การศึกษาสภาพการจัดการเรียนรู้สุขศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครสวรรค์
คำสำคัญ:
สภาพ, การจัดการเรียนรู้สุขศึกษา, ศตวรรษที่ 21บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพการจัดการเรียนรู้สุขศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครสวรรค์ กลุ่มตัวอย่างคือ หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครสวรรค์ จำนวน 37 โรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม แล้วนำผลที่ได้มาวิเคราะห์ทางสถิติ โดยหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า สภาพการจัดการเรียนรู้สุขศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครสวรรค์ โดยรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าอยู่ในระดับที่แตกต่างกัน สามารถจัดอันดับได้ดังนี้ ด้านการวัดและประเมินผล อยู่ในระดับมาก รองลงมาคือด้านหลักสูตร อยู่ในระดับมาก ด้านกิจกรรมการเรียนรู้ อยู่ในระดับมาก และด้านการใช้สื่อการเรียนการสอน อยู่ในระดับมาก ตามลำดับ
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. พิมพ์ครั้งที่ 3.กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุม สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.จำกัด.
แก้วตา เจือนาค และอารีย์ วรเตชะคงคา. (2560). การออกแบบการเรียนรู้เพื่อศตวรรษที่ 21. ในงานประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 9 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม,จังหวัดนครปฐม.
ฉลองชัย แม้นศิริ. (ม.ป.ป). การผลิตสื่อและนวัตกรรมสำหรับการสอนสุขศึกษา. CiassStart. https://www.classstart.org/classes/474.
เดชา ทิพยทิฆัมพร. (2563). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนวิชาสุขศึกษาเพื่อส่งเสริมกระบวนการคิดวิเคราะห์ในการสร้างเสริมสุขภาพสอดคล้องกับคุณลักษณะเด็ก. วิทยานิพนธ์, มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
นพพล สุดชารมย์. (2561). การพัฒนาสื่อการเรียนรู้ เรื่อง กินดีชีวิตก็เป็นสุข สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4: กรณีศึกษาโรงเรียนวัดบ้านหลวง (บัวราษฎร์บำรุง). วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น ฉบับปรับปรุงใหม่. พิมพค์รั้งที่10. กรุงเทพฯ: บริษัท สุวีริยาสาส์น จำกัด.
ภัควลัญชญ์ แท่นนอก และจีราวิชช์ เผือกพันธ์. (2559). การศึกษาสภาพและปัญหาการใช้ หลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษาของโรงเรียนเครือข่ายเพชรเริงรมย์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ชัยภูมิ เขต 3. Journal of Education Khon Kaen University (Graduate Studies Research). 10(4): 91-97.
วรรณา วัดโคกสูง และ วิษณุ สุทธิวรรณ. (2024). แนวคิดการส่งเสริม สุขภาพโดยใช้สุขศึกษาในโรงเรียนขนาดเล็กของประเทศไทย ภายใต้บริบทการพัฒนาที่ยั่งยืน. Interdisciplinary Academic and Research Journal. 4(1): 435-450.
วินัย ทาพันธ์ และอดุลย์ วังศรีคูณ. (2565). การศึกษาสภาพการดำเนินงานการวัดผลและประเมินผลทางการศึกษาของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา พิษณุโลก อุตรดิตถ์. วารสารวิจยวิชาการ. 5(5): 37-50.
เอมอัชฌา วัฒนบุรานนท์ และปัณณวิชญ์ ปิยะอร่ามวงศ์. (2561). สุขศึกษากับการพัฒนาสุขภาพ ในศตวรรษที่ 21. Chulalongkorn Medical Journal. 62(5): 871-878.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.