กรอบแนวทางการประเมิน คุณภาพภายนอกรอบสี่ (พ.ศ. ๒๕๕๙ - ๒๕'๖๓) ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2565). สรุปสาระสำคัญ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบสาม พ.ศ. 2566-2570. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2. (2563). รายงานผลการดำเนินงานประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2562. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.
สุนิสา คงสุวรรณ. (2559). การพัฒนาแบบจำลองการบริหารการเปลี่ยนแปลงในสถานศึกษาประถมศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต การบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา. พระนครศรีอยุธยา.
Hoy, W. K. and Miskel, C. G. (2005). Educational Administration : Theory-Research- Practice. (7th ed). New York: McGraw-Hill.
Kreitner & Kinicki. (2008). Organizational behavior. (8th ed). Boston: McGraw-Hill.
Kotter & Cohen. (1996). Leading Change. Massachusetts: Harvard Business School.
Likert, R.A. (1961). New patterns of management. New York: McGraw-Hill.
Taro Yamane. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. (3rd ed). New York: Harper and Row Publications.