การพัฒนาผู้ประกอบการเกษตรในยุคโควิด-19 สู่เส้นทางเศรษฐกิจสีเขียว

ผู้แต่ง

  • ขวัญชนก แก้วเหมือน มหาวิทยาลัยทักษิณ

คำสำคัญ:

ผู้ประกอบการเกษตร, ยุคโควิด-19, เศรษฐกิจสีเขียว

บทคัดย่อ

        บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการพัฒนาผู้ประกอบการการเกษตรในช่วงภาวะวิกฤตการณ์โควิด – 19 ที่เป็นโอกาสในการส่งเสริมการสร้างธุรกิจสีเขียว พื้นที่สีเขียว และเศรษฐกิจสีเขียว ภายใต้บริบทการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทยที่มุ่งสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยเริ่มต้นอธิบายถึงผลกระทบจากภาวะวิกฤติการแพร่ระบาดของโรคโควิด – 19 ที่มีต่อเศรษฐกิจสังคมไทย จากนั้นจึงอธิบายแนวคิดการพัฒนาผู้ประกอบการเกษตร การผลักดันและส่งเสริมการสร้างธุรกิจสีเขียว และแนวทางการสร้างพื้นที่สีเขียว ภายใต้แนวคิด SDG’s การประกอบการกับการพัฒนาที่ยั่งยืน เป็นเป้าหมายสำคัญในการสร้างเศรษฐกิจสีเขียวของประเทศไทยในปัจจุบัน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อบุคคลและผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตการณ์โควิด – 19 ให้มีแนวทางการสร้างโอกาสในธุรกิจสีเขียวที่ก่อให้เกิดความยั่งยืนต่อไปในอนาคต 

References

กฤษฎา บุญชัย. (2560). ถอดบทเรียนชุมชนเกษตรปลอดภัยและอาหารปลอดภัย. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก https://www.ldi.or.th/2017/11/09/ (วันที่ค้นข้อมูล 20 มีนาคม 2565).

ชนายุส ตินารักษ. (2556). เมืองสีเขียว ชุมชนสีเขียว. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก http://chanayus. blogspot.com/2013/03/blog-post_746.html (วันที่ค้นข้อมูล 20 มีนาคม 2565).

ฒาลิศา ทาศรีภู. (2562, 1 กุมภาพันธ์). ธุรกิจสีเขียว (Green Business) การปรับตัวในยุคเศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy). วารสาร สนค. TPSO Journal. 9(9), 4-5.

ปรารถนา ยิ้มสีใส. (2563). ความต้องการทางการศึกษานอกระบบโรงเรียนเพื่อการพัฒนาเยาวชน เกษตรกร ผู้ประกอบการในเขตพื้นที่อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม, วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการศึกษาตลอดชีวิตและการพัฒนามนุษย์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

พิทูร ชมสุข, จิราภรณ์ พินนาพิเชษฐ และเพชรลักษณ์ บุญญาคุณากร. (2564). เกษตรกรยุคใหม่ : อาชีพทางเลือก(ทางรอด) ในยุคโควิด 19. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก http://www.bot.or.th/Thai/ResearchAndPublications/articles/.

มรกต กำแพงเพชร และคณะ. (2562, 1 มกราคม). คุณลักษณะผู้ประกอบการเกษตรที่ประสบความสำเร็จในธุรกิจเกษตรสีเขียว. วารสารธุรกิจปริทัศน์. 11(1), 266.

สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ้งภาภรณ์. (2563). ครัวเรือนเกษตรไทยในวิกฤติโควิด – 19 หลักฐานเชิงประจักษ์จากการสัมภาษณ์เกษตรกรทั่วประเทศ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก https://www. pier.or.th/abridged/2020/11/ (วันที่ค้นข้อมูล 2 กุมภาพันธ์ 2565).

โสภารัตน์ จารุสมบัติ, นิตยา โพธิ์นอก, จารุพล เรืองสุวรรณ. (2562). เส้นทางเศรษฐกิจสีเขียว. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : บริษัท ซิกมา กราฟฟิคส์ จำกัด.

ศูนย์วิจัยนโยบายด้านเศรษฐกิจสีเขียว. (2559). เกษตรสีเขียว. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก https://progreencenter.org/2016/02/25/เกษตรสีเขียว-green-agriculture/(วันที่ค้นข้อมูล 2 มีนาคม 2565).

PARPPIM PIM. (2563). นับถอยหลังสู่ 2030 ด้วยแผนพัฒนา 17 ข้อที่จะพาโลกให้ยั่งยืนไปด้วยกัน.[ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก https://www.greenery.org/articles/wastesidestory-sdgs/(วันที่ค้นข้อมูล 14 มีนาคม 2565).

Carter, S., Rosa, P.,(1998) . Indigenous rural firms: farm enterprises in the UK.International Small Business Journal. 16(4), 15–27.

Cheng, Wan-Lae, André Dua, Jonathan Law, Mike Kerlin, Jörg Schubert, Chun Ying Wang,Qi Xu, and Ammanuel Zegeye. ( 2020) . Reimagining the Postpandemic Economic Future. McKinsey & Company.

Eikeland, S., Lie, I., (1999) . Pluriactivity in rural Norway. Journal of Rural Studies.15(4), 405–415.

McElwee G. (2006). The enterprising farmer: A review of entrepreneurship in agriculture. Journal of the Royal Agricultural Society of England January.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

09-04-2023