ปรทัศนะของชาวชุมชนต่อโครงการพัฒนาหมู่บ้านตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของอำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่
คำสำคัญ:
ทัศนะของชาวชุมชน, ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง, เชียงใหม่บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทัศนะของชาวชุมชนต่อโครงการพัฒนาหมู่บ้านตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของอำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อเปรียบเทียบทัศนะของชาวชุมชนต่อโครงการพัฒนาหมู่บ้านตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ประชากรและกลุ่มตัวอย่าวได้แก่ ชุมชนที่มีสิทธ์เลือกตั้งที่อาศัยอยู่ในอำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือ แบบสอบถาม จำนวน 400 ราย ซึ่งสถิติได้แก่ การแจกแจงค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สำหรับการทดสอบสมมติฐานจะใช้สถิติการทดสอบค่า t (t-test) และ การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA) โดยกำหนดค่านัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ผลการวิจัยพบว่า ชาวชุมชนอำเภอดอยดอยสะเก็ดส่วนใหญ่เป็นหญิง คิดเป็นร้อยละ 64.50 คนโดยอยู่ในช่วงอายุ 20 – 30 ปี วุฒิการศึกษาอยู่ในระดับประถมศึกษา คิดเป็นร้อยละ 41.50 ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม คิดเป็นร้อยละ 71.50 รายได้เฉลี่ยต่อปีส่วนใหญ่พบว่าอยู่ที่ 200,001 บาท ขึ้นไป ระยะเวลาที่พักอาศัยในชุมชนส่วนใหญ่จะพักอาศัยในชุมชนต่ำกว่า 10 ปี รองลงมามากกว่า 25 ปี ทัศนะต่อโครงการพัฒนาหมู่บ้านตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงใน 6 ด้าน ในภาพรวมอยู่ในระดับเห็นด้วยเห็นด้วยค่อนข้างมาก ( = 3.75) การทดสอบสมมติฐาน พบว่า ชาวชุมชนที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษาสูงสุด สถานที่พักอาศัย ระยะเวลาที่พักอาศัยในชุมชน รายได้เฉลี่ยต่อปี แตกต่างกัน ทัศนะของชาวชุมชนต่อโครงการพัฒนาหมู่บ้านตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ไม่มีความสัมพันธ์กัน ยกเว้น ชาวชุมชนที่มีอาชีพแตกต่างกัน ทัศนะของชาวชุมชนต่อโครงการพัฒนาหมู่บ้านตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง แตกต่างกันในด้านการลดรายจ่าย ด้านการเพิ่มรายได้และด้านการประหยัดอย่างมีนัยทางสถิติที่ระดับ 0.05
References
กระทรวงมหาดไทย. (2561). แบบประเมินหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง. http://www.cddchiangrai.com/suffi/manual_assess52.pdf.
กลุ่มงานเศรษฐกิจพอเพียง. (2548). เศรษฐกิจพอเพียงคืออะไร. กรุงเทพมหานคร. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง สำนักงานคณะกรรมการการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). การประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง. กรุงเทพฯ. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
คลังปัญญาไทย. (2549). เศรษฐกิจพอเพียง. http://sufficiencyeconomy.panyathai.or.th.
ฉลองภพ สุสังกร์กาญจน์. (2542). เศรษฐกิจพอเพียงกับวิกฤตเศรษฐกิจ. กรุงเทพมหานคร:สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
ขจรอรรถพณ พงศ์วิริทธิ์ธร. (2554). การตัดสินใจซื้อเครื่องสำอางของผู้ชาย. สารนิพนธ์ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยแม่โจ้.
วิรัช วิรัชนิภาวรรณ. (2551). การบริหารจัดการตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงในชุมชน. http://www.wiruch.com/articles.
นิรันดร์ จงวุฒิเวศย์. (2549). การนำแผนชุมชนไปใช้เป็นเครื่องมือในการบริหารจัดการในการพัฒนา. http://cddweb.cdd.go.th/prcdd/imagetoweb/panchumchon3.doc.
สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดเชียงใหม่ กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย. (2560). หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ จังหวัดเชียงใหม่. http://chiangrai.cdd.go.th/services/moobaansuffi.
สุเมธ ตันติเวชกุล. (2542). เศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
สำนักบริหารทะเบียน กรมการปกครองกระทรวงมหาดไทย (2560). จำนวนครัวเรือน. http://service.nso.go.th/nso/nsopublish/districtList/S010107/th/36.htm.
อี เอฟ ชูมัคเกอร์.(2554). เศรษฐศาสตร์บนทางสายกลาง. http://www.siamintelligence.com/100th-schumacher-buddhist-economy.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.