การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาการเกษตรประจำตำบลหมูม่น อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี
คำสำคัญ:
แผนพัฒนาการเกษตรประจำตำบล, การมีส่วนร่วม, ประชาชนบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาการเกษตรประจำตำบลหมูม่น 2) เพื่อเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาการเกษตรประจำตำบลหมูม่น และ 3) เพื่อศึกษาแนวทางการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาการเกษตรประจำตำบลหมูม่น อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ศึกษาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาการเกษตร ได้แก่ หัวหน้าครัวเรือนในตำบลหมูม่น จำนวน 335 คน และกลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาแนวทางการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาการเกษตร จำนวน 40 คน โดยใช้แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง เป็นเครื่องมือรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ เฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test (Independent Sample) และ F-test (One Way ANOVA)
ผลการศึกษาพบว่า
การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาการเกษตรประจำตำบลหมูม่น โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาการเกษตรประจำตำบลหมูม่น หัวหน้าครัวเรือนในตำบลหมูม่น ที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา และอาชีพต่างกัน มีส่วนร่วมในการจัดทำแผนพัฒนาการเกษตรประจำตำบลหมูม่น แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
แนวทางการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาการเกษตรประจำตำบลหมูม่น
ด้านการเสนอปัญหา ควรให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมเสนอปัญหาของหมู่บ้าน ประเด็นความช่วยเหลือด้านการเกษตร จูงใจให้เกษตรกรเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดทำแผน ร่วมเสนอโครงการ และควรจัดทำเนื้อหาให้ชัดเจนเผยแพร่ให้กับประชาชนทราบต่อไป
ด้านการวางแผนการดำเนินการ ควรมีการประชาสัมพันธ์ให้ความรู้แก่ประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาการเกษตรประจำตำบล วางแผนการพัฒนาแหล่งน้ำ สร้างจิตสำนึกให้เด็กและเยาวชนรู้เรื่องการทำเกษตรตั้งแต่เด็ก ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการวางแผน สะท้อนปัญหาและความต้องการด้านการเกษตร ควรมุ่งให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชน
ด้านการปฏิบัติการ ควรสร้างถนนที่เป็นพื้นฐานการทำเกษตร จัดหามีแหล่งน้ำ ไฟฟ้าเพื่อการเกษตร สนับสนุนเงินทุน และพันธุ์พืช-สัตว์เลี้ยง สร้างความสามัคคีปรองดองในชุมชน จัดอบรมให้ความรู้เรื่องการเกษตร ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการกำหนดแนวทางการจัดทำแผน และทบทวนแผนพัฒนาการเกษตรประจำตำบล
ด้านผลประโยชน์ ทำให้เกษตรกรมีผลผลิตทางการเกษตรที่เพิ่มขึ้น มีความรู้เรื่องเศรษฐกิจพอเพียง สามารถปลูกพืชแบบผสมผสาน สามารถบริหารจัดการกันเอง วางแผนในการใช้จ่ายเงินอย่างเป็นระบบ และประชาชนควรได้ผลประโยชน์สูงสุดในทุกด้านจากการดำเนินตามแผนพัฒนาการเกษตรประจำตำบล
ด้านการติดตามผลและประเมินผล ให้คณะกรรมการหมู่บ้านติดตามผลและประเมินผลแผนอย่างต่อเนื่อง ควรติดตามผลและประเมินผลกลุ่มเกษตรกรเพาะปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์ ให้ประชาชนร่วมทบทวนและปรับปรุงแผนทุกครั้งเพื่อสร้างสมประสบการณ์ให้กับประชาชน
References
กัญรยาณีย์ กาฬภักดี. (2557). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนชุมชนบ้านไม้รูด ตำบลไม้รูดอำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด. วิทยานิพนธ์หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน, วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา.
นรินทร์ แขมพิมาย. (2559). การจัดทำแผนพัฒนาการเกษตรระดับตำบลของศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบล (ศบกต.). กองวิจัยและพัฒนางานส่งเสริมการเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร.
บุญชม ศรีสะอาด. (2542). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: สุวิริยสาส์น.
รจนา นอยปลูก. (2557). การมีสวนรวมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาทองถิ่น อำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำปาง. การค้นคว้าอิสระหลักสูตรปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยเนชั่น.
วิสาขา ภู่จินดา. (2558). การวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมของชุมชนเมืองและชุมชนชนบทในการจัดการสิ่งแวดล้อม โดยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง. วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา. 10(1), 39-48.
ศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลหมูม่น. (2560). แผนพัฒนาการเกษตรตำบลหมูม่น พ.ศ. 2561 – 2565. สำนักงานเกษตรจังหวัดอุดรธานี กรมการส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.
สุภางค์ จันทวานิช. (2547). วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. (2559). ยุทธศาสตร์เกษตรและสหกรณ์ ระยะ 20 ปี (พ.ศ.2560 - 2579). กรุงเทพมหานคร : กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.
โสภิดา ศรีนุ่น. (2558). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาเทศบาลเมืองเบตงอำเภอเบตง จังหวัดยะลา. วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน. มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
สุเนติลักษณ์ ยกเทพ และยุภาพร ยุภาศ. (2560). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาเทศบาลตำบลบ้านเดื่อ อำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร. ปีที่ 5 ฉบับพิเศษ การประชุมวิชาการระดับชาติ มจร. ขอนแก่น 31 มีนาคม 2560.
Denizen N.K.(1970). The Research Act: A Theoretical Introduction to Sociological Methods. Chicago: Aldine.
Melkote, R., Steeves, S., and Leslie, H. (2001). Communication for development in the third world: Theory and practice. New Delh: Sage Publications India.
Rogers, E. M. (1995). Diffusion of Innovations. 4th ed. New York: The Free Press.
Yamane. (1967). Taro Statistic: An Introductory Analysis. New York: Harper &row.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.