เจาะลึกผ้าใบโมเดลธุรกิจเครื่องมือเพิ่มความได้เปรียบทางการแข่งขันอย่างยั่งยืนของธุรกิจ
คำสำคัญ:
ผ้าใบโมเดลธุรกิจ, ความได้เปรียบทางการแข่งขัน, ความยั่งยืนของธุรกิจบทคัดย่อ
ในสถานการณ์ที่มีการแข่งขันสูง ธุรกิจทุกประเภทต้องมีการปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง การกำหนดกลยุทธ์ของธุรกิจที่เหมาะสมและมีความยืดหยุ่นง่ายจึงเป็นเรื่องสำคัญต่อการสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน ผ้าใบโมเดลธุรกิจ หรือ BMC จึงถือเป็นเครื่องมือหนึ่งที่สำคัญที่ช่วยในการวางแผนธุรกิจได้ เนื่องจากเป็นเครื่องมือที่ใช้ง่าย สามารถออกแบบธุรกิจได้ในแผนภาพแผ่นเดียว และมองเห็นภาพรวมของกิจกรรมทางธุรกิจ รวมทั้งความสัมพันธ์ของแต่ละกิจกรรม จึงช่วยให้ธุรกิจสามารถออกแบบกลยุทธ์ รวมทั้งปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ของธุรกิจให้เหมาะสมกับการแข่งขันได้อย่างทันท่วงที โดย BMC ประกอบไปด้วยกิจกรรมหลัก 9 กิจกรรม แบ่งออกเป็น 2 ส่วนที่สำคัญ คือ กิจกรรมส่วนหน้า 5 กิจกรรม ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ใกล้ชิดกับลูกค้า มีเป้าหมายในการสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าเพื่อให้เกิดการซื้อซ้ำและบอกปากต่อปากเพื่อให้เกิดการขยายธุรกิจ ประกอบไปด้วย 1) กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย 2) ข้อเสนอคุณค่า 3) ช่องทางการจำหน่าย 4) ความสัมพันธ์กับลูกค้า และ 5) กระแสรายได้ ส่วนกิจกรรมส่วนหลัง 4 กิจกรรม ซึ่งเป็นกิจกรรมที่สนับสนุนการดำเนินงานของกิจกรรมส่วนหน้าให้ไม่ติดขัด และส่งผลต่อการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน ประกอบไปด้วย 1) ทรัพยากรสำคัญ 2) กิจกรรมสำคัญ 3) พันธมิตรสำคัญ และ 4) โครงสร้างต้นทุน โดยเป้าหมายของการดำเนินกิจกรรมทั้ง 9 กิจกรรม คือ การสร้างกระแสรายได้ให้มากกว่าโครงสร้างต้นทุน ซึ่งจะทำให้ธุรกิจได้รับผลกำไรและสามารถสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันได้อย่างยั่งยืน
References
Daou, A., Mallta, C., Chammas, G., Cerantola, N., Kayed, S., and Saliba, N. A. (2020). The Ecocanvas as a business model canvas for a circular economy. Journal of Cleaner Production, 258, 1-12.
Keane, S. F., Cormican, K. T., and Sheahan, J. N. (2018). Comparing how entrepreneurs and managers represent the elements of the business model canvas. Journal of Business Venturing Insights, 9, 65-74.
Magretta, J. (2002). Why business models matter. Harvard Business Review, 80(5), 86-92.
Rytko¨nen, E., and Nenonen, S. (2014). The Business Model Canvas in university campus management. Intelligent Buildings International, 6(3), 138-154. Doi: doi.org/10.1080/17508975.2013.807768.
Sadikin, A., Naim, S., Asmara, M. A., Hierdawati, T., and Boari, Y. (2023). Innovative strategies for MSME business growth with the business model canvas approach. Enrichment: Journal of Management, 13(2), 1478-1484.
Toro-Jarrín, M. A., Ponce-Jaramillo, I. E., and Güemes-Castorena, D. (2016). Methodology for the of building process integration of Business Model Canvas and Technological Roadmap. Technological Forecasting & Social Change, 110, 213-225.
Umar, A., Sasongko, A. H., Aguzman, G., and Sugiharto. (2018). Business model canvas as a solution for Competing strategy of small business in INDONESIA. International Journal of Entrepreneurship, 22(1), 1-9.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.