ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อทุเรียนสดจากประเทศไทยของผู้บริโภคชาวจีนในมลฑลยูนนาน เมืองหลวงคุนหมิง สาธาณรัฐประชาชนจีน

ผู้แต่ง

  • ฏิมากานต์ ศิริบุญยประสิทธิ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
  • ธนกฤต วงศ์มหาเศรษฐ์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

คำสำคัญ:

ส่วนประสมทางการตลาด, การตัดสินใจซื้อ, ทุเรียนสด, ผู้บริโภคชาวจีน

บทคัดย่อ

          การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อทุเรียนสดจากประเทศไทย โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บริโภคชาวจีนในมลฑลยูนนาน เมืองหลวงคุนหมิง สาธาณรัฐประชาชนจีน มีวิธีการสุ่มตัวอย่างตามความสะดวก  (convenience sampling) จำ นวน 384 คน การวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วยการหาค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมา ตรฐาน และทดสอบสมมติฐานโดยการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ (Multiple Regres sion Analysis) กำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05  ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มผู้บริโภคทุ เรียนสดชาวจีนในมลฑลยูนนาน ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง   อายุระหว่าง 31–40 ปี การศึกษาในระดับปริญญาตรี ส่วนประสมทางการตลาดของทุเรียนสดจากประเทศไทย ด้านผลิตภัณ ฑ์มากที่สุด  รองลงมาด้านการส่งเสริมการตลาดด้านราคา และด้านการจัดจำหน่ายโดยปัจ จัยส่วนประสมทางการตลาดทั้ง 4 ด้านมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อทุเรียนสดจากประเทศ ไทยอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 ปัจจัยด้านการส่งเสริมการตลาด ด้านราคาและด้านผลิต ภัณฑ์มีอิทธิพลในทิศ ทางบวก ส่วนด้านช่องทางการจัดจำหน่ายมีในทิศทางลบ และปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดทั้ง   4 ด้าน  และสามารถพยากรณ์การตัดสินใจซื้อทุเรียนสดจากประเทศไทยได้ร้อยละ 68.8 และสามารถสร้าง สมการถดถอยเชิงเส้นแบบพหุคูณ ได้ดังนี้

    gif.latex?\dpi{80}&space;\fn_jvn&space;\hat{y} = .292 + .735 (Promotion) +.217 (Price) + .162(Product) - .193 (Place)

References

ฐานเศรษฐกิจ. (2565ข). ส่งออกทุเรียนไทย ผ่าน รถไฟ “จีน-ลาว” ขบวนแรก ถึงประเทศจีนแล้ว.สืบค้นจาก : https://www.thansettakij.com/econimy/522412.

กัลยา วานิชบัญชา. (2552). หลักสถิติ. (พิมพ์ครั้งที่ 11). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

กรมการค้าต่างประเทศ. (2563). ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการจดทะเบียนเป็นผู้ส่งผลทุเรียนสดออกไปนอกราชอาณาจักร พ.ศ. 2563. สืบค้นจาก:https://www.dft.go.th/th-th/Detail-Law/ArticleId/8702/8702.

ฐานเศรษฐกิจ. (2565 ก). เจรจาขนทุเรียนขึ้นรถไฟไปคุนหมิง ดันส่งออกผลไม้ไทยเจาะตลาดจีน.สืบค้นจาก : https://www.thansettakij.com/econimy/517284.

ณัฐนันท์ ลีพัฒนกิจ. (2557). พฤติกรรมของการใช้สื่อออนไลน์ของผู้บริโภคและคุณภาพของระบบออนไลน์ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจชื้อสินค้าเกษตรแปรรูป (ทุเรียนอบแห้ง บนระบบออนไลน์ของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต,มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ธนาคารแห่งประเทศไทย.(2565). ผลไม้ไทยสุดฮอตรุกตลาดโลกฝ่าโควิด-19.สืบค้นจาก : https://www.bot.or.th/Thai/ResearchAndPublications/articles/Pages/Article_ 25May2022.aspx.

ภากร กัทชลี.(2565). จริงหรือไม่? ที่ "ทุเรียน ไทย" ฮิตใน "จีน". สืบค้นจากจาก : http://www.bangkokbiznews.com/columnist/1003175.

ภูวงศ์ ยอดแก้ว. (2564). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อทุเรียนโบราณของประเทศไทย. สารนิพนธ์การจัดการมหาบัณฑิตวิทยาลัยการจัดการ, มหาวิทยาลัยมหิดล.

Kotler, P. (2000). Marketing management (The Millennium ed.). Englewood Cliffs, NJ : Prentice–Hall.

Kotler, P and Keller Kelvin Lane. (2016). Marketing Management. (15th ed). Edinburgh : Pearson Education.

Schiffman, L. G., L. L. Kanuk, (1994). Consumer behavior. (5th ed). Englewood Cliffs, NJ : Prentice-Hall

Downloads

เผยแพร่แล้ว

18-07-2023