การเป็นผู้บริหารมืออาชีพของผู้บริหารสถานศึกษา ในสถานศึกษาเฉพาะความพิการ ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
คำสำคัญ:
ผู้บริหารมืออาชีพ, สถานศึกษาเฉพาะความพิการบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบการเป็นผู้บริหารมืออาชีพของผู้บริหารสถานศึกษา ในสถานศึกษาเฉพาะความพิการ ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ขอบเขตการเป็นผู้บริหารมืออาชีพของผู้บริหารสถานศึกษา ในสถานศึกษาเฉพาะความพิการ ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ ได้แก่ 1) ด้านการบริหารงานวิชาการ 2) ด้านการบริหารงบประมาณ 3) ด้านการบริหารงานบุคคล 4) ด้านการบริหารกิจการนักเรียน 5) ด้านการประกันคุณภาพการศึกษา 6) ด้านการบริหารการประชาสัมพันธ์และความสัมพันธ์ชุมชน 7) ด้านการบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ 8) ด้านการวิจัยทางการศึกษา 9) ด้านคุณธรรมและจริยธรรม ซึ่งประชากรและกลุ่มตัวอย่างของการวิจัยครั้งนี้คือ ครูผู้สอน และบุคลากรทางการศึกษาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานระดับประถมศึกษา ในสถานศึกษาเฉพาะความพิการ ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่เปิดทำการสอนระดับปฐมวัยถึงระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 ทั้งหมด 3 โรงเรียน จำนวน 98 คน เป็นกลุ่มตัวอย่างซึ่งทำการคัดเลือกโดยใช้วิธีการเลือกตัวอย่างแบบไม่ใช้ความน่าจะเป็น (Nonprobability Sampling) การสุ่มเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เนื่องจากข้อมูลมีความสำคัญจึงต้องสมัครใจในการให้ข้อมูลของงานวิจัย ผลการวิจัยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามเป็นเพศหญิง จำนวน 65 คน คิดเป็นร้อยละ 66.30 และเพศชาย จำนวน 33 คน คิดเป็นร้อยละ 33.70 มีสถานะเป็นครูผู้สอน จำนวน 84 คน คิดเป็นร้อยละ 85.70 และบุคลากรทางการศึกษาอื่น จำนวน 14 คน คิดเป็นร้อยละ 14.30 อายุ ต่ำกว่า 30 ปี จำนวน 38 คน คิดเป็นร้อยละ 38.80 อายุ 31- 40 ปี จำนวน 41 คน คิดเป็นร้อยละ 41.80 อายุ 41- 50 ปี จำนวน 14 คน คิดเป็นร้อยละ 14.30 และอายุ 51- 60 ปี จำนวน 5 คนคิดเป็นร้อยละ 5.10 ระดับการศึกษาระดับปริญญาโท จำนวน 57 คน คิดเป็นร้อยละ 58.20 และปริญญาตรี จำนวน 41 คน คิดเป็นร้อยละ 41.80 มีประสบการณ์ในการทำงานต่ำกว่า 10 ปี จำนวน 49 คน คิดเป็นร้อยละ 50.00 ประสบการณ์ทำงาน 11-20 ปี จำนวน 43 คน คิดเป็นร้อยละ 43.90 และประสบการณ์สอน 21 ปีขึ้นไปจำนวน 6 คน คิดเป็นร้อยละ 6.10 ระดับความคิดเห็นต่อการวิเคราะห์การเป็นผู้บริหารมืออาชีพของผู้บริหารสถานศึกษา ในสถานศึกษาเฉพาะความพิการ ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยรวม พบว่า การเป็นผู้บริหารมืออาชีพของผู้บริหารสถานศึกษาในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ย 4.57 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดได้แก่ ด้านคุณธรรม จริยธรรม ที่ระดับค่าเฉลี่ย 4.71 รองลงมาได้แก่ ด้านการบริหารงานบุคคล ด้านการบริหารกิจการนักเรียน ด้านการบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ ด้านการบริหารงานวิชาการ ด้านการบริหารงบประมาณ ด้านการวิจัยทางการศึกษา และด้านการประกันคุณภาพการศึกษา มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.70, 4.64, 4.53, 4.50, 4.38,4.38, และ 4.32 ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดได้แก่ ด้านการบริหารการประชาสัมพันธ์และความสัมพันธ์ชุมชน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.23 ตามลำดับ การทดสอบสมมติฐานพบว่าลักษณะสถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถามที่แตกต่างกันทางด้านเพศ สถานภาพ อายุ การศึกษา และประสบการณ์ในการทำงานมีระดับค่าเฉลี่ยเกี่ยวกับการเป็นผู้บริหารมืออาชีพของผู้บริหารสถานศึกษา ในสถานศึกษาเฉพาะความพิการ ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานที่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05
References
กฤษณะ คำสุวรรณ. (2550). บทบาทของผู้บริหารในการบริหารกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน โรงเรียนบูรณะศึกษา เขตทุ่งครุ กรุงเทพมหานคร. สารนิพนธ์ กศ.ม. (การบริหารการศึกษา).กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. ถ่ายเอกสาร.
จุฑามาศ พุมสวัสดิ์. (2547). ความคิดเห็นของผู้บริหารที่มีต่อการบริหารการเงินในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานการศึกษาขั้นพื้นฐาน จังหวัดเพชรบุรี. สารนิพนธ์ กศ.ม. (ธุรกิจศึกษา).กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. ถ่ายเอกสาร.
จำเริญ จันทร์เพ็ญ. (2549). การดำเนินงานบริหารงบประมาณในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตจอมทอง กรุงเทพมหานคร. สารนิพนธ์ กศ.ม. (การบริหารการศึกษา). กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. ถ่ายเอกสาร.
ชนิษ์ฐภัค สิงหลกะ. (2549). การศึกษาการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษาเอกชนเขตวัฒนากรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ชาตรี รัตนพิพิธชัย. (2557). ความสัมพันธ์ระหว่างการใช้ทักษะการบริหารงานของผู้บริหารโรงเรียนกับการประกันคุณภาพภายในของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาราชบุรี เขต 1. สารนิพนธ์ กศ.ม. (การบริหารการศึกษา). กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. ถ่ายเอกสาร.
ธีระ รุญเจริญ. (2550). ความเป็นมืออาชีพในการจัดและบริหารการศึกษายุคปฏิรูปการศึกษา.กรุงเทพฯ : ข้าวฟ่าง.
นัยนา ตันติวิสุทธิ์. (2556). การสังเคราะห์งานวิจัยเกี่ยวกับพฤติกรรมผู้นำในการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนประถมศึกษา. สารนิพนธ์ กศ.ม. (การบริหารการศึกษา). กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. ถ่ายเอกสาร.
บุญเพ็ง พิลาล้ำ. (2557). คุณสมบัติของผู้บริหารมืออาชีพ ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาระดับประถมศึกษาในจังหวัดบุรีรัมย์. วิทยานิพนธ์ ค.ม. (การบริหารการศึกษา). บุรีรัมย์ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์. ถ่ายเอกสาร.
ประสิทธิ์ ขุณิกากอน. (2559). คุณลักษณะผู้บริหารโรงเรียนมืออาชีพที่ชุมชนต้องการในเขตพื้นที่การศึกษามุกดาหาร. สารนิพนธ์ ค.ม. (การบริหารการศึกษา). สกลนคร : บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร. ถ่ายเอกสาร.
พงศศักดิ์ ศรีสมทรง. (2552). บทบาทการพัฒนางานความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนของผู้บริหารโรงเรียน บ้านในเขียว1 ตำบลทอนหงส์ อำเภอพรหมคีรี จังหวัดนครศรีธรรมราช. สืบค้นเมื่อ 20 กันยายน 2563, จาก http://www.geocities.com/bannaikhieo1/bt.htm.
พฤทธิ์ พงษสีดา. (2556). การศึกษาการบริหารงานวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของผูบริหารโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษา จังหวัดนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. (การบริหารการศึกษา). นครราชสีมา : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา. ถ่ายเอกสาร.
เพลินพิศ ดาศักดิ์. (2549). บทบาทในการส่งเสริมการทำวิจัยในชั้นเรียนของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาอำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร.วิทยานิพนธ์ ศษ.ม. (การบริหารการศึกษา). ขอนแก่น : บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น. ถ่ายเอกสาร.
วิจารณ์ พาณิชย์. (2559). การสร้างการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ 21. (พิมพ์ครั้งที่ 3). นครปฐม : ซัน แพคเกจจิ้ง (2014).
วิชิระ ศิริสุนทร. (2550). การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารโรงเรียนในศูนย์เครือข่ายน้ำพองสะอาด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาขอนแก่น เขต 4. ปริญญานิพนธ์ ศษ.ม. (การบริหารการศึกษา). ขอนแก่น : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ถ่ายเอกสาร.
วิภวาศิน แพทยานนท์. (2556). สภาพการใชเทคโนโลยีสารสนเทศของผูบริหารโรงเรียนเอกชนระดับมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน ส่วนกลาง กลุ่มที่ 1.สืบค้น เมื่อ 1 ตุลาคม 2563,จา ก http://dit.dru.ac.th/home/005/ abs46_2/
VipavasinTh.doc.html
สถาพร รามสูต. (2550). การศึกษาคุณธรรมของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาจังหวัดกำแพงเพชรตามความคิดเห็นของครูในโรงเรียนมัธยมศึกษา ประจำปีการศึกษา 2549.สืบค้นเมื่อ 1 ตุลาคม 2563,จาก http://www.kpp1med.org/images/1199437215/dr%20too
m1.doc.html.
สมชาย เทพแสง. (2553). การศึกษาสภาพแวดล้อมของโรงเรียนและวัฒนธรรมโรงเรียนที่ส่งผลต่อภาวะผู้นำวิสัยทัศน์ของผู้บริหารโรงเรียน ในโรงเรียนที่ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ภัยพิบัติสึนามิ : รายงานการวิจัย. กรุงเทพฯ : ภาควิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สุณี ทรัพยประเสริฐ. (2557). การประเมินคุณลักษณะด้านความรู้ความสามารถในการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาราชบุรี. สารนิพนธ์ กศ.ม.(บริหารการศึกษา). กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. ถ่ายเอกสาร.
สุดหทัย เบ็ญจศิริวรรณ. (2548). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนกับการบริหารงานบุคคล ในโรงเรียนประถมศึกษา สำนักงานเขตราชเทวี สังกัดกรุงเทพมหานคร. สารนิพนธ์ กศ.ม. (บริหารการศึกษา). กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. ถ่ายเอกสาร
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารวิชาการนอร์ทเทิร์น
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.