การพัฒนาการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ที่ส่งเสริมทักษะการสื่อสาร และทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ ขั้นบันได 5 ขั้น เพื่อการเรียนรู้ (QSCCS)

Main Article Content

วิภาดา นาเลา

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาผลการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ที่ส่งเสริมทักษะการ สื่อสารและทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบขั้นบันได 5 ขั้น (QSCCS) และ 2) ศึกษาพฤติกรรมการทำากิจกรรมในชั้นเรียน โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบขั้นบันได 5 ขั้น (QSCCS) กลุ่มตัวอย่างใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักศึกษาชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาคณิตศาสตร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ จำานวน 25 คน ใช้วิธีการสุ่มแบบกลุ่ม โดยมีห้องเรียนเป็นหน่วยการสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ที่ส่งเสริมทักษะการสื่อสารและทักษะ การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบขั้นบันได 5 ขั้น (QSCCS) แบบวัดผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบขั้นบันได 5 ขั้น (QSCCS)และแบบประเมินพฤติกรรมการทำากิจกรรมในชั้นเรียน ทำาการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบ t-test (dependent)ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาการวิเคราะห์เนื้อหากลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบขั้นบันได 5 ขั้น (QSCCS) หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำาคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
2. พฤติกรรมการทำากิจกรรมในชั้นเรียนโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบขั้นบันได 5 ขั้น (QSCCS)ภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.52 พิจารณารายด้านพบว่า พฤติกรรมอยู่ในระดับมากมี


3 ด้าน คือ ด้านการสื่อสารและนำาเสนอ (Learning to Communicate: C) มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.70ด้านการสืบค้นความรู้จากแหล่งเรียนรู้และสารสนเทศ (Learning to Search: S) มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.63และด้านสรุปองค์ความรู้ (Learning to Construct: C) มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.57 และพฤติกรรมอยู่ในระดับ
ปานกลางมี 2 ด้าน คือ ด้านการตั้งประเด็นคำาถาม (Learning to Question: Q) มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.48และด้านการบริการสังคม (Learning to Serve: S) มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.20

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
นาเลา ว. (2022). การพัฒนาการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ที่ส่งเสริมทักษะการสื่อสาร และทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ ขั้นบันได 5 ขั้น เพื่อการเรียนรู้ (QSCCS). วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 16(4), 170–182. สืบค้น จาก https://so09.tci-thaijo.org/index.php/JOEMSU/article/view/1148
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551.

กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2561). รายงานการศึกษาไทย พ.ศ.2561. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2553). สถิติสำาหรับงานวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: ธรรมสาร.

ฉวีวรรณ แก้วไทรฮะ และบุญทอง บุญทวี. (2559). การพัฒนารูปแบบเครื่องมือการวัดทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น. สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ

(องค์การมหาชน), กรุงเทพมหานคร.

ทิพรัตน์ สิทธิวงศ์ และทะเนศ วงศ์นาม. (2559). การศึกษาผลการใช้กิจกรรมการเรียนการสอนด้วยบันได5 ขั้น (QSCCS) สำาหรับนิสิตปริญญาโท สาขาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. วารสารศึกษา

ศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 18(4), 86-98.

วณิชชา แม่นยำ และทิพรัตน์ สิทธิวงศ์. (2557). การจัดการเรียนรู้ตามเป้าหมายบันได 5 ขั้น (QSCCS)ด้วยสื่อสังคมออนไลน์สำาหรับการเสริมสร้างศักยภาพเพื่อการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21.

วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยศิลปากร, 11(1), 101-110.

วาสนา กีรติจำาเริญ และเจษฎา กิตติสุนทร. (2559). ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษารายวิชาการออกแบบและการจัดการเรียนรู้ จากการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบ Big Five

Learning. วารสารชุมชนวิจัย, 10(3), 9-19.

วิภาดา นาเลา. (2561). การพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ที่เน้นการให้เหตุผล เรื่อง การหาผลเฉลยของระบบสมการเชิงเส้น ของนักศึกษาสาขาวิชาคณิตศาสตร์.

ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต คณิตศาสตรศึกษา, มหาวิทยาลัยรามคำาแหง, กรุงเทพมหานคร.

สุภาณี เส็งศรี และวลีพร ปันนา. (2561). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยกระบวนการเรียนรู้ QSCCSร่วมกับการเรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ในชุมชน เพื่อส่งเสริมความสามารถการเชื่อมโยงทาง

คณิตศาสตร์สำาหรับนักเรียนมัธยมศึกษา. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 20(4),253-265.

มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์. (2554). หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตร์ (5 ปี)หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2555 มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์. เพชรบูรณ์: มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์.