การจัดการศึกษาแบบไฮบริดโดยครอบครัว: ทางเลือกใหม่สำหรับเจนเนเรชั่นแอลฟ่า
คำสำคัญ:
การจัดการศึกษาแบบไฮบริดโดยครอบครัว, เจนเนเรชั่นแอลฟาบทคัดย่อ
ในสังคมที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การศึกษาในสถานศึกษายังคงมีข้อจำกัดหลายประการ ทั้งหลักสูตรที่ล้าหลังและไม่ตอบสนองต่อความต้องการของผู้เรียน รวมถึงความแออัดของชั้นเรียนในโรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษที่มีชื่อเสียง ซึ่งอาจนำไปสู่ปัญหาต่าง ๆ เช่น การกลั่นแกล้งกันระหว่างเพื่อน การจัดการศึกษาโดยครอบครัวหรือที่เรียกว่าโฮมสคูลจึงกลายเป็นทางเลือกที่ผู้ปกครองสนใจ เนื่องจากความยืดหยุ่นและการเน้นพัฒนาผู้เรียนอย่างเฉพาะเจาะจง อย่างไรก็ตาม การศึกษารูปแบบนี้ยังมีข้อท้าทายด้านทรัพยากร การตรวจสอบคุณภาพ และโอกาสด้านต่าง ๆ ของผู้เรียน จึงได้มีการนำเสนอแนวคิดการจัดการศึกษาแบบไฮบริดโดยครอบครัว ซึ่งเป็นการผสมผสานการเรียนรู้ที่บ้านกับการเรียนในสถานศึกษาเข้าด้วยกัน เป็นมิติใหม่ของการจัดการศึกษาในประเทศไทย แนวทางนี้มุ่งหวังให้ผู้เรียนสามารถเลือกเรียนรู้ได้อย่างยืดหยุ่น มีทั้งความรู้ในเชิงทฤษฎีและทักษะวิชาชีพที่สามารถนำไปใช้จริง โดยสามารถเลือกศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัยหรือเข้าสู่ตลาดแรงงานได้ทันทีหลังจบการศึกษา
ประเทศต้นแบบที่มีการจัดการศึกษาแบบไฮบริดโดยครอบครัวที่ประสบความสำเร็จ ได้แก่ ออสเตรีย เยอรมนี และสวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งเป็นที่ยอมรับว่ามีระบบการศึกษาด้านอาชีพที่ยอดเยี่ยม ผู้เรียนได้รับการฝึกทักษะวิชาชีพอย่างเต็มที่ พร้อมที่จะเข้าสู่ตลาดแรงงานอย่างมีคุณภาพ การจัดการศึกษาแบบไฮบริดโดยครอบครัวนี้ช่วยเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้พัฒนาทักษะทั้งในด้านทฤษฎีและการปฏิบัติอย่างสมดุล สร้างความพร้อมในการทำงานและการดำเนินชีวิตในอนาคต อีกทั้งยังตอบสนองต่อแนวโน้มของการจ้างงานในอนาคตที่ต้องการผู้มีทักษะและความรู้หลากหลาย
References
สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี. (2560). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560. ราชกิจจานุเบกษา.
สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. ราชกิจจานุเบกษา.
Brian. D. (2013). Ray "Homeschooling Associated with Beneficial Learner and Societal Outcomes but Educators Do Not Promote It”. Peabody Journal of Education. 88: 324–341.
Edwards, C., Gandini, L., & Forman, G. (1998). The Hundred Languages of Children: The Reggio Emilia Approach--Advanced Reflections. Ablex Publishing.
Graf, L. (2013). The Hybridization of Vocational Training and Higher Education in Austria, Germany, and Switzerland. Budrich UniPress Ltd.
Horn. B.M. and Staker. H. (2011). The Rise of K-12 Blended Learning. Unpublished Paper. Innosight Institute.
Marcia J. McKinley, Jesika N. Asaro, Jamie Bergin, Nicole D’Auria, and Katherine E. Gagnon. (2007). Social Skills and Satisfaction with Social Relationshipsin Home-Schooled, Private-Schooled, and Public-Schooled Children. Home School Researcher. 17(3).p. 1-6.
McKinley, M. J., Asaro, J. N., Bergin, J., D'Auria, N., & Gagnon, K. (2007). Social skills and satisfaction with social relationships in home-schooled, private-schooled, and public-schooled children. Home School Researcher. 17(3), 1-6.
McShane, M. (2018). Is Hybrid Homeschooling The Wave Of The Future?. Retrieved from http://bit.ly/2lTtjsU.
Medlin, R. G. (2006). Homeschooled children’s social skills. University of St. Thomas.
Ray, B. D. (2013). Research Facts on Homeschooling. Peabody Journal of Education.
Robinson, K. (2006, February). Do Schools Kill Creativity? [Video]. TED Conferences. https://www.ted.com/talks/sir_ken_robinson_do_schools_kill_creativity.
Richard G. Medlin. (2006). “Homeschooled Children’s Social Skills”. University of St. Thomas. 17(1). p. 1-8
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.