มาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพ สาขาวิชาชีพการเดินเรือพานิชย์

Main Article Content

ธันยธรณ์ คาวาซากิ
ณฐาพัชร์ วรพงศ์พัชร์

บทคัดย่อ

สมรรถนะของบุคคลในกลุ่มอาชีพการเดินเรือสำหรับประเทศไทยที่ใช้อยู่ในปัจจุบันจะอยู่ภายใต้การควบคุม และดูแลโดยกรมเจ้าท่าภายใต้ข้อบังคับกรมเจ้าท่าเกี่ยวกับการสอบความรู้ของผู้ทําการในเรือ พ.ศ. 2557  และอนุสัญญา STCW 2010 โดยกล่าวถึงบทบาทหน้าที่ในการปฏิบัติงานบนเรือ ซึ่งมีการกำหนดสมรรถนะ ความรู้ความเข้าใจและความเชี่ยวชาญ วิธีการทดสอบสมรรถนะ และเกณฑ์การประเมินสมรรถนะของนายประจำเรือ ที่สอดคล้องกับการกําหนดมาตรฐานของเรือประมงตลอดจนผู้ควบคุมเรือประมง และลูกเรือประมงให้มีความพร้อมที่จะออกไปทําการประมงนอกน่านนํ้าโดยไม่ขัดต่อหลักกฎหมายระหว่างประเทศ


สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) จึงได้ร่วมมือกับวิทยาลัยเทคโนโลยีทางทะเลแห่งเอเชีย (Asian Maritime Technological College; AMCOL) เพื่อจัดทำมาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพ สาขาวิชาชีพการเดินเรือ สาขาเดินเรือประมง ประกอบด้วย 4 อาชีพ คือ อาชีพนักเดินเรือประมง อาชีพลูกเรือประมง อาชีพนักวิทยุสื่อสาร และอาชีพคนครัว โดยมุ่งเน้นที่จะกำหนดสมรรถนะของบุคลากรทางด้านการเดินเรือประมง


หน่วยสมรรถนะทั้งหมดในมาตรฐานอาชีพ รวมทั้งสิ้น 27 หน่วยสมรรถนะ ดังนี้ 1) อาชีพนักเดินเรือประมง ชั้น 3 มี 10 หน่วยสมรรถนะ,ชั้น 4 มี 4หน่วยสมรรถนะ, ชั้น 5 มี 2 หน่วยสมรรถนะ 2) อาชีพลูกเรือประมงชั้น 2 มี 2 หน่วยสมรรถนะ, ชั้น 3 มี 5 หน่วยสมรรถนะ, ชั้น 4 มี 6 หน่วยสมรรถนะ 3) อาชีพคนครัว ชั้น 1  มี 2  หน่วยสมรรถนะ, ชั้น 2 มี 2 หน่วยสมรรถนะ, ชั้น 3 มี 2 หน่วยสมรรถนะ 4) อาชีพนักวิทยุสื่อสาร ชั้น 1 มี 3 หน่วยสมรรถนะ, ชั้น 2 มี 3 หน่วยสมรรถนะ 

Article Details

บท
บทความวิชาการ