พฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพในการป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของผู้สูงอายุในเขตพื้นที่จังหวัดมหาสารคาม
คำสำคัญ:
พฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพ, การป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019, ผู้สูงอายุบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพ และ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพในการป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของผู้สูงอายุในเขตพื้นที่จังหวัดมหาสารคาม เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถาม ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ ได้แก่ ผู้สูงอายุในเขตพื้นที่จังหวัดมหาสารคาม จำนวน 400 คน สถิติที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ประกอบการอภิปรายผล
ผลการศึกษาพบว่า พฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพในการป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของผู้สูงอายุโดยรวมทุกด้านอยู่ในระดับ ปานกลาง ( =3.06 S.D.=.26) โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อยได้ดังนี้ ด้านพฤติกรรมช่องทางการรับรู้ข่าวสารอยู่ในระดับ ปานกลาง ( =3.07 S.D.=.28) ด้านการปฏิบัติในการป้องกันโรคอยู่ในระดับ ปานกลาง ( =3.05 S.D.=.32) และด้านพฤติกรรมความรู้ความเข้าใจอยู่ในระดับ ปานกลาง ( =3.04 S.D.=.33) ตามลำดับ และปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพในการป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของผู้สูงอายุ พบว่า ปัจจัยด้านการรับรู้โอกาสเสี่ยงของการเกิดโรคและปัจจัยด้านการรับรู้ประโยชน์ของการปฏิบัติเพื่อป้องกันโรคมีผลต่อพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพในการป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของผู้สูงอายุ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P - value<0.0001) ดังนั้นควรมีการส่งเสริมการรับรู้โอกาสเสี่ยงของการเกิดโรคและการรับรู้ประโยชน์ของการปฏิบัติเพื่อป้องกันโรคอย่างชัดเจนมากยิ่งขึ้น
References
กัลยา วานิชย์บัญชา. (2560). การวิเคราะห์สถิติชั้นสูงด้วย SPSS for Window (พิมพ์ครั้งที่ 12). กรุงเทพมหานคร: ห้างหุ้นส่วนจํากัด สามลดา.
กรมควบคุมโรค. (2564). แนวทางการบริหารจัดการการควบคุมโรคในสถานที่กักกันซึ่งทางราชการกำหนด ฉบับปรับปรุง version 4. นนทบุรี: กรมควบคุมโรค.
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2563). คู่มือการแพทย์ แนวทางการจัดการศพ ผู้ป่วยติดเชื้อ COVID - 19 กระทรวงสาธารณสุข. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข.
ธัญรัศม์ ภุชงค์ชัยและคณะ. (2561). พฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพของประชาชนตำบลนาฝาย อำเภอเมืองชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ. 36 (1), 119-126.
บงกช โมระสกุล และพรศิริ พันธสี. (2564). ความรู้และพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด - 19 ของนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 1 วิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซา และวิทยาลัยเซนต์หลุยส์. วารสาร ศูนย์อนามัยที่ 9, 15(37), 179-195.
พัทธวรรณ ลาน้อย. (2562). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาของผู้สูงอายุ อำเภอเวียงแหง จังหวัดเชียงใหม่. สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเวียงแหง จังหวัดเชียงใหม่.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2566). จํานวนการเกิดจากการทะเบียน จําแนกตามเพศ ภาคและจังหวัด พ.ศ. 2556–2566. http://statbbi.nso.go.th/staticreport/page/sector/th/01.aspx.
Taro Yamane. (1973). Statistics: an introductory analysis. New York: New York: Harper. & Row.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.