ปัจจัยที่มีผลต่อการออมทรัพย์ ผู้ขอใช้บริการของธนาคารออมสินในจังหวัดลำปาง

ผู้แต่ง

  • ศักรินทร์ แรกเข้า

คำสำคัญ:

การออมทรัพย์, ผลตอบแทน, สภาพคล่อง, พฤติกรรมการออม

บทคัดย่อ

          การศึกษาเรื่องปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการออมทรัพย์ ผู้ขอใช้บริการของธนาคารออมสินในจังหวัดลำปางครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการออมทรัพย์ และเพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการออมทรัพย์ ผู้ขอใช้บริการของธนาคารออมสินในจังหวัดลำปาง โดยได้ทำการศึกษากลุ่มคนวัยทำงานอายุตั้งแต่ 23-60 ปี ทั้งเพศหญิงและเพศชาย ซึ่งข้อมูลจากสำนักงานสถิติจังหวัดลำปางมีจำนวนกลุ่มคนในวัยทำงานในจังหวัดลำปางทั้งสิ้น 390,498 คน และได้สุ่มตัวอย่างแบบสะดวก (Convenience Sampling) และใช้จำนวนกลุ่มตัวอย่าง 400 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการทำวิจัย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอ้างอิง ที่ใช้ในการวิเคราะห์เรื่องความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านส่วนผสมการตลาด ด้านผลตอบแทน และด้านสภาพคล่อง กับพฤติกรรมการออม คือ การวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุ (Multiple Regression)

        จากการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างเลือกออมเงินด้วยวิธีการฝากเงินกับธนาคารหรือสถาบันการเงินเป็นอันดับแรกมากที่สุด และเมื่อพิจารณาผลการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับผลกระทบของปัจจัยด้านส่วนผสมการตลาด ด้านผลตอบแทน และด้านสภาพคล่องที่มีต่อพฤติกรรมการออมของกลุ่มคนวัยทำงานในจังหวัดลำปางนั้น จะพบว่ามีเพียงปัจจัยด้านผลตอบแทน และด้านสภาพคล่องเท่านั้นที่สามารถพยากรณ์พฤติกรรมการออมได้ ส่วนปัจจัยด้านส่วนผสมการตลาดนั้นไม่สามารถใช้พยากรณ์พฤติกรรมการออมได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

References

กมลชนก ไพโรจน์. (2554). พฤติกรรมการออมของบุคลากรกรมบัญชีกลางกระทรวงการคลัง. สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์การจัดการ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ชารวี บุตรบำรุง. (2555). รายได้และรูปแบบการออมเพื่อการเตรียมพร้อมสู่วัยสูงอายุของประชาชนอายุระหว่าง 30-40 ปี ในเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร. มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. เข้าถึงได้จาก http://www.ssruir.ssru.ac.th/bitstream/ssruir/648/1/057-55.pdf.

เดือนรุ่ง ช่วยเรือง. (2555). ปัจจัยที่ผลต่อการออมในภาคครัวเรือนในชุมชนเกาะเปยะ จังหวัดตรัง.เข้าถึงได้จาก http://repository.rmutp.ac.th/bitstream/handle/123456789/1356/.

ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2561). รายงานการออมปี2561. เข้าถึงได้จาก https://www.bot.or.th/Thai/ResearchAndPublications/

Report/Pages/AnnualReport2018.aspx.

ธนาคารออมสิน. (2561). เส้นทางสู่ความเป็นเลิศ 2017. เข้าถึงได้จาก https://www.tqa.or.th/wp-content/uploads/201801Government-Savings-Bank.pdf.

ภราดร ปรีดาศักดิ์. (2549). หลักเศรษฐศาสตร์จุลภาค. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

รัชนีกร วงศ์จันทร์. (2553). การบริหารการเงินส่วนบุคคล. กรุงเทพฯ : ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย.

วิภาพร ตรีทิพยโชค. (2554). ส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการลงทุนกองทุนรวมภายใต้การบริหารของบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนไทยพาณิชย์ จำกัด. เข้าถึงได้จาก http://ir.swu.ac.th/xmlui/bitstream/handle/123456789680Wipaporn_T.pdf?sequence=1.

วิศิษฎ์ บิลมาศ. (2557). รูปแบบและพฤติกรรมการออมของครัวเรือนในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์. รายงานการวิจัยเศรษฐศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์.

ศรีสุภา สหชัยเสรี. (2546). การตลาดในยุคเศรษฐกิจใหม่ : แนวคิดและทฤษฎี. กรุงเทพฯ : ทิปปิ้งพอยท์.

สถาบันพัฒนาบุคลากรธุรกิจหลักทรัพย์ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2546). หลักสูตรความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับตลาดเงินและตลาดทุน. กรุงเทพฯ: สถาบันพัฒนาบุคลากรธุรกิจหลักทรัพย์.

สำนักงานสถิติจังหวัดลำปาง. (2562). ภาวะการทำงานของประชากรจังหวัดลำปาง. เข้าถึงได้จาก http://lampang.nso.go.th/index.phpoption=com_content&view=article&id=361: 12562&catid=105:2012-01-09-07-07-49&Itemid=657.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2560). รายงานประชากรไทย. เข้าถึงได้จาก http://www.nso.go.th/sites.

สำนักบัญชีประชาชาติ.(2561). ความสำคัญเงินออม.เข้าถึงได้จาก https://www.saruthomesite.net/การออมของไทย-และวิกฤตใน.

Bearden, I., & LaForge, R. W. (2005). Marketing:Principles and perspectives N.P.: McGrawhill.

Saving: An Exploratory Study in the Malaysian Context. Transformations in Business and Economics 12: 41-55.

Yamane, T. (1967). Statistics: An introductory analysis. 2nd ed. New York: Harper & Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

27-03-2023