แนวทางการแก้ไขปัญหาการออกกลางคันของผู้เรียน สถานศึกษาอาชีวศึกษาของรัฐ ในจังหวัดชลบุรี

Main Article Content

จิรวัฒน์ แสงคุณธรรม
สนั่น ประจงจิตร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัญหาการออกกลางคันของผู้เรียนสถานศึกษาอาชีวศึกษาของรัฐในจังหวัดชลบุรี 2) เสนอแนวทางการแก้ปัญหาการออกกลางคันของผู้เรียนสถานศึกษาอาชีวศึกษาของรัฐในจังหวัดชลบุรี กลุ่มตัวอย่างจำนวน 243 คน จากผู้บริหารและจากครูผู้สอนในสถานศึกษา ปีการศึกษา 2564 แบ่งเป็น  ผู้บริหาร (รองผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนากิจการนักเรียนนักศึกษา) ของสถานศึกษาของรัฐ ในจังหวัดชลบุรี จำนวน 8 คน และ ครูของสถานศึกษาอาชีวศึกษาของรัฐ ในจังหวัดชลบุรี จำนวน 235 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลครั้งนี้ เป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป โดยหาความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหาจากแบบสอบถาม ผลวิจัยพบว่า 1) ปัญหาการออกกลางคันของผู้เรียนสถานศึกษาอาชีวศึกษาของรัฐในจังหวัดชลบุรี โดยเรียงลำดับจากมากไปน้อย ได้แก่ ด้านผู้เรียน คือผู้เรียนแบ่งเวลาเรียนไม่เหมาะสม อยู่ในระดับมากที่สุด ถัดมาคือ ด้านครอบครัว คือฐานะทางเศรษฐกิจครอบครัวของผู้เรียนไม่เอื้ออำนวย ถัดมาคือด้านผู้สอน คือ ผู้สอนมอบหมายงานมากเกินไป และ ด้านสถานศึกษา คือระยะทางในการเดินทางมาสถานศึกษาไกลเกินไป ตามลำดับ และ 2) แนวทางการแก้ไขปัญหาการออกกลางคันของผู้เรียนสถานศึกษาอาชีวศึกษาของรัฐในจังหวัดชลบุรี ในด้านผู้เรียนคือผู้เรียนควรได้รับการสร้างวินัยในการแบ่งเวลาและความตระหนักและรับรู้ในความสำคัญของการเรียน ในด้านผู้สอนคือผู้สอนควรปรับการสอน โดยปรับให้ให้มีความทันสมัย มีความน่าสนใจ และมอบหมายงานอย่างเหมาะสม ในด้านครอบครัวคือครอบครัวควรให้ความร่วมมือประสานงานกับครูและสถานศึกษาอย่างสม่ำเสมอ พร้อมหาข้อมูลการขอทุนการศึกษาหรือการกู้ยืมเงินเพื่อการศึกษา และในด้านสถานศึกษา คือ ควรจัดสภาพแวดล้อม บรรยากาศ ให้เอื้อและส่งเสริมต่อการเรียน ปรับลดข้อบังคับให้ยืดหยุ่นตามความเหมาะสม

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
แสงคุณธรรม จ. . ., & ประจงจิตร ส. . . (2023). แนวทางการแก้ไขปัญหาการออกกลางคันของผู้เรียน สถานศึกษาอาชีวศึกษาของรัฐ ในจังหวัดชลบุรี. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 17(1), 65–80. สืบค้น จาก https://so09.tci-thaijo.org/index.php/JOEMSU/article/view/1286
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ 2) พุทธศักราช 2545. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

โกมล จันทวงษ์. (2558). ปัจจัยสาเหตุการออกกลางคันของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ศูนย์สระแก้ว. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์, 5(1), 127-141.

ชิสาพัชร์ โกสีย์รัตนาภิบาล. (2555). การศึกษาปัญหาการออกกลางคันของผู้เรียนสถานศึกษาบ้านจันทเขลม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจันทบุรี เขต 2. (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต), มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี

ธัญญ์พิชชา ท้วมทับ. (2563). แนวทางการป้องกันการออกกลางคันของนักศึกษากลุ่มเสี่ยงกรณีศึกษา: วิทยาลัยเทคนิคอุตรดิตถ์. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 7(6), 60 – 76.

นันธวัช นุนารถ. (2559). แนวทางการป้องกันความเสี่ยงในการออกกลางคันของเด็กและเยาวชนในเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัดนครสวรรค์. วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์, 11 (31), 33-46.

บุญชม ศรีสะอาด. (2551). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

ปริญญา มีสุข. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจออกกลางคันของผู้เรียนอาชีวศึกษา เขตภาคกลาง 1 . วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 10(3), 72 – 83.

เมธีศิน สมอุ่มจารย์. (2563). การศึกษาสภาพปัญหาและแนวทางการแก้ไขปัญหาการออกกลางคัน นักเรียน นักศึกษา วิทยาลัยเทคนิคบึงกาฬ. วารสารรัชต์ภาคย์, 14(34), 101-110.

วชิราภรณ์ โอนไธสง. (2558). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการออกกลางคันของนักเรียนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 32. วิทยานิพนธ์หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

ศิริชัย กาญจนวาสี. (2544). ทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิม. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร :โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและกำลังคนอาชีวศึกษา. (วันที่ 25 มิถุนายน 2564). จำนวนนักเรียน นักศึกษาอาชีวศึกษาภาครัฐ ประจำปีการศึกษา 2563 จำแนกสถานศึกษาและระดับชั้น. สืบค้นเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2564, จาก http: //std2018.vec.go.th

สมภาร มีอุเทน และคณะ. (2560). การศึกษาสาเหตุและแนวทางการบริหารจัดการการออกกลางคันของนักเรียนนักศึกษา วิทยาลัยการอาชีพหนองกุงศรี จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 23(1), 238.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 1.(2554). สมุดบันทึกประจำปี 2554. จันทบุรี : สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 1.

สำนักมาตรฐานการอาชีวศึกษาและวิชาชีพ (2562). หลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติการจัดการอาชีวศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ และระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง เรื่องที่ 1 การจัดการอาชีวศึกษา. กรุงเทพฯ: วิทยาลัยเทคนิคมีนบุรี.

สุเกษร ชุ่มสวัสดิ์. (2562). การศึกษาสภาพปัญหา และแนวทางแก้ปัญหาการออกกลางคันของผู้เรียนวิทยาลัยอาชีวศึกษาชุมพร สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี, สุราษฎร์ธานี.

เอกบุตร อยู่สุข. (2549). สาเหตุการออกกลางคันของนักศึกษา หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) วิทยาลัยการอาชีพพุทธมณฑล สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต, สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, กรุงเทพมหานคร.

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Education and Psychological Measurement, 30 (3), 607-610.

Likert, R. (1967). The Method of Constructing and Attitude Scale. In Reading in Fishbeic. M (Ed.), Attitude Theory and Measurement. New York: Wiley & Son.