บริหารจัดการสภาพแวดล้อมภายในสถานศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร
คำสำคัญ:
สภาพแวดล้อม, การบริหารสถานศึกษา, โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานครบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยชิงสำรวจมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบระดับความพึงพอใจของครูในสังกัดกรุงเทพมหานครที่มีต่อการบริหารการจัดสภาพแวดล้อมภายในสถานศึกษาสังกัด กรุงเทพมหานคร โดยจำแนกตามวุฒิการศึกษา วิทยฐานะ และขนาดสถานศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูในสังกัดกรุงเทพมหานคร ปี พ.ศ. 2566 จำนวน 372 คน โดยการกำหนดกลุ่มตัวอย่างจากการเปิดตารางกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างของ Cohen และใช้วิธีการเลือกสถานศึกษาจากการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการ วิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณ 5 ค่า จำนวน 39 ข้อ มีค่าความสอดคล้อง อยู่ระหว่าง 0.80 – 1.00 และค่าความ เชื่อมั่น ด้วยการหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค เท่ากับ 0.955 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way Analysis of Variance) และเปรียบเทียบ ความแตกต่างของค่าเฉลี่ยรายคู่โดยวิธีของ (Scheffe’s post hoc comparison method)
ผลการวิจัยพบว่า 1) การบริหารการจัดสภาพแวดล้อมการบริหารจัดการจัดสภาพแวดล้อมภายในสถานศึกษาตามควานคิดเห็นของครู สังกัดกรุงเทพ มหานคร โดยภาพรวมรายด้านอยู่ในระดับมาก โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการจัดการความปลอดภัย รองลงมาคือ ด้านการเรียนการสอน และด้านที่มีคำเฉลี่ยต่ำ ที่สุด คือ ด้านการบริหารจัดการ 2) ผลการเปรียบเทียบผลเปรียบเทียบความพึงพอใจต่อการบริหารการจัดสภาพแวดล้อมการบริหารจัดการจัดสภาพแวดล้อมภายในสถานศึกษา ตามความพึงพอใจของครูสังกัดกรุงเทพมหานคร พบว่า ครูที่มีวุฒิการศึกษาต่างกัน มีความพึงพอใจต่อการบริหารจัดการสภาพแวดล้อมภายในสถานศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร โดยภาพรวม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านการบริหารจัดการ ด้านการเรียนการสอน ด้านการจัดการความปลอดภัย แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ยกเว้นด้านการบริหารจัดการ และด้านกายภาพ ไม่แตกต่างกัน ครูที่มีวิทยฐานะต่างกัน มีความพึงพอใจต่อการบริหารจัดการสภาพแวดล้อมภายในสถานศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร โดยภาพรวมและรายด้าน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และครูที่มีขนาดสถานศึกษาต่างกัน มีความพึงพอใจต่อการบริหารจัดการสภาพแวดล้อมภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักกรุงเทพมหานคร โดยภาพรวมและรายด้าน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
References
กนกอร อุ่นสถานนท์. (2563). การบริหารด้านความปลอดภัยของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2 กรุงเทพมหานคร. วารสารวไลยอลงกรณ์ ปริทัศน์ (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์).
กิตติญาดา เมฆแสง. (2559). การศึกษาปัญหาและแนวทางแก้ปัญหาการจัดการสภาพแวดล้อมและบรรยากาศ ที่ส่งเสริมการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาอังกฤษของสถานศึกษา สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1. มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.
ครองยุทธ นบนอบ สมศักดิ์ เอี่ยมคงสี และพจนีย์ มั่งคั่ง. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จการบริหารความเสี่ยงในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 2. มหาวิทยาราชภัฏราชนครินทร์.
จันทรา อิ่มในบุญ. (2559). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารงานโดยใช้หลักธรรมาภิบาล ของผู้บริหารสถานศึกษากับความผูกพันต่อองค์กรของครูผู้สอน สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 17. มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.
ชุติมาพร เชาวน์ไว. (2562). บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการบริหารแหล่งเรียนรู้ภายในสถานศึกษา สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดปทุมธานี. มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.
ณฐมนต์ ปัญจวีณิน. (2553). สภาพแวดล้อมทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนบ้านไร่ จันดี สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาระยอง เขต 1. มหาวิทยาลัยบูรพา.
ณิศศา ณภาส์ณัฐ. (2558). สภาพแวดล้อมสถานศึกษาในสังกัดเทศบาลเมืองกาญจนบุรี. ภาคนิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี.
ทรรศนีย์ วราห์คํา. (2554). การศึกษาการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของโรงเรียนวัดจันทร์ประดิษ ฐาราม สังกัดสำนักงานเขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ธีระ รุญเจริญ. (2550). ความเป็นมืออาชีพในการจัดและบริหารการศึกษายุคปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพฯ: ข้าวฟ้าง.
นิตยา แก่นพุฒ. (2563). การบริหารสภาพแวดล้อมในสถานศึกษาขนาดใหญ่พิเศษของโรงเรียนกาญจนา. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
บุญเพ็ง นิลสมบูรณ์. (2561). ความคิดเห็นของครูที่มีต่อการบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษา ในสำนักงานเขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
พงศ์ศรัณย์ จันทรัตน์. (2556). ความพงึพอใจของครูต่อการบริหารงานบุคคลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต4. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช.
เรณุกา ศรีสวัสดิ์. (2560). บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการบริหารแหล่งเรียนรู้ภายในสถานศึกษา สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดปทุมธานี. มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.
วิทยา วิทยวงศาโรจน์. (2552). ความพึงพอใจที่มีต่อสภาพแวดล้อมทางการเรียนของนักเรียน โรงเรียนบ้านวังดินสอ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปราจีนบุรี เขต 2. มหาวิทยาลัยบูรพา.
วรจักร ใจแกล้ว. (2554). การศึกษาสภาพการบริหารแหล่งเรียนรู้ ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด. ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.
สุมณฑิรา นิยะมะ และภารดี อนันต์นาวี. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี. มหาวิทยาลัยบูรพา.
อชิระ วิริยสุขหทัย. (2564). รูปแบบการบริหารสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ในสถานศึกษา สังกัด สำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.
อดิพันธ์ อมาตยคง. (2552). การจัดการเรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสมุทรสงคราม. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
อารียา สตารัตน์. (2556). การจัดสภาพแวดล้อมในสถานศึกษาของโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร สำนักงานเขตราชเทวี. มหาวิทยาลัยศิลปากร
อุมาวดี ยลวงศ์. (2553). สภาพปัญหาการบริหารแหล่งเรียนรู้ในสถานศึกษา ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์.
Chinekesh, A. (2017). Exploring the youth experience about sense of social security: a qualitativestudy. Electronic Physician. 9(12), 6019-6020.
McVey, G. F. (1990). Ergonomics and the learning enviromant. Boston: Boston University.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.