การบริหารแบบมีส่วนร่วมด้านการจัดการความปลอดภัยในสถานศึกษา

ผู้แต่ง

  • พชฏ นรสิงห์ สาขาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
  • สิริญญา โกษะ โรงเรียนศรีบางไทร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2

คำสำคัญ:

การบริหารแบบมีส่วนร่วม, การจัดการความปลอดภัย, สถานศึกษา

บทคัดย่อ

          ความปลอดภัยในโรงเรียนเป็นสิ่งสำคัญที่มีผลต่อการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน แม้ปัจจุบันจะมีนโยบายด้านความปลอดภัยในโรงเรียนของกระทรวงศึกษาธิการแต่ยังคงขาดการบังคับใช้อย่างจริงจัง ดังนั้นโรงเรียนจึงจำเป็นต้องมีการบริหารจัดการความปลอดภัยให้มีความเหมาะสม การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการดำเนินงานด้านการจัดการความปลอดภัยในสถานศึกษา และเพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมและปัจจัยที่มีผลต่อการจัดการความปลอดภัย การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลโดยใช้วิธีการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม

          ผลการศึกษาพบว่าโรงเรียนมีการดำเนินงานด้านความปลอดภัยโดยมีการนำชุมชนเข้ามามีส่วนร่วม โดยมีกระบวนการในการบริหารจัดการความปลอดภัยประกอบด้วย การกำหนดนโยบายและจัดทำแผนความปลอดภัยของสถานศึกษา การประเมินสภาพความเสี่ยงด้านความปลอดภัยและจัดลำดับความเสี่ยง การวางแผนการดำเนินงาน การดำเนินการตามขอบข่ายความปลอดภัย และการกำกับ ติดตาม และประเมินผล ปัจจัยที่เป็นข้อจำกัดและทำให้เป็นอุปสรรคในการจัดการด้านความปลอดภัยของโรงเรียนคือ ด้านบุคลากร ด้านงบประมาณ และด้านสภาพแวดล้อมของโรงเรียน ด้านการมีส่วนร่วมของชุมชน โรงเรียนให้ชุมชนเข้ามามีบทบาทในการร่วมคิด ร่วมตัดสินใจ วางแผน ร่วมดำเนินงาน และร่วมกำกับและติดตามผลการดำเนินงาน

References

กฤษฎา ศรีสุชาติ. (2559). การพัฒนาตัวบ่งชี้และคู่มือโรงเรียนปลอดภัยของสถานศึกษา สังกัดสำนักงาน คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, บัณฑิตวิทยาลัย.

จารุวรรณ์ เหยิบไธสงค์. (2563). การจัดการความปลอดภัยในโรงเรียนอนุบาลเอกชน จังหวัดปทุมธานี. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์, วิทยาลัยครุศาสตร์.

ชฎาพรสุข สิริวรรณ. (2550). คู่มือโรงเรียนปลอดภัย. กรุงเทพฯ: โรงพยาบาลรามาธิบดี.

พัชรา หงคํามี และสุวัฒน์ จุลสุวรรณ์. (2566). การพัฒนาแนวทางดําเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยใช้วงจรคุณภาพเดมมิ่ง (PDCA) สำหรับโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาบุรีรัมย์. วารสารมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด, 12(1), 423-436.

พีรพงศ์ บุญฤกษ์ และนลิตา สอนวาร. (2566). Deming Cycle กับการสอบเข้ามหาวิทยาลัย. วารสารสหวิทยาการวิจัยและนวัตกรรมการศึกษา, 2(1), 29-38.

สมบัติ นามบุรี. (2562). ทฤษฎีการมีส่วนร่วมในงานรัฐประศาสนศาสตร์. วารสารวิจยวิชาการ, 2(1), 183-197.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2567). คู่มือการดําเนินงานความปลอดภัยสถานศึกษา 2564. https://aya1.go.th/files/202205101652166127.pdf.

สุชีรา ใจหวัง และจันทรัศม์ ภูติอริยวัฒน์. (2560). การศึกษาการจัดการความปลอดภัยในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1. วารสารบริหารการศึกษา มศว, 15(28), 50-61.

สุพักตร์ เลยกลาง. (2566). การบริหารด้านความปลอดภัยในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครราชสีมา. วารสารสหวิทยาการวิจัยและวิชาการ, 3(1), 465-474.

อดิศร ดีปานธรรม, ปรีชา ดิลกวุฒิสิทธิ์ และกิตติวงค์ สาสวด. (2562). การพัฒนารูปแบบการจัดการด้านความปลอดภัยแบบมีส่วนร่วมในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารบริหารการศึกษา มศว, 16(31), 66-75.

อภิญญา กังสนารักษ์. (2544). รูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมในองค์กรที่มีประสิทธิผลระดับคณะของสถาบันอุดมศึกษา. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

03-07-2024