การปรับตัวของประชาชนในการป้องกันและบรรเทาปัญหาอุทกภัยในเขตพื้นที่ตำบลคลองยาง อำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย

ผู้แต่ง

  • ธงชัย ทองคำ วิทยาลัยนอร์ทเทิร์น

บทคัดย่อ

   งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพปัญหาอุทกภัย 2) การปรับตัวของประชาชนในการป้องกันและบรรเทาปัญหาอุทกภัย 3)ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการปรับตัวของประชาชนในการป้องกันและบรรเทาปัญหาอุทกภัย ในเขตตำบลคลองยาง อำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัยซึ่งการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ  แบบสังเกต และแบบสัมภาษณ์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่  บุคคลที่เคยประสบเหตุอุทกภัยซึ่งอาศัยอยู่ในพื้นที่เสี่ยงอุทกภัย จำนวน 24 คน         โดยใช้วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา (Content Analysis)แล้วนำมาเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนาผลการวิจัยพบว่า         1. สภาพปัญหาอุทกภัยที่เกิดขึ้นของชุมชน  ในเขตตำบลคลองยาง อำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย  ที่พบเป็นรายด้านดังนี้  ด้านความอันตรายและความเสียหายต่อชีวิตทรัพย์ สิน พบปัญหาที่สำคัญคือ อาคารบ้านเรือนถูกน้ำท่วมสูงเป็นอันมากทรัพย์สินตามบ้านเรือนถูกน้ำท่วมและพัดพาเสียหายและถนนถูกสายน้ำที่ท่วมบางเส้นทางถูกตัดขาดสัญจรไม่ได้ ด้านความเสียหายของแหล่งประกอบอาชีพหรือเกษตรกรรมพบปัญหาที่สำคัญคือแปลงไร่ ถั่วและจำพวกผักต่าง  ๆ  เสียหายอย่างสิ้นเชิง เกษตรกรที่เลี้ยงปลาได้รับความเสียหาย ด้านความเสียหายทางเศรษฐกิจ พบปัญหาที่สำคัญ คือ เกษตรกรขาดทุนจากการประกอบอาชีพเป็นส่วนใหญ่  ด้านความเสียหายทางด้านสุขภาพอนามัยของประชาชน พบปัญหาที่สำคัญ  คือ ชาวบ้านมีอัตราการเกิดโรคน้ำกัดเท้า และตาแดงเป็นจำนวนมากขึ้น ด้านความเสียหายที่มีต่อทรัพยากรธรรมชาติพบปัญหาที่สำคัญคือ มีน้ำท่วมขังบางแห่งที่ระบายออกไม่ได้และดินสไลด์ยุบตัวเป็นเลนตมหลายแห่ง                                                                       2. การปรับตัวของประชาชนในการป้องกันและบรรเทาปัญหาอุทกภัยในเขตตำบลคลองยาง  อำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย พบว่า  ด้านการยอมรับความสูญเสีย  พบประเด็นที่สำคัญ  ดังนี้  สามารถยอมรับได้กับเหตุการณ์น้ำท่วมที่เกิดขึ้น  เพราะเป็นภัยที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติที่มีเปลี่ยนแปลงไป ด้านการลดความสูญเสียพบประเด็นที่สำคัญดังนี้1) ต้องการให้ภาครัฐเข้ามาช่วยเหลือและแก้ไข คลองยม - น่าน  โดยขุดให้มีความลึก ไม่กว้างไปกินเนื้อที่ประชาชน มีคันคูที่สูงหนาแน่นมีประตูปิดเปิดน้ำระหว่างคลองซอยที่มั่นคง  2) มีการเฝ้าระวัง  และรับข่าวสารหลายช่องทาง   เช่น  ข่าวจากชุมชน   ข่าวทางกรมอุตุนิยมวิทยา ข่าวส่วนงานราชการ หรือสื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ  3) ก่อนที่น้ำจะท่วมจะต้องขนทรัพย์สินขึ้นที่สูงหรือที่ปลอดภัยที่น้ำท่วมไม่ถึง ด้านการแสวงหาทางเลือกใหม่พบประเด็นที่สำคัญ นี้  1) มีความกระตือรือร้นหาหนทางที่จะอยู่รอด โดยปรับปรุงพื้นที่บ้านเรือนโดยไม่ย้ายไป อยู่ที่อื่น 2)เกษตรกรพยายามบริหารการปลูกพืชและเก็บเกี่ยวก่อนที่ฤดูน้ำหลากจะมาท่วม และหลีกเลี่ยงทำการเกษตรกรรมในช่วงฤดูน้ำหลาก  3) เรียนรู้ประยุกต์การประกอบอาชีพเสริมต่าง ๆ  และพยายามหาพืชที่เหมาะสมกับพื้นที่   โดยศึกษาจากอินเตอร์เน็ต  หนังสือ ข่าวสาร กลุ่มชุมชนต่าง ๆ รวมถึงจากภาครัฐที่มีการจัดอบรม                                             3. ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการปรับตัวของประชาชนในการป้องกันและบรรเทาอุทกภัยในเขตตำบลคลองยาง อำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย  พบว่า 1) ปัญหาน้ำท่วมมีสาเหตุมาจากน้ำที่ปล่อยมาจากแม่น้ำยมเพื่อกระจายมวลน้ำไม่ให้ไปท่วมในเมืองควรสร้างความเป็นธรรม เรื่องการกระจายน้ำเข้าพื้นที่ต่าง ๆ   2)  ต้องการให้ภาครัฐดูแลช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับความเสียหายจากเหตุการณ์น้ำท่วมให้มากขึ้น  3)  การเตรียมความพร้อมในการป้องกันน้ำท่วมในภาคประชาชนแต่ละครอบครัวจะเป็นหนทางที่ดีที่สุดไม่ต้องรอให้เหตุการณ์น้ำท่วมเกิดขึ้นก่อน

References

กรมทรัพยากรน้ำ. (2552). ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการบริหารทรัพยากรน้ำแห่งชาติ พ.ศ.2552. กรุงเทพฯ : กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.

กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย. (2556). คู่มือแนวทางการปฏิบัติงานด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย. กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการฝ่ายพลเรือน กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย.

ชาลี เบญจวงศ์. (2546). การปรับตัวของประชาชนบ้านน้ำก้อภายหลังเกิดภัยพิบัติจากอุทกภัยในปี พ.ศ. 2544. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการจัดการมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ดวงมณี ทองคำ และคณะ. (2559). รายงานการวิจัยแนวทางการปรับตัวของประชาชนในจังหวัดจันทบุรีทั้งก่อนและหลังเกิดอุทกภัย. จันทบุรี: คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม, มหาวิทยาลัยราชภัฏรําไพพรรณี.

บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. (2540). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ปกเจริญผล.

สิทธิศักดิ์ เท่าธุรี. (2546). การรับรู้และการปรับตัวของประชาชนบ้านน้ำก้อภายหลังเกิดภัยพิบัติจากอุทกภัยในปี พ.ศ. 2544. การค้นคว้าอิสระปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการจัดการมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สุวิมล สังวร. (2561). การบริหารจัดการปัญหาอุทกภัยขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดสิงห์บุรี. สารนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

เสรี ศุภราทิตย์. (2553). 2563 กรุงเทพจมน้ำ. สืบค้นจาก: http://www.oknation.

เอื้อมพร หลินเจริญ. (2552). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ทำให้ได้คะแนนการทดสอบ O-NET ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

27-03-2023