การมีปฏิสัมพันธ์กับการสร้างอัตลักษณ์ของคนไทยเชื้อสายจีนในภูเก็ต

ผู้แต่ง

  • วันจรัตน์ เดชวิลัย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต
  • นาฏกานต์ ดิลท์ส มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต

คำสำคัญ:

อัตลักษณ์, ปฏิสัมพันธ์, คนไทยเชื้อสายจีน

บทคัดย่อ

          ความสัมพันธ์ของคนไทยและคนจีนในภูเก็ตมีมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 14 ส่วนใหญ่เป็นชาวจีนโพ้นทะเลที่เดินทางมาจากมณฑลฝูเจี้ยน โดยจะเดินทางผ่านเข้ามาทางคาบสมุ ทรมลายูเพื่อมาทำการค้าและเป็นแรงงานในเหมือง ซึ่งรับอิทธิพลการย้ายถิ่นฐานชาวจีนฮก เกี้ยนที่เดินทางเข้ามาล้วนแต่นำวัฒนธรรมของตนบนคาบสมุทรมลายูเข้ามาเผยแพร่  ซึ่งจะมีกระบวนการทางวัฒนธรรมที่เกิดขึ้นได้สร้างอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของชุมชนเมืองภูเก็ตให้มีความแตกต่างจากชาวพื้นเมืองเดิม โดยบทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการมีปฏิสัมพันธ์กับการสร้างอัตลักษณ์ของคนไทยเชื้อสายจีนในภูเก็ต อันจะส่งผลต่อการสร้างและการดำรงอัตลักษณ์ชาติพันธุ์ของชาวไทยเชื้อสายจีนในเมืองภูเก็ตสรุปได้ว่า การปฏิสัม พันธ์ทางวัฒนธรรมมีลักษณะที่เสริมสร้างซึ่งกันและกันได้แก่ การการปรับตัว (adaptation ) การยืมวัฒนธรรม (Cultural borrowing) การผสมกลมกลืนชาติพันธุ์ (Culture assim ilation) และการบูรณาการทางวัฒนธรรม (Culture Integration)  จนอาจกลายเป็นอัตลั กษณ์ที่แสดงออกด้วยการนิยามตัวตน “บาบ๋า” หรือ “คนไทยเชื้อสายจีนภูเก็ต”  ซึ่งสะท้อนตัวตนผ่านภาษา ประเพณี พิธีกรรม ซึ่งการดำรงอยู่อัตลักษณ์ชาติพันธุ์ได้ยึดโยงเข้ากับควา มสัมพันธ์ผ่านความรู้ ความคิด ความเชื่อทางวัฒนธรรมและกระบวนการกลุ่ม อันเป็นความสั มพันธ์เชิงอำนาจที่หล่อหลอมคนไทยเชื้อสายจีนในเมืองภูเก็ตให้มีสำนึกชาติพันธุ์อย่างมั่น คง   

References

ขวัญจิต ศศิวงศาโรจน์. (2542). สารานุกรมกลุ่มชาติพันธุ์ ฮกเกี้ยน. กรุงเทพ ฯ : สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาชนบท มหาวิทยาลัยมหิดล.

จี. วิลเลียม สกินเนอร์; G. William Skinner แปลโดย พรรณี ฉัตรพลรักษ์...[และคนอื่นๆ], ชาญวิทย์ เกษตรศิริ (บรรณาธิการ). (2529). สังคมจีนในประเทศไทย ประวัติศาสตร์เชิงวิเคราะห์. กรุงเทพฯ : มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์.

ฉลาดชาย รมิตานนท์. (2548). อัตลักษณ์วัฒนธรรม และการเปลี่ยนแปลง. ศูนย์สตรีศึกษาคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. [ออนไลน์].เข้าถึงได้จาก http://www.soc.cmu.ac.th/-wsc/data/Identity28_3_05.pdf (วันที่ค้นข้อมูล : 10 กุมภาพันธ์ 2565).

ไชยยุทธ ปิ่นประดับ. (2548). ชาวจีนและคนไทยเชื้อสายจีนในภูเก็ต. ภูเก็ต : สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดภูเก็ต.

นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ. (2560). อัตลักษณ์ ชาติพันธุ์. ฐานข้อมูลศัพท์มานุษยวิทยา. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก http://www.sac.or.th/da tabases/anthropology-concepts/ (วันที่ค้นข้อมูล : 1 มีนาคม 2565).

นิติ ภวัครพันธุ์. (2558). ชวนถก ชาติและชาติพันธุ์. กรุงเทพ : สยามปริทัศน์.

ปรีชา คุวินทร์พันธุ์. (2548). อัตลักษณ์และความหลากหลายทางวัฒนธรรมของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้. วารสารกระแสอาคเนย์. 5 (55), 8-37.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน. พ.ศ. 2554. กรุงเทพฯ : นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์.

ลัดดา จิตตคุตตานนท์. (2552). กรณีศึกษา : การวิเคราะห์การสื่อสารเพื่อการดำรงอยู่และสืบทอดงานประเพณีบูชาอินทขิล [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: https://phdcommunication. wordpress.com/(วันที่ค้นข้อมูล:15 พฤศจิกายน 2565).

วงศ์เดือน ภานุวัฒนากูล. (2552). อัตลักษณ์ของคนไทยเชื้อสายจีนท่ามกลางความหลากหลายทางวัฒนธรรม. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต, สาขาวิชาพัฒนามนุษย์และสังคม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่.

วันจรัตน์เดชวิลัย และทวนธง ครุฑจ้อน. (2552). แนวโน้มการเลิกใช้ภาษาจีนฮกเกี้ยนในจังหวัดภูเก็ต. รายงานการวิจัย. ภูเก็ต : มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขตภูเก็ต.

วิโรจน์ ทองอ่อน. (2556). ทัศนคติ ความคิด เกี่ยวกับประเพณีถือศีลกินผักปัจจุบัน. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://www.phuketvegetarian.com/how-think/phuketvegetarian-konphuket.htm.(วันที่ค้นข้อมูล : 15 มีนาคม 2565)

สดใส ตันติกัลยาภรณ์. (2552). ใน สมาคมภูเก็ตฮกเกี้ยนสามัคคี พิธีเปิดอาคารใหม่ ฉลองครบรอบ 20 ปี. (หน้า 107 – 112). ภูเก็ต : สมาคมภูเก็ตฮกเกี้ยน.

อมรา พงศาพิชญ์. (2547). ความหลากหลายทางวัฒนธรรม (กระบวนทัศน์และบทบาทในประชาสังคม). พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อภิญญา เฟื่องฟูสกุล. (2546). อัตลักษณ์ (Identity) การทบทวนทฤษฎี และกรอบแนวคิด. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

20-04-2023