การวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนของการทำเครื่องจักสานผักตบชวาและหวาย กรณีศึกษา กลุ่มวิสาหกิจชุมชนจักสานผักตบชวาและหวาย ตำบลบ้านรี จังหวัดอ่างทอง

ผู้แต่ง

  • ศิริมา แก้วเกิด มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ
  • ภคพล สุนทรโรจน์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ
  • ปรางทิพย์ สุขเจริญดีแท้
  • ไสว เทศพันธ์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ

คำสำคัญ:

ต้นทุน, ผลตอบแทน, ผลิตภัณฑ์เครื่องจักสาน

บทคัดย่อ

        การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา เปรียบเทียบต้นทุนและผลตอบแทนการทำเครื่องจักสานผักตบชวาและหวาย ตำบลบ้านรี จังหวัดอ่างทอง สัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างเกษตรกรกลุ่มวิสาหกิจชุมชนจักสานผักตบชวาและหวาย ตำบลบ้านหนองรี จังหวัดอ่างทอง ต้นทุนการผลิตรวมผลิตภัณฑ์ผักตบชวา จำนวน 175,349.58 บาท ส่วนผลิตภัณฑ์จากหวายต้นทุนการผลิตรวมจำนวน 1,487,635.51 บาท เมื่อการเปรียบเทียบรายได้ ค่าใช้จ่ายและค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารของการผลิตภัณฑ์ผักตบชวาและหวาย ผลิตภัณฑ์ผักตบชวา พบว่า รายได้จาการขายผักตบชวา เฉลี่ยต่อปี เท่ากับ 264,600.00 บาท ต้นทุนขายเฉลี่ยต่อปี เท่ากับ 175,349.58 บาท กำไรขั้นต้นต่อปี 89,250.42 บาท และมีกำไรสุทธิเฉลี่ยต่อปี เท่ากับ 77,123.70 บาท ส่วนผลิตภัณฑ์หวายมีรายได้จากการขายเฉลี่ยต่อปี เท่ากับ 1,920,000.00 ต้นทุนขายเฉลี่ยต่อปี เท่ากับ 1,487,635.51 บาท กำไรขั้นต้นต่อปี 432,364.49 บาท และมีกำไรสุทธิเฉลี่ยต่อปี เท่ากับ 418,891.21 บาท จุดคุ้มทุนของผลิตภัณฑ์ผักตบชวา ขนาดเล็ก เท่ากับ 80.00 หน่วย ขนาดกลาง เท่ากับ 63.00 หน่วย ขนาดใหญ่ เท่ากับ 53.00 หน่วย ผลิตภัณฑ์หวาย ขนาดเล็ก เท่ากับ 61.00 หน่วย ขนาดกลาง เท่ากับ 82.00 หน่วย ขนาดใหญ่ เท่ากับ 62.00 หน่วย สรุปได้ว่า ต้นทุนวัตถุดิบทางตรง ค่าแรงงานและค่าใช้จ่ายในการผลิต มีการขึ้นลดของราคาหวายและผักตกชวา ทำให้การกำหนดราคาในแต่ละช่วงเวลาไม่เท่ากันขึ้นอยู่กับต้นทุนของหวายและผักตบชวา ซึ่งผลที่ได้จากการศึกษาครั้งนี้จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการใช้ประกอบการตัดสินใจในการลงทุนและใช้เป็นข้อมูลกับผู้ที่เกี่ยวข้องหรือผู้สนใจต่อไป

References

กรมพัฒนาชุมชน, (2561). สรุปรายงานยอดจำหน่ายสินค้า OTOP (แยกตามประเภทผลิตภัณฑ์).[Online] Available: http://203.114.112.231/cddcenter/cdd_report/otop_r07php?&year=2554&month_id=9. ค้นเมื่อ [19 สิงหาคม 2561].

ธีรพล แซ่ตั้ง. (2556). IRM : CRM การตลาดมุ่งสัมพันธ์. กรุงเทพฯ: ไทยคูน แบรนด์เอจ.

นัฐท์ธีรนนช์ รอดชื่น. (2560). “การออกแบบผลิตภัณฑ์จักสานไม้ไผ่โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นวิสาหกิจชุมชน กลุ่มหัตถกรรมจักสานพื้นบ้าน บ้านดงชะพลู ตำบลบางมะฝ่อ อำเภอโกรกพระ จังหวัดนครสวรรค์”. วารสารวิชาการ ศิลปะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. 8 (1) ; (มกราคม – มิถุนายน 2560) : 12 – 23.

ปรารถนา คงสำราญ. (2550). การศึกษาวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์เครื่องจักสานผักตบชวาหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรจักสานผักตบชวาบ้านมหานาม ในจังหวัดอ่างทอง. ปริญญานิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

อนุรักษ์ ทองสุโขวงศ์. (2559). การบัญชีต้นทุน. กรุงเทพฯ : บริษัทซีเอ็ดยูเคชั่น.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

08-04-2023