การจัดการอะไหล่ในโรงงานอุตสาหกรรม กรณีศึกษา บริษัท เอสเอ็มที จำกัด
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาและพัฒนาการทำงานของหน่วยงานซ่อมบำรุงในบริษัท เอสเอ็มที จำกัด ในหัวข้อการบริหารจัดการอะไหล่ที่ประสบปัญหาการขาดแคลนของอะไหล่ รวมไปถึงการนำเข้าอะไหล่ด่วนจากต่างประเทศเพื่อแก้ปัญหาเครื่องจักรหยุดทำงาน ทำให้มีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูงในการแก้ไขเครื่องจักรหยุดทำงานแต่ละครั้ง กรณีศึกษาการจัดการอะไหล่ในโรงงานอุตสาหกรรม บริษัท เอสเอ็มที จำกัด เป็นการวิจัยแบบเชิงปริมาณ (Quantitative Research) มีเครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ การศึกษาสถิติการใช้งานอะไหล่ในช่วงระยะเวลา 3 เดือนของเครื่องจักร โดยมีกลุ่มตัวอย่างอะไหล่ คือ กระดาษกรองแบบม้วนที่ใช้กรองกากของสิ่งปฏิกูล (สลัดจ์) ของเครื่องจักร Grinding แผนกผลิต ทางผู้วิจัยได้ทำการศึกษาโดยใช้ระบบการควบคุมสินค้าคงคลัง 2 วิธีการ วิธีการที่ 1 คือ การควบคุมโดยใช้ระบบสองคลังสินค้า โดยแบ่ง ปริมาณสินค้าออกเป็นสองส่วน ส่วนหนึ่งเก็บไว้และใช้อีกส่วนหนึ่งจนหมด ต่อมาก็เริ่มใช้ส่วนที่เก็บและสั่งสินค้าเข้ามาทดแทนในส่วนที่เพิ่งใช้หมดไปสลับกันไป มีต้นทุนในการสั่งซื้อและจัดเก็บรวม 112,000 บาท และวิธีการที่ 2 คือ ระบบควบคุมโดยสั่งสินค้าเป็นปริมาณคงที่ วิธีนี้จะสั่งสินค้าเป็นปริมาณเท่ากันทุกครั้ง ซึ่งจะสะดวกในการสั่งและการขนส่ง และการสั่งสินค้าจะเริ่มเมื่อปริมาณสินค้าในคลังสินค้าถึงระดับที่ต้องสั่ง (Re-Order Point; RP) เท่านั้น โดยไม่คำนึงถึงช่วงเวลา มีต้นทุนในการสั่งซื้อและจัดเก็บรวม 38,000 บาท
ในการศึกษาการจัดการอะไหล่จากกลุ่มตัวอย่างพบว่าระบบควบคุมวิธีการที่ 2 การสั่งสินค้าเป็นปริมาณคงที่ จากวิธีการคำนวณหาปริมาณการสั่งซื้อที่เหมาะสมต่อครั้ง ต้นทุนรวม จุดสั่งซื้อ จำนวนครั้งในการสั่งซื้อ ปริมาณสินค้าต่ำสุด ปริมาณสินค้าสูงสุด สามารถแก้ไขปัญหาการขาดแคลนอะไหล่ได้มากที่สุด ซึ่งสอดคล้องกับความต้องการในการลดต้นทุนของอะไหล่ในบริษัท
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.