การบริหารจัดการแหล่งข้อมูลเชิงประวัติศาสตร์อย่างมีส่วนร่วมของตำบลไผ่ขอดอน อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก
คำสำคัญ:
การบริหารจัดการ, แหล่งข้อมูลเชิงประวัติศาสตร์, มีส่วนร่วมบทคัดย่อ
งานวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)ศึกษาระดับการบริหารจัดการแหล่งข้อมูลประวัติศาสตร์ตำบลไผ่ขอดอน 2)มีรวบรวมจัดทำเป็นข้อมูลเส้นทางความเชื่อมโยงระหว่างแหล่งข้อมูลป ระวัติศาสตร์ตำบลไผ่ขอดอน อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก ซึ่งเป็นงานวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 คน เครื่องมีที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่แบบ สอบถามและแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการใช้สถิติเชิงพรรณนา แจกแจงความถี่หา ค่าร้อยละ หาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า
1.การศึกษาระดับการบริหารจัดการแหล่งข้อมูลประวัติศาสตร์ ตำบลไผ่ขอดอน พบว่าการบริหารจัดการแหล่งข้อมูลเชิงประวัติศาสตร์แบบมีส่วนร่วมของตำบลไผ่ขอดอน อำ เภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก ทั้งหมด 7 ด้าน โดยภาพรวม พบว่า อยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านงบประมาณ อยู่ในระดับปานกลาง รองลงมาคือด้านการรายงานอยู่ในระดับปานกลาง ด้านการจัดการองค์การอยู่ในระดับปานกลาง ด้านการบริหารอยู่ในระดับปานกลาง ด้านการวางแผน มีอยู่ในระดับน้อย ด้านการประสานงาน อยู่ในระดับน้อย และด้านสุดท้าย คือด้านการอำนวยการ อยู่ในระดับน้อย 2.รวบรวมจัดทำเป็นข้อ มูลเส้นทางความเชื่อมโยงระหว่างแหล่งข้อมูลประวัติศาสตร์ตำบลไผ่ขอดอน อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก คณะผู้วิจัยได้ทำแผนที่เปรียบเทียบเส้นทางระหว่างอดีตกับปัจจุบัน
References
จริญญา จันทร์ทรง. (2555). การมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการพัฒนาท้องถิ่นในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหนองแสงใหญ่ อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี. วิทยานิพนธ์ รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการพัฒนาท้องถิ่น บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.
ดาริกา โพธิ์รุก. (2563). รายงานการวิจัยเรื่องการมีส่วนร่วมของประชาชนในการอนุรักษ์มรดกวัฒนธรรม กรณีศึกษา : ชุมชนบ้านเขลา ตำบลเขลา อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม.เข้าถึงได้จาก : http://journal.msu.ac.th/. (วันที่สืบค้นข้อมูล : 3 พฤศจิกายน 2564).
ทองคำ ดวงขันเพ็ชร. (2562). การบริหารจัดการแหล่งประวัติศาสตร์: กรณีศึกษาเมืองเวียงคุก อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย.เข้าถึงได้จาก : https%3A%2F%2Fso03.tcithaijo. (วันที่สืบค้นข้อมูล : 3 พฤศจิกายน 2564).
นภสินธุ์ เรือนนาค. (2558). การศึกษาเชิงประวัติศาสตร์เกี่ยวกับความสัมพันธ์ของชุมชนกับศิลปกรรมในเขตพื้นที่ชายแดนไทย–กัมพูชา. พิมพ์ครั้งที่ 2. จันทบุรี : คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.
ปัญญา เทพสิงห์ และเก็ตถวา. (2558). การจัดการแหล่งวัฒนธรรม เพื่อการท่องเที่ยวชายแดนไทย-มาเลเซีย. เข้าถึงได้จาก : http://kb.psu.ac.th/psukb/. (วันที่สืบค้นข้อมูล : 3 พฤศจิกายน 2564).
ภัทรานิษฐ์ ศุภกิจโกศล,กาหลง กลิ่นจันทร์,วันธณี สุดศิริ,สาระ มีผลกิจ,บุรพร กำบุญ. (2554). ภายใต้แผนงานวิจัย เรื่อง ศักยภาพการจัดการท่องเที่ยวเมืองมรดกโลกกรณีศึกษา : อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา-สุโขทัย-ศรีสัชนาลัย-กำแพงเพชร.เข้าถึงได้จาก : http://tourismlibrary.tat.or.th/medias. (วันที่สืบค้นข้อมูล : 3 พฤศจิกายน 2564).
วิษณุ หยกจินดา. (2557). รายงานการวิจัย เรื่องการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชุมชนหมู่บ้านทุ่งกร่าง ตำบลทับไทร อำเภอโป่งน้ำร้อน จังหวัดจันทบุรี. เข้าถึงได้จาก : http://digital_collect.lib.buu.ac.th/dcms/files/55930171.pdf. (วันที่สืบค้นข้อมูล : 3 พฤศจิกายน 2564).
Best, J.W. (1981). Research in Education. New Jersey: Prentice – Hall.
Cronbach, L. J. (1990). Essentials of psychological testing (5th ed.). New York : Harper Collins Publishers.( pp.202-204).
Taro Yamane. (1973 ). Statistics: An Introductory Analysis. 3rdEd.New York.Harper and Row Publications.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการนอร์ทเทิร์น
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.