ลักษณะมุ่งอนาคตและการสนับสนุนทางสังคมที่พยากรณ์ ความรับผิดชอบในงานของบุคลากรหน่วยงานภาครัฐ

ผู้แต่ง

  • อนรรฆิยา ชูคล้าย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
  • เบญจวรรณ บุณยะประพันธ์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

คำสำคัญ:

ลักษณะมุ่งอนาคต, การสนับสนุนทางสังคม, ความรับผิดชอบในงาน

บทคัดย่อ

        การวิจัยครั้งนี้กำหนดวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับลักษณะมุ่งอนาคตการสนับสนุนทางสังคม   และความรับผิดชอบในงานของบุคลากรหน่วยงานภาครัฐ  2)  เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะมุ่งอนาคตกับความรับผิดชอบในงานของบุคลากรหน่วยงานภาครัฐ 3)  เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการสนับสนุนทางสังคม  กับความรับผิดชอบในงานของบุคลากรหน่วยงานภาครัฐ  4)  เพื่อพยากรณ์ความรับผิดชอบในงานของบุคลากรหน่วยงานภาครัฐด้วยลักษณะมุ่งอนาคตและการสนับสนุนทางสังคมกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยคือบุคลา กรส่วนกลางกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์  จำนวน  375  คน เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูล  คือ  แบบสอบถาม  สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย  ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน  และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน                                                                                                        ผลการศึกษา  พบว่า  1)  บุคลากรภาครัฐมีระดับลักษณะมุ่งอนาคต การสนับสนุนทางสังคม และความรับผิดชอบในงานของบุคลากรหน่วยงานภาครัฐ  มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ระดับมาก  2)  ลักษณะมุ่งอนาคตมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความรับผิดชอบในงาน                            3)  การสนับสนุนทางสังคมด้านอารมณ์มีความสัมพันธ์ทางบวกกับความรับผิดชอบในงานของบุคลากรหน่วยงานภาครัฐมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ระดับปานกลาง และ                                      4)  ลักษณะมุ่งอนาคตสามารถพยากรณ์ความรับผิดชอบในงานของบุคลากรหน่วยงานภาครัฐได้

References

จิตกาญจนา ชาญศิลป์. (2558). ความเครียดและการสนับสนุนทางสังคมที่ส่งผลต่อความเหนื่อยหน่ายในการทำงานของพนักงานเทศบาลในจังหวัดสงขลา. วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, สาขารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

ปราโมทย์ กัลยา. (2551). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความรับผิดชอบในการปฏิบัติงานตามความคิดเห็นของข้าราชการครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุบลราชธานีเขต1. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต : สาขาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

พัชราภา ตรีเนตร. (2554). การสังเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะมุ่งอนาคตควบคุมต้นเหตุผลเชิงจริยธรรมกับพฤติกรรมจริยธรรมด้วยวิธีการวิเคราะห์อภิมาน. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต: สาขาพัฒนาสังคม คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนาบริหารศาสตร์.

วรุณกันยา คุณากรวิรุฬร์. (2556). การมองโลกในแง่ดีและการเห็นคุณค่าในตนเองที่พยากรณ์ความสามารถในการเผชิญและฝ่าฟันอุปสรรคของบุคลากรมหาวิทาลัยในกำกับรัฐ. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต: สาขาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

สุขจิตร ตั้งเจริญ. (2554). ปัจจัยทางสังคมและความสามารถในการบริหารเวลาที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมรับผิดชอบของนักศึกษาปริญญาตรีภาคสมทบ มหาวิทยาลัยราชมงคลพระนคร.วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต: สาขาการวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ประยุกต์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สุธิดา พานิชกิจโกศลกุล. (2556). ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมความรับผิดชอบในการปฏิบัติงานของบุคลากรกรมมป้องกันภัยและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย. ปริญญานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต: สาขาการวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ประยุกต์ บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

Ferris, G. R., Dulebohn, J. H., Frink, D. D., George -Falvy, J., Mitchell, T. R., & Matthews, L. M.(1997). Job and organizational characteristics, accountability, and employee influence. Journal of Managerial Issues. 9(2), 162-175.

Ginevra, M. C., Di Maggio, I., Santilli, S., & Nota, L.(2021). The role of career adaptability and future orientation on future goals in refugees. British Journal of Guidance & Counselling. 49(2), 272-286.

Miller, J. G.(2004). QBQ! The question behind the question: Practicing personal accountability at work and in life. Penguin.Penguin Audio: Unabridged edition.

Miller, R. B., S. J. Brickman.(2004). A model of future - oriented motivation and self-regulation. Educational psychology review. 16,9.

Szpunar, K. K., R. N. Spreng, D. L. Schacter.(2014). A taxonomy of prospection: Introducing an organizational framework for future - oriented cognition.Proceedings of the National Academy of Sciences. 111(52), 18414-18421.

Taylor, S. E. (2011). Social support: A review. In H. S. Friedman (Ed.). The Oxford handbook of health psychology (pp. 189–214). Oxford University Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

14-06-2023