ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้บริการเคอรี่เอ็กซ์เพรส ในอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
คำสำคัญ:
เคอรี่เอ็กซ์เพรซ, ส่วนประสมทางการตลาด(7Ps), ปัจจัยด้านแบรนด์, ปัจจัยด้านคุณภาพการบริการบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้เป็นการทำวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยด้านตราสินค้า ศึกษาปัจจัยด้านคุณภาพการบริการและศึกษาส่วนประสมทางการตลาด (7Ps) ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ด้านลักษณะทางกายภาพ ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้บริการเคอรี่เอ็กซ์เพรซ ในอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา โดยเก็บแบบสอบถามจำนวน 400 คน โดยใช้การวิเคราะห์ข้อมูลสถิติพรรณนาและการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ จากผลการศึกษาพบว่าค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามในกลุ่มตัวอย่าง 400 คน เท่ากับ 0.993 และกลุ่มตัวอย่างเพศหญิงมีสัดส่วนมากกว่าเพศชายคือร้อยละ 64.1 กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่อยู่ในช่วงอายุ 18-25 ปี ร้อยละ 89.9 มีสถานภาพโสด ร้อยละ 94.8 มีระดับการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี ร้อยละ 53.1 ซึ่งประกอบอาชีพเป็นนักเรียนนักศึกษามากที่สุด ร้อยละ 72.2 มีรายได้ที่ต่ำกว่า 15,000 บาทลงมา ร้อยละ 70.9 สำหรับการวิเคราะห์สถิติเชิงอนุมานประกอบด้วยตัวแปรปัจจัยด้านตราสินค้า (Bend) (X1) ปัจจัยด้านการบริการ (The Serqual Model) (X2) ส่วนประสมทางการตลาด (7Ps) (X3) ผลการวิเคราะห์ได้ตามสมการดังต่อไปนี้ Y = -0.029 + 0.176x1 + 0.201x2 + 0.633x3 สรุปได้ว่าปัจจัยด้านส่วนประสมทางการตลาด โดยด้านผลิตภัณฑ์คือการมีบริการครบถ้วนเช่นมีบริการรับส่งสินค้าถึงที่ด้วยแอพพลิเคชั่นส่งผลต่อการตัดสินใจใช้บริการเคอรี่เอ็กซ์เพรซมากที่สุด ซึ่งมีประโยชน์ต่อการตัดสินใจการสร้างกลยุทธ์ทางธุรกิจ ด้านการบริการ
References
กนิดา วงศ์อัศวนฤมล และ ชัยวัฒน์ อุตตมากร. (2563). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจส่งพัสดุ ผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ในประเทศไทย. วารสารศิลป์การจัดการ, วิทยาลัยนวัตกรรมมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
จิรายุฒ เสมา. (2562). ส่วนประสมทางการตลาดบริการและคุณภาพการบริการที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการระบบขนสงพัสดุด่วนภายในประเทศของผู้บริโภคในจังหวัดชลบุรี. สารนิพนธ์, บัณฑิตวิทยาลัย สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น.
ญาธิณี เหลืองทรัพย์ทวี. (2560). ปัจจัยด้านคุณภาพการให้บริการและภาพลักษณ์ตราสินค้าที่มีผลต่อการตัดสินใจ ใช้บริการกรณีศึกษาของบริษัทขนส่งเอกชนเคอรี่ เอกซ์เพรส (Kerry Express) ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
ดลญา แก้วทับทิม. (2561). ภาพลักษณ์ตราสินค้าและการสื่อสารทางการตลาดแบบครบวงจรที่มีผลต่อการตัดสินใจชื้อน้ำดื่อของผู้บริโภค ในเขตกรุงเทพมหานครฯ. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการตลาด คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
ธีรยุทธ อินปัญญา. (2562). การศึกษาเปรียบเทียบปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อความพึงพอใจ การให้บริการส่งพัสดุของบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด และบริษัท เคอรี่ เอ็กซ์เพรซ จำกัด. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยพะเยา.
นาฏยา โพธิมากูล และ อรไท ชั้วเจริญ. ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการบริษัทขนส่งสินค้าของประชากร ในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณทิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
นัตติยา ทองสร้อย. (2561). ความคาดหวังคุณภาพการบริการ (SERVQUAL) ที่ส่งผลต่อความตั้งใจใช้บริการร้านอาหารไทยของ คนในเมืองเฮนเดอร์สัน, นอร์ทแคโรไลน่า ประเทศสหรัฐอเมริกา. การค้นคว้าอิสระเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตร บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
ปภินดา คํามณี และ ศิระ ศรีโยธิน. (2566). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการระบบขนส่งสินค้าของบริษัท เคอรี่ เอ็กซ์เพรส (ประเทศไทย) จํากัด. วารสารนวัตกรรมการจัดการศึกษาและการวิจัย, คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร.
วีรดา ศานติวงษ์การ. (2561). ปัจจัยด้านส่วนประสมทางการตลาด (7Ps) ที่มีผลต่อการตัดสินใจของลูกค้าในการซื้อผลิตภัณฑ์จากร้านขายยาเดอะฟาร์มา ในกรุงเทพมหานคร. สารนิพนธ์, ปริญญาการจัดการมหาบัณฑิตวิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล.
ศิริรัตน์ ญาณปรีชา. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้บริการขนส่งพัสดุของลูกค้าบริษัท แฟลช เอ็กซ์เพรส ในเขตจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัย เทคโนราชมงคลธัญบุรี.
ศิวานนท์ จันทรประวัติ และ กุลกัญญา ณ ป้อมเพ็ชร์. (2562). ความพึงพอใจในคุณภาพการบริการขนส่งพัสดุของไปรษณีย์ไทยที่ส่งผลต่อความภักดีด้านพฤติกรรมของผู้ประกอบธุรกิจสินค้าออนไลน์ในเขตภาคกลาง. วารสารการบริหารและการจัดการ ปริญญามหาบัณฑิต, สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.
สำนักงานพัฒนาธุรกรรมททางอิเล็กทรอนิกส์: ETDA. (2564). ETDA เผยค่าอีคอมเมิร์ซไทยปี 63. https://www.etda.or.th/th/pr-news/ETDA-Reveals-the-Value-of-e-Commerce-in2021.aspx.
อัชฌาวดี โฆษิตานนท์. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของผู้ใช้บริการขนส่งเอกชน เคอรี่ เอ็กซ์เพรส ในกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
Benjamas Withee (2564) “พัสดุล้น ส่งช้า” เช็กสถานะขนส่งไทย วิกฤตโควิดที่กระทบหนักกว่าทุกระลอก.https://workpointtoday.com/thai-express-business-status01/.
Cronbach, L. J. (1984). การวิเคราะห์ข้อมูล. https://sju.ac.th/pap_file/dac1305e697fede625dfa22a6700907d.pdf.
Cochran, W.G. (1977). Wiley: Sampling Techniques. 3rd ed. New York: John Wiley & Sons. https://www.wiley.com/en-us/Sampling+Techniques%2C+3rd+Edition-p-9780471162407.
Google Map. (2567). ที่ตั้งเคอรี่เอ็กซ์เพรซในอำเภอหาดใหญ่. https://www.google.com/search?sca_esv=3741ee2dab0636c6&tbs=lf:1,lf_ui:4&tbm=lcl&q=%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%B3%E0%B9%80%E0%B8%A0%E0%B8%AD%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%94%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B8%8D%E0%B9%88.
Kahle, L. R., & Kim, C. (2006). Creating images and the psychology of marketing communication. New Jersey: Lawrence Erlbaum Associates. https://www.routledge.com/Creating-Images-and-the-Psychology-of-Marketing-Communication/Kahle-Kim/p/book/9780415647076.
KERRY EXPRESS. (2566). รายงานความยั่งยืนและตัวเลขผลการดำเนินงาน. https://investor.th.kerryexpress.com/th/downloads/sustainability-report-and-performance-data.
Kris Piroj. (2560). Service Quality หรือ SERVQUAL คืออะไร? มีอะไรบ้าง. https://greedisgoods.com/servqual-%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD/.
Rov inelli & Hambleton. (1977). ขั้นตอนการสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย. https://www.scirp.org/reference/referencespapers?referenceid=2474710.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.