การนิเทศชั้นเรียนแนวใหม่: ปลดปล่อยศักยภาพการเรียนรู้เชิงรุก

ผู้แต่ง

  • วรพล ศรีเทพ ผู้อำนวยการโรงเรียนไทยรัฐวิทยา ๑๐๒ (บ้านเกาะเต่า)
  • พงพัฒน์ รักด้วง ศึกษานิเทศก์ชำนาญการพิเศษ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพัทลุง เขต 1

คำสำคัญ:

การนิเทศชั้นเรียนแนวใหม่, การจัดการเรียนรู้เชิงรุก, รูปแบบ “USE-2BS” 7 องค์ประกอบ

บทคัดย่อ

          การศึกษาในยุคสมัยปัจจุบันประสบกับความท้าทายมากมาย เนื่องจากความเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีและความต้องการทักษะใหม่ ๆ ในหมู่นักเรียน ด้วยเหตุนี้ การนิเทศชั้นเรียนจึงเป็นเครื่องมือสำคัญในการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพของการสอนและการเรียนรู้ บทความนี้เสนอรูปแบบการนิเทศชั้นเรียนแนวใหม่ที่เน้นการเรียนรู้เชิงรุก ผ่านการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลและวิธีการที่มีส่วนร่วมมากขึ้นจากผู้เรียน โดยได้วิเคราะห์ปัญหาที่ครูและนักเรียนเผชิญในยุคปัจจุบัน และเสนอกระบวนการนิเทศที่รวมเทคนิค Coaching Mentoring และ Supporting เพื่อเสริมสร้างความสามารถของครูในการสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมและสร้างสรรค์ ทำให้เกิดการพัฒนาการนิเทศชั้นเรียนแนวใหม่เพื่อส่งเสริมศักยภาพการเรียนรู้เชิงรุกรูปแบบ “USE-2BS” 7 องค์ประกอบ (3 กระบวนการ 2 ปัจจัยความสำเร็จ) ได้แก่ องค์ประกอบที่ 1 วัตถุประสงค์ องค์ประกอบที่ 2 เนื้อหา องค์ประกอบที่ 3 หลักการ/เทคนิคการนิเทศแนวใหม่ องค์ประกอบที่ 4 กระบวนการ 1) การตระหนักรู้  ขั้นที่ 1 รับรู้ปัญหาและข้อมูลพื้นฐาน ขั้นที่ 2 ศึกษาบริบท และรวบรวม วิเคราะห์ข้อมูล 2) การสนับสนุน ขั้นที่ 3 กำหนดเป้าหมาย ขั้นที่ 4 วางแผน ออกแบบ 3) การเสริมสร้างอำนาจ ขั้นที่ 5 ลงมือทำ ขั้นที่ 6 สะท้อนผลการเรียนรู้ ขั้นที่ 7 พัฒนาให้ยั่งยืน องค์ประกอบที่ 5 เครือข่ายการนิเทศทางวิชาการ องค์ประกอบที่ 6 การใช้เทคโนโลยีดิจิทัล องค์ประกอบที่ 7 ปัจจัยความสำเร็จ ได้แก่ 1) แผนแม่บทสำหรับความสำเร็จ 2) การมีส่วนร่วมด้านพฤติกรรม 3) ความยั่งยืนและการขยายผล ซึ่งผลการศึกษาดังกล่าวเน้นย้ำถึงความจำเป็นในการพัฒนาและปรับเปลี่ยนรูปแบบการนิเทศให้ทันสมัยและสอดคล้องกับความต้องการที่หลากหลายของทั้งผู้นิเทศและผู้รับการนิเทศ ทั้งนี้เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุกอย่างมีประสิทธิภาพในยุคดิจิทัล

References

จิติมา วรรณศรี. (2563). นวัตกรรมสู่การพัฒนาสถานศึกษา. พิษณุโลก: รัตนสุวรรณการพิมพ์.

ชาคริยา ชายเกลี้ยง. (2563). รูปแบบการนิเทศแบบผสมผสานเพื่อส่งเสริมการวิจัยของครูระดับมัธยมศึกษา.

วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์. 6(10). 5345-5361.

ธิดา ขันดาวงศ์. (2557). การพัฒนารูปแบบการนิเทศแนวใหม่ เพื่อพัฒนาคุณภาพครูปฐมวัย สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารราชพฤกษ์. 12(1). 45-51.

เวียงชัย แสงทอง. (2566). รูปแบบการนิเทศแบบผสมผสานเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก ของครูโรงเรียนประถมศึกษา. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์. 11(3). 1195-1205.

สรรเพชญ ศิริเกตุ. (2563). การพัฒนารูปแบบการนิเทศภายในแบบมีส่วนร่วมของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดกาฬสินธุ์. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2561). รายงานประจำปี 2561. สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดกาฬสินธุ์. (2560). การนิเทศเข้าใจ เข้าถึง พัฒนา. สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดกาฬสินธุ์.

สุริยนต์ กัลยาณี. (2566). การจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เพื่อพัฒนาทักษะผู้เรียนในศตวรรษที่ 21. https://www.chan1.net/book/2824.

สุคนธ์ สินธพานนท์. (2560). ครูยุคใหม่กับการจัดการเรียนรู้ สู่การศึกษา 4.0. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศานิต โหนแหย็ม. (2560). สภาพปัญหาการนิเทศภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษา เขต 18. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา.

เอกรัฐ ทุ่งอ่วน. (2566). รูปแบบการนิเทศแนวใหม่ : ทางออกการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน. วารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตแพร่. 9(1). 241-251.

Bureau of Educational Testing. (2022). Basic National Education Test Report, Academic Year 2021. Bangkok: Office of The Basic Education Commission.

Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST). (2021). PISA 2018 Assessment Results Reading, Mathematics and Science. Bangkok: Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology

Downloads

เผยแพร่แล้ว

03-07-2024