การรับรู้และความสนใจของเยาวชนในการทำกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์

ผู้แต่ง

  • กานต์นรี สุทธิ
  • เลิศพร ภาระสกุล มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

คำสำคัญ:

การรับรู้, ความสนใจ, กิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์

บทคัดย่อ

        การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) การรับรู้ของเยาวชนในการทำกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ 2) ความสนใจของเยาวชนในการทำกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์และ 3) เปรียบเทียบการรับรู้ของเยาวชนกับความสนใจในการทำกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย นิสิต/นักศึกษาระดับปริญญาตรีของสถาบันการศึกษาของรัฐและเอกชนในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 400 คน สุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถาม และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยความถี่ ร้อยละ Factor Analysis และ IPA

          ผลการวิจัยพบว่า เยาวชนมีการรับรู้และความสนใจกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ 9 ด้าน ได้แก่ การทดลองทำงานหัตถกรรมพื้นบ้าน การทดลองทำงานหัตถกรรมประณีตศิลป์ที่ใช้ฝีมือการทำเครื่องประดับจากโลหะมีค่า การเรียนรู้วิถีชีวิตด้านการประกอบอาชีพด้วยการลงมือปฏิบัติการเจียระไนหินและการทอผ้าพื้นเมือง การย้อมสีผ้าด้วยโคลน การทำอาหารพื้นเมือง การท้าผ้าห่มและการฝึกการนวดแผนไทย และการทำอาหารพื้นบ้านเฉพาะถิ่น และส่วนใหญ่เยาวชนมีการรับรู้และสนใจต่อกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ ได้แก่ อาหารพื้นบ้าน ศิลปะหัตถกรรมพื้นเมือง วัฒนธรรมท้องถิ่น และประวัติศาสตร์ของชุมชน แสดงว่าแหล่งท่องเที่ยวสามารถตอบสนองได้เป็นอย่างดีในกิจกรรมที่เยาวชนมีการรับรู้มาก ดังนั้น แหล่งท่องเที่ยวต้องรักษาคุณภาพให้อยู่ในระดับสูงต่อไป ไม่จำเป็นต้องโฆษณาหรือส่งเสริมเพราะเยาวชนรู้จักดีและสนใจมาก   

References

พิศาล แก้วอยู่ และประกอบศิริ ภักดีพินิจ. (2557). แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์โดยการปรับใช้หัตถกรรมจักสานผักตบชวาในพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา. เอกสารการประชุมวิชาการการพัฒนาชนบทที่ยั่งยืน ครั้งที่ 4 ประจำปี 2557 “Rethink :

Social Development for Sustainability in ASEANCommunity” . 11 – 13 มิถุนายน 2557. น. 321 – 329.

ลักษณาวดี บุญยะศิรินันท์. (2557). แนวทางการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ เพื่อพัฒนาธุรกิจการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์อย่างยั่งยืน ในประเทศไทย. รายงานการวิจัย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์.

สุดแดน วิสุทธิลักษณ์ และคณะ. (2556). การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์. กรุงเทพฯ: องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน).

Cochran, W. G. (1977). Sampling techniques (3rd ed.). New York: John Wilay & Sons.Martilla, J. A., & James, J. C. (1977). Importance-performance analysis. Journal of Marketing, 41(1), 77–79.

Thorndike, R. L. & Hagen, E. P. (1977). Measurement and Evaluation in Psychology and Education. 4 th ed. New York : Wiley.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

09-04-2023